มาริโอปาร์ตี 7
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มาริโอปาร์ตี 7 | |
---|---|
งานศิลปะกล่องเวอร์ชันอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | ฮัดสันซอฟต์ |
ผู้จัดจำหน่าย | นินเท็นโด |
กำกับ | ชูอิจิโร นิชิยะ |
อำนวยการผลิต | ฮิโรชิ ซาโต |
แต่งเพลง | ฮิโรโนบุ ยาฮาตะ ชินยะ โอโตเงะ |
ชุด | มาริโอปาร์ตี |
เครื่องเล่น | เกมคิวบ์ |
วางจำหน่าย |
|
แนว | ปาร์ตี |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
มาริโอปาร์ตี 7 (ญี่ปุ่น: マリオパーティ7; อังกฤษ: Mario Party 7) เป็นวิดีโอเกมปาร์ตีที่พัฒนาโดยบริษัทฮัดสันซอฟต์ และเผยแพร่โดยบริษัทนินเท็นโดสำหรับเกมคิวบ์ โดยเป็นภาคหลักที่เจ็ดในซีรีส์มาริโอปาร์ตี ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005, ในทวีปยุโรปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 และในประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 เกมนี้ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ต่อพ่วงไมโครโฟนที่นำมาใช้ในมาริโอปาร์ตี 6 และมีตัวละครสิบสองตัว รวมทั้งตัวละครที่ปลดล็อกได้ใหม่สองตัว ได้แก่ บิรโด และดรายโบนส์ ส่วนกุปปะคิดถูกละเว้นให้เป็นตัวละครที่สามารถเล่นได้ หลังจากเล่นได้ในสองภาคก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ มาริโอปาร์ตี 7 เป็นเกมที่สี่และเป็นเกมสุดท้ายในซีรีส์ที่วางจำหน่ายสำหรับเกมคิวบ์ แล้วตามมาด้วยมาริโอปาร์ตี 8 สำหรับเครื่องวีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007
รูปแบบการเล่น
[แก้]เป้าหมายของมาริโอปาร์ตี 7 คือการรวบรวมดาว ทว่าแต่ละกระดานต้องการในวิธีที่ต่างกัน นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกของซีรีส์ใน ค.ศ. 1998 ผู้เล่นแปดคนสามารถเข้าร่วมปาร์ตีครูซ หรือเดอลุกซ์ครูซ (ผู้เล่น 8 คนเทียบเท่ากับมินิเกมครูซ) ผู้เล่นจะได้รับการแบ่งออกเป็นสองทีมและต้องใช้คอนโทรลเลอร์ร่วมกัน โดยผู้เล่นคนแรกจะใช้ปุ่มแอล และคอนโทรลสติกในมินิเกม ในขณะที่ผู้เล่นคนที่สองใช้ปุ่มอาร์ และซี-สติก
แม้ว่าโหมดสำหรับผู้เล่นเดี่ยวจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับซีรีส์มาริโอปาร์ตี แต่ภาคนี้แตกต่างจากหกภาคก่อนอย่างมาก ผู้เล่นคนหนึ่งแข่งขันกับอีกคนหนึ่ง (ไม่ว่าจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์หรือเล่นโดยมนุษย์) โดยพยายามบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้บนแผนที่กระดานก่อนที่อีกคนจะทำได้ ภารกิจมีตั้งแต่การรวบรวมดาวตามจำนวนที่กำหนดไปจนถึงการมีจำนวนเหรียญที่กำหนดไว้ในช่องว่าง สามารถเซฟช่องตัวละครต่าง ๆ ที่มีวลีต่างกันได้ถึงสิบช่อง เมื่อผู้เล่นเสร็จครบทั้งหกกระดานแล้ว พวกเขาจะได้รับการเพิ่มไปยังส่วนการจัดอันดับ ซึ่งจะแสดงผู้เล่นที่ใช้เทิร์นน้อยที่สุดเพื่อทำให้เสร็จ
มี 88 เกมในมาริโอปาร์ตี 7 นับเป็นอีกครั้งที่ไม่มีมินิเกมจากภาคก่อนปรากฏ โดยมินิเกมมีเก้ารูปแบบในเกมนี้ ได้แก่ ผู้เล่น 4 คน, 1 ต่อ 3, 2 ต่อ 2, แบตเทิล (ประจัญบาน), ดูเอล (การต่อสู้กันตัวต่อตัว), ผู้เล่น 8 คน, ดองกีคอง, บาวเซอร์ และแรร์ ทั้งนี้ สำหรับผู้เล่น 4 คน และ 1 ต่อ 3 มีมินิเกมเพิ่มเติมห้าเกมที่สามารถเล่นด้วยไมโครโฟน ส่วนในมินิเกมของผู้เล่น 8 คน ผู้เล่นคนหนึ่งใช้คอนโทรลสติกกับปุ่มแอล และผู้เล่นอีกคนใช้ซี-สติก กับปุ่มอาร์ การควบคุมมินิเกมดังกล่าวมีตั้งแต่การกดปุ่มซ้ำ ๆ จนถึงการใช้ก้านควบคุมและหลายปุ่ม นอกจากนี้ มีมินิเกมพิเศษที่ผู้เล่นต้องซื้อในเกมเพื่อปลดล็อก
อีกหนึ่งเกมใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ "บาวเซอร์ไทม์!" ซึ่งนี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุก ๆ ห้าเทิร์นในระหว่างการแข่งปาร์ตีครูซ หลังจากแต่ละมินิเกม มิเตอร์บนหน้าจอจะเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อมิเตอร์เต็ม บาวเซอร์จะปรากฏขึ้นและขัดขวางผู้เล่นโดยขึ้นอยู่กับกระดานที่ตัวละครกำลังเล่นอยู่ โดยตามกระดานนี้ บาวเซอร์อาจทำลายสะพาน, แย่งดาวจากผู้เล่น หรือเปลี่ยนตำแหน่งดาว ในเกือบทุกกระดานในบางครั้ง บาวเซอร์อาจถ่ายรูปเป็น "ที่ระลึก" ของวันหยุด และนำเหรียญของผู้เล่นไป ส่วนในเวลาอื่น ๆ มันอาจเปิดร้านขายของที่ขายสินค้าไร้ประโยชน์และราคาแพงแก่ผู้เล่น ซึ่งกุปปะคิดก็เอาไป ทั้งนี้ "บาวเซอร์ไทม์!" อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือมากถึงเก้าครั้ง โดยอยู่กับจำนวนเทิร์นที่เล่น
นี่เป็นเกมแรกในซีรีส์มาริโอปาร์ตีที่ยกเลิกความสามารถในการเล่นอัตโนมัติในโหมดปาร์ตี (ซึ่งผู้เล่นทุกคนสามารถตั้งค่าเป็นปัญญาประดิษฐ์ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกมสามารถ "เล่นเอง" ได้โดยไม่ต้องใช้มนุษย์) และเกมนี้จะไม่อนุญาตให้มีผู้เล่นที่เป็นมนุษย์น้อยกว่าหนึ่งคนตลอดเวลา เว้นแต่จะใช้รหัส
โครงเรื่อง
[แก้]โทดส์เวิร์ธได้เชิญมาริโอและเพื่อน ๆ ของเขาไปล่องเรือสำราญสุดหรูรอบโลกเนื่องจากการทำงานหนักสารพัน อย่างไรก็ตาม บาวเซอร์ไม่ได้รับเชิญ ด้วยความโกรธแค้นที่ถูกละเลย ราชากุปปะจึงสาบานว่าจะแก้แค้น เมื่อเรือสำราญมาถึงที่หมายแรก ผู้โดยสารพบว่าบาวเซอร์ได้เปลี่ยนสวรรค์แห่งการพักผ่อนของพวกเขาให้กลายเป็นสถานที่ที่บ้าบอซึ่งเต็มไปด้วยความเครียด มาริโอจึงพยายามเก็บดาวให้ได้มากที่สุดเพื่อยุติเรื่องนี้
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์แบบ "ผสม" ตามเว็บไซต์รวบรวมบทวิจารณ์ เมทาคริติก[1] ส่วนในประเทศญี่ปุ่น นิตยสารแฟมิซือให้แปดคะแนนสองอัน และเจ็ดคะแนนสองอัน รวมเป็น 30 คะแนนจาก 40 คะแนน[5] ขณะที่เว็บไซต์ไอจีเอ็นให้คะแนนเกมนี้ที่ 7 คะแนนเต็ม 10 โดยระบุว่าเป็น "ปาร์ตีนิทรา" เท่านั้น[10]
ทั้งนี้ เกมดังกล่าวมียอดจำหน่าย 1.86 ล้านชุดทั่วโลก[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Mario Party 7 for GameCube Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ Rea, Jared (December 14, 2005). "Mario Party 7". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2016. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ EGM staff (January 2006). "Mario Party 7". Electronic Gaming Monthly (199): 125.
- ↑ Gibson, Ellie (February 1, 2006). "Mario Party 7". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ 5.0 5.1 "Famitsu Scores: Mario Party 7, Touch! Golf, NBA Live '06, Psi Ops, Getaway". Nerd Mentality. November 2, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2017. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ Juba, Joe (December 2005). "Mario Party 7". Game Informer. No. 152. p. 178. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2008. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ "Mario Party 7". GamePro: 80. January 2006.
- ↑ Davis, Ryan (November 11, 2005). "Mario Party 7 Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ Kosak, Dave (November 29, 2005). "GameSpy: Mario Party 7". GameSpy. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ 10.0 10.1 Casamassina, Matt (November 7, 2005). "Mario Party 7". IGN. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ "Mario Party 7". Nintendo Power. 199: 110. January 2006.
- ↑ "Mario Party 7 Review". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ January 28, 2020.
- ↑ "Nintendo 2006 Annual Report" (PDF). p. 8. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.