มัลติทาสกิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในการคอมพิวเตอร์ มัลติทาสกิง หรือศัพท์บัญญัติว่า ระบบหลายภารกิจ (อังกฤษ: multitasking) คือระบบที่รองรับการทำภารกิจหรือกระบวนการหลายอย่างได้พร้อมกัน โดยภารกิจที่เรียกขึ้นมาใหม่อาจไปขัดจังหวะภารกิจอื่น ๆ ที่กำลังทำอยู่โดยไม่รอจนเสร็จสิ้น ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำภารกิจต่าง ๆ แทรกสลับกันได้โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำหลัก

การทำงานของระบบมัลติทาสกิงจะเริ่มจากการขัดจังหวะโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ จากนั้นก็จะบันทึกสถานะต่าง ๆ ของโปรแกรม และทำการเรียกสถานะของอีกโปรแกรมหนึ่งขึ้นมา แล้วจึงสลับการควบคุมไปยังโปรแกรมนั้น ซึ่งการสลับนี้อาจเกิดขึ้นได้ภายในช่วงเวลาที่ตายตัว หรือในบางโปรแกรมอาจมีการเขียนโค้ดให้ทำการส่งสัญญาณไปยังซอฟต์แวร์กำกับดูแล (supervisory software) เมื่อสามารถถูกขัดจังหวะได้

ระบบมัลติทาสกิงไม่จำเป็นต้องให้มีภารกิจหลายอย่างเข้ามาประมวลผลแบบขนานไปพร้อมกัน แต่เป็นการช่วยให้ภารกิจหนึ่งอย่างทำงานได้คืบหน้าในระยะเวลาที่ตายตัว[1] นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถทำภารกิจหลายอย่างได้เป็นจำนวนมากกว่าจำนวนของหน่วยประมวลผลกลางที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้มัลติโพรเซสเซอร์ ทำให้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Concurrency vs Parallelism, Concurrent Programming vs Parallel Programming". Oracle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2016. สืบค้นเมื่อ March 23, 2016.