มังนึส คาลเซิน
มังนึส คาลเซิน | |
---|---|
มังนึส คาลเซินที่การแข่งขันแชมป์โลกหมากรุกสากลในปี ค.ศ. 2021 | |
เกิด | สเว็น มังนึส เอิน คาลเซิน 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 ทึนแบร์ นอร์เวย์ |
ประเทศ | นอร์เวย์ |
ตำแหน่งที่ได้รับ | แกรนด์มาสเตอร์ (2004) |
แชมป์โลก | 2013 |
ระดับสมาพันธ์หมากรุกโลก | 2848 (กันยายน 2024) |
ระดับสูงสุด | 2882 (พฤษภาคม 2014) |
อันดับ | อันดับ 1 (กันยายน 2022) |
อันดับสูงสุด | อันดับที่ 1 (มกราคม 2010) |
เว็บไซต์ | magnuscarlsen |
สเว็น มังนึส เอิน คาลเซิน (นอร์เวย์: Sven Magnus Øen Carlsen;[a] เกิด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990)[1][2] เป็นนักหมากรุกระดับแกรนด์มาสเตอร์ชาวนอร์เวย์ เขาเคยครองแชมป์โลกหมากรุกสากล 5 สมัย แชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทแรพิด 4 สมัย และแชมป์หมากรุก 6 สมัย แชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทแรพิดแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทบลิตซ์ คาลเซินครองสถิติระดับเรตติงสูงสุดในการจัดอันดับหมากรุกสากล FIDE ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 รองจากแกรี คาสปารอฟ ในผู้ที่ครองคะแนนสูงที่สุดยาวนานที่สุดในโลกด้วยระดับเรตติงสูงสุดของเขาที่ 2882 ซึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เขายังครองสถิติเล่นหมากรุกโดยไม่แพ้เลยติดต่อกันโดยแข่งกับนักหมากรุกระดับสูงในประเภทคลาสสิกอีกด้วย[3]
คาลเซินได้อันดับหนึ่งในกลุ่ม C ของการแข่งขันหมากรุกคอร์รัส หลังจากที่เขาอายุ 13 ปีไม่นาน และได้รับตำแหน่งแกรนด์มาสเตอร์ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา เมื่ออายุ 15 ปี เขาชนะการแข่งขันชิงแชมป์นอร์เวย์หมากรุกสากล และเมื่ออายุ 17 ปี เขาได้เข้าร่วมกลุ่มผู้เข้าแข่งขันระดับสูงแห่งคอร์รัส เขาทำระดับเรตติงได้มากกว่า 2800 เมื่ออายุ 18 ปี ซึ่งอายุน้อยที่สุดในเวลานั้น ใน ค.ศ. 2010 ขณะมีอายุ 19 ปี เขามาถึงอันดับที่ 1 ในการจัดอันดับโลก FIDE ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ถึงอันดับที่ 1 ที่มีอายุน้อยที่สุด
คาลเซินกลายเป็นแชมป์หมากรุกโลกใน ค.ศ. 2013 โดยเอาชนะวิศวนาถัน อานันท์ เขาครองตำแหน่งของเขาร่วมกับอานันท์ในปีถัดไปและชนะทั้งแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทแรพิด 2014 และแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทบลิตซ์ กลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่คว้าแชมป์ทั้งสามรายการพร้อมกัน และเกิดขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 2019 และ 2022[4][5] เขาครอบครองตำแหน่งแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทคลาสสิกร่วมกับเซอร์เกย์ คาร์ยากิน ใน ค.ศ. 2016, ฟาบีอาโน การูอานา ใน ค.ศ. 2018 และยาน เนปอมนียชต์ชิย ใน ค.ศ. 2021 คาลเซินปฏิเสธที่จะแข่งขันเพื่อรักษาตำแหน่งแชมป์โลกต่อกับเนปอมนียชต์ชิยใน ค.ศ. 2023[6]
คาลเซินเป็นที่รู้จักจากรูปแบบการเล่นแบบโจมตีตั้งแต่วัยรุ่น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คาลเซินก็ได้พัฒนาเป็นผู้เล่นในระดับสากล เขาใช้การเปิดที่หลากหลายเพื่อทำให้คู่ต่อสู้เตรียมรับมือกับเขาได้ยากขึ้น และลดโอกาสการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลก่อนเกม
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ออกเสียง: [svɛn ˈmɑ̀ŋnʉs øːn ˈkɑːlsn̩]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bolstad, Erik, บ.ก. (14 February 2009). "Magnus Carlsen". Store norske leksikon (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Norsk nettleksikon. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
- ↑ Haugli, Kurt B.M. (13 June 2019). "Sjakkekspertens forklaring på Carlsens sterke vår: – Caruana spilte ham god". Aftenposten (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
- ↑ Aimee Lewis (15 January 2020). "Magnus Carlsen breaks record for longest unbeaten run in chess". CNN. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
- ↑ Barden, Leonard (2022-12-30). "Chess: Magnus Carlsen captures double world crown in Rapid and Blitz". amp-theguardian-com.cdn.ampproject.org. สืบค้นเมื่อ 2022-12-30.
- ↑ "World Blitz: Carlsen clinches triple crown, Assaubayeva defends her title". Chess News (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-30. สืบค้นเมื่อ 2022-12-31.
- ↑ Lourim, Jake (26 July 2022). "Magnus Carlsen Is Giving Up The World Title. But The Carlsen Era Lives On". FiveThirtyEight. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.