มะสัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะสัง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Sapindales
วงศ์: Rutaceae
วงศ์ย่อย: Aurantioideae
เผ่า: Citreae
สกุล: Feroniella
สปีชีส์: F.  lucida
ชื่อทวินาม
Feroniella lucida

มะสัง หรือ หมากกะสัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Feroniella lucida (Scheff.) Swingle) เป็นพืชในวงศ์ Rutaceae เป็นไม้ยืนต้นแผ่กิ่งก้านจำนวนมาก ลำต้นและกิ่งก้าน มีหนามแหลมยาว แข็ง ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบโค้งขึ้นด้านบนเล็กน้อย สีเขียวเข้ม เป็นมันวาว ตามผิวใบมีต่อมน้ำมัน ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ซอกใบ คล้ายดอกกระถิน เป็นปุย ๆ มีสีขาว ผลทรงกลมสีเขียวคล้ายผลมะนาว ผิวเปลือกมีลายเป็นคลื่น เปลือกแข็งและหนามาก ผลอ่อนเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดสีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก

การใช้ประโยชน์[แก้]

ทางอุบลราชธานี ใช้ แก่นต้มรวมกับแก่นมะขาม ใช้ดื่มขณะอยู่ไฟ ตำรายาไทยใช้รากต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ใบรสฝาดมัน ใช้แก้ท้องเดิน ผลมีรสเปรี้ยว ใช้แทนมะนาวได้ [1] ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมรับประทานสด เปลือกผลมะสังใช้บรรจุเทียน เมื่อจุดจะมีกลิ่นหอม เนื้อมะสังตากแห้งใช้ปรุงรสอาหารแบบเดียวกับมะขามเปียก ใส่ในน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ ส้มตำแทนมะนาว[2] ผลอ่อนและยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ทางภาคใต้นิยมนำผลอ่อนมาแกงส้มกับปลาหมอ[3] นิยมทำไปทำเป็นไม้ดัด เพื่อใช้ในการประดับตกแต่ง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. มะสัง
  2. ยอดแต้ว อักษรา. ฟูดอับเดท: มะส้งความเปรี้ยวที่เก็บได้นานข้ามปี. ครัว. ปีที่ 18 ฉบับที่ 214 เมษายน 2555 หน้า 14
  3. 180 ตำรับ ผักพื้นบ้านอาหารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด. 2551.
  4. http://www.panmai.com/TemplePo/Title3_7.shtml