มะขวิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะขวิด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Sapindales
วงศ์: Rutaceae
วงศ์ย่อย: Aurantioideae
เผ่า: Citreae
สกุล: Limonia
L.
สปีชีส์: L.  acidissima
ชื่อทวินาม
Limonia acidissima
L.
ผลแห้งของมะขวิดที่ขายในประเทศอินเดีย
ผลมะขวิดอยู่บนต้น
เปลือกต้นมะขวิด

มะขวิด ภาคเหนือเรียกมะฟิด เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้นผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย สูงถึง 12 เมตร กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาว 4 เซนติเมตร ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูปไข่กลับ ยาวถึง 4 ซม. ก้านใบและก้านใบย่อยมีปีกแคบ ๆ ยาวถึง 12 เซนติเมตร มีจุดต่อมน้ำมัน มีกลิ่นอ่อน ๆ เมื่อขยี้ ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอกใบ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ มี 5 กลีบ สีขาวครีมแกมเขียว ชมพูหรือแดงเรื่อ ๆ อยู่กันหลวม ๆ ผลเปลือกแข็ง รูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวเป็นขุยสีออกขาวปนสีชมพู มีเนื้อมาก กลิ่นหอม มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนา มีขน

การใช้ประโยชน์[แก้]

มะขวิด เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น เจริญอาหาร แก้อาการท้องเสีย และรักษาโรคทางเดินอาหาร โรคลักปิดลักเปิด แก้ฝีเปื่อยบวม ตกโลหิต และแก้พยาธิ ใบและดอก แก้ท้องร่วง แก้บวมและฟกช้ำ ตกโลหิต ขับลม เป็นยาฝาดสมาน และแก้พยาธิ ยาง แก้ทองเสีย สมานแผล และเจริญไฟธาตุ เปลือก แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้อาการลงท้อง ตกโลหิต และแก้พยาธิ

ยางของผลมีความเหนียว ใช้ติดหรือเชื่อมต่อสิ่งของได้ เปลือกไม้มีสารจำพวกกัมจำนวนมาก ไม้เนื้อแข็ง สามารถใช้ในงานช่างไม้ได้ ผลรับประทานสดหรือนำไปทำน้ำผลไม้และแยม

เปลือกต้นมะขวิดใช้บดทำแป้งผัดหน้า อย่างในแป้งพม่า

ชื่อในภาษาต่างๆ[แก้]

ชื่อสามัญของมะขวิด ได้แก่:


อ้างอิง[แก้]

  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะขวิด ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 137
  1. Feronia elephantum on treknature
  2. S G Joshi, Medicinal Plants, Oxford & IBH Publishing Co. Pvt. Ltd. New Delhi, 2004, ISBN 81-204-1414-4, p.347

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]