มรณกรรมของโพรคริส (โกซีโม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มรณกรรมของโพรคริส
ศิลปินเปียโร ดิ โคสิโม
ปีค.ศ. 1500 - ค.ศ. 1510
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนไม้พอพพลา
สถานที่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน

มรณกรรมของโพรคริส หรือ ซาไทร์โศรกเศร้ากับมรณกรรมของโพรคริส (อังกฤษ: The Death of Procris หรือ A Satyr mourning over a Nymph) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่มิได้ลงชื่อลงวันที่ที่ระบุว่าเขียนได้อย่างแน่นอนว่าโดยเปียโร ดิ โคสิโม ผู้เป็นจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนในสหราชอาณาจักร

จิตรกรรม “มรณกรรมของโพรคริส” ที่เขียนโดยเปียโร ดิ โคสิโม ราวระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึงปี ค.ศ. 1510 เป็นภาพที่มีเนื้อหาที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ชื่อภาพ “มรณกรรมของโพรคริส” (อิตาลี: Morte di Procri) เป็นชื่อที่ใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เชื่อกันว่าเป็นภาพที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานเกี่ยวกับความตายของโพรคริสด้วยน้ำมือของสามีเซฟาลัสใน “มหากาพย์เมตะมอร์ฟอร์ซิส” VII ที่เขียนโดยโอวิด แต่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนไม่ยอมรับชื่อนี้และจะเรียกชื่อภาพว่า “A Mythological Subject” หรือ “ซาไทร์โศรกเศร้ากับมรณกรรมของโพรคริส”[1][2]

แม้จะเป็นภาพที่ไม่ทราบเนื้อหาที่แน่นอนที่เป็นภาพของซาไทร์กำลังโศรกเศร้าอาลัยอยู่กับร่างของสตรี แต่ก็เป็นภาพที่เป็นที่นิยมกันที่สุดในบรรดางานเขียนของเปียโร ดิ โคสิโม นักประวัติศาสตร์ศิลป์ เออร์วิน พานอฟสกีหลงมนตร์เสน่ห์ของภาพเพราะ “ความแปลกอันดึงดูดที่กำจายออกมาจากภาพ” และผู้ออกความเห็นผู้อื่นกล่าวว่าเป็นภาพที่มี “บรรยากาศเป็นหมอกมัวเหมือนกึ่งฝัน”[3]

บทเรียนสำหรับคู่สมรส[แก้]

รายละเอียดของภาพ

ความสนใจของเปียโรในเรื่องของโพรคริสอาจจะมาจากละครเรื่องแรกๆ ของอิตาลีที่มาจากตำนานเทพ “เซฟาโล” ที่เขียนโดยนิโคโล คอรเรจจิโอ ที่เล่นเป็นครั้งแรกในงานฉลองการแต่งงานที่ปราสาทเอสเตนเซในปี ค.ศ. 1487 และได้รับการตีพิมพ์ในเวนิสในปี ค.ศ. 1507[3] บทละครกล่าวกันว่าแปลงมาจากงานเขียนของพลอตัสแทนที่จะเป็นจาก “มหากาพย์เมตะมอร์ฟอร์ซิส” ที่เขียนโดยโอวิด และเป็นเรื่องที่ลงเอยอย่างมีความสุข[4] ถ้าจริงตามที่สันนิษฐาน ภาพนี้ก็คงจะตั้งใจที่ให้เป็นการตักเตือนแก่คู่บ่าวสาวถึงอันตรายของความอิจฉาที่อาจจะนำมาซึ่งความตายเช่นเดียวกับโพรคริส[3]

การที่ภาพมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสมรส และขนาดที่แปลกของภาพทำให้สันนิษฐานกันว่าเป็นภาพสำเขียนบน “หีบคาสโซเน” (Cassone) หรือ หีบเจ้าสาว[3] นักประวัติศาสตร์ศิลป์เซซิล กูลด์เสนอว่าแม้ว่ามักจะได้รับการบรรยายว่าเป็นภาพหน้า “หีบคาโซเน” เพราะภาพเขียนฟลอเรนซ์ที่มีขนาดใกล้เคียงกันใช้เป็นภาพสำหรับหีบคาโซเน แต่ก็อาจจะเป็นได้ว่าเป็นภาพที่ใช้สำหรับฝังในแผง (Wainscot Paneling) บนผนังสำหรับการตกแต่งภายใน[5] ชารอน เฟอร์มอร์ให้ความเห็นว่าอาจจะเป็นภาพที่ใช้แขวนในห้องของคู่สมรสก็เป็นได้[6]

ตอนบนของภาพมีรอยนิ้วมือของจิตรกร[2] ด้านหลังของภาพมีการ์ดและตราของตระกูลจูชิอาร์ดินี (Guicciardini) (ที่มาเพิ่มเติมภายหลัง)[4]

ความขัดแย้ง[แก้]

หัวข้อของภาพเหมาะแก่การตีความหมายกันไปต่างๆ ที่ทำให้เดนนิส เจโรนิมัสมองเห็นความขัดแย้งหลายอย่างที่ปรากฏในภาพ เช่นการที่ในภาพไม่มีภาพของสามี, หอกที่ใช้สังหารโพรคริส และตำแหน่งที่แปลกของแผล[4] แต่ที่น่าพิศวงที่สุดคือผู้ที่ร้องไห้อาลัยคือฟอนแทนที่จะเป็นสามี ซึ่งเป็นอมนุษย์ที่มิได้ปรากฏในเรื่องที่โอวิดเขียนแต่ปรากฏในบทละครของนิโคโล คอรเรจจิโอ[4]

ฉากหลังเป็นแม่น้า

ความขัดแย้งอีกอย่างหนึ่งคือภาพสุนัขที่มองเหตุการณ์อยู่ในภาพ ซึ่งทำให้น่าจะตีความหมายได้ว่าเป็นเลแล็พที่เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรงต่อสามีขี้หึงของโพรคริส[6] ตามเรื่องของโอวิดเลแล็พและหมาจิ้งจอกทูเมสเซียนถูกสาปให้เป็นหินในเรื่องก่อนหน้านั้น ซึ่งทำให้การสันนิษฐานเป็นปัญหา[4] แม่น้ำในฉากหลังอาจจะเป็นหนึ่งในแม่น้ำสามสายของโลกบาดาล[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gould, 421
  2. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Rose-Marie Hagen, Rainer Hagen. What Great Paintings Say. Taschen, 2003. ISBN 3822821004. Pages 104-109.
  3. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Dennis Geronimus. Piero di Cosimo: Visions Beautiful and Strange. Yale University Press, 2006. ISBN 0300109113. Pages 85-90.
  4. Gould, 421
  5. 6.0 6.1 Fermor, Sharon (1993). Piero di Cosimo: Fiction, Invention, and Fantasìa. Reaktion Books. pp. 51–53. ISBN 0948462361.

ดูเพิ่ม[แก้]