ข้ามไปเนื้อหา

ภูมิคุ้มกันหมู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
*ภาพบนสุดแสดงให้เห็นกรณีที่เกิดการระบาดขึ้นในชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อ (สีแดง) เพียงไม่กี่คน คนที่เหลือมีสุขภาพดีแต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน โรคจึงแพร่ระบาดในชุมชนนี้ได้อย่างอิสระ
*ภาพกลางแสดงให้เห็นกรณีที่เกิดการระบาดขึ้นในชุมชนที่ผู้ที่มีภูมิคุ้มแล้ว (สีเหลือง) เพียงไม่กี่คน โรคยังคงแพร่ระบาดได้อย่างอิสระจนคนส่วนใหญ่ติดเชื้อ เหลือเพียงคนที่มีภูมิคุ้มกัน และคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงส่วนน้อยที่รอดได้โดยบังเอิญ
*ภาพล่างแสดงให้เห็นกรณีที่มีผู้ติดเชื้อเข้ามาในชุมชนที่คนจำนวนมาก (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) มีภูมิคุ้มกันแล้ว โรคไม่สามารถระบาดต่อได้โดยอิสระเนื่องจากโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้เจอกับคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันนั้นลดลงอย่างมาก ทำให้โรคระบาดได้เพียงในวงแคบๆ และผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็หายจากโรคโดยไม่ได้ส่งต่อเชื้อโรคให้ใครเลย

ภูมิคุ้มกันหมู่ (อังกฤษ: herd immunity, herd effect, community immunity, population immunity, social immunity) เป็นการป้องกันโรคติดเชื้อรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อสัดส่วนของประชากรที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อโรคหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันที่มาจากการเคยติดโรคหรือจากการได้รับวัคซีนก็ตาม[1] เพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง เป็นผลให้ประชากรส่วนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อโรคนั้นๆ มีโอกาสต่ำที่จะติดโรค เสมือนว่าได้มีภูมิคุ้มกันไปด้วย[2][3][4] เนื่องจากคนที่มีภูมิคุ้มกันนั้นมีโอกาสต่ำที่จะติดโรค และมีโอกาสต่ำที่จะส่งต่อโรคไปยังคนอื่น จึงเป็นการตัดตอนห่วงโซ่ของการติดต่อ ทำให้การแพร่ระบาดของโรคยุติลงหรือช้าลง[5] ยิ่งในประชากรมีสัดส่วนของคนที่มีภูมิคุ้มกันมากขึ้นเท่าไร โอกาสที่คนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันจะได้เจอกับผู้ป่วยก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น[2] ภาวะที่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จึงไม่ได้หมายภาวะที่ประชากรทุกคนมีภูมิคุ้มกันแล้วแต่อย่างใด

การเกิดภูมิคุ้มกันของคนคนหนึ่งอาจเกิดจากการเคยติดโรคมาก่อนแล้วหายจากโรคนั้น หรืออาจเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับการเสริมขึ้น เช่น จากการรับวัคซีน[5] คนบางคนไม่สามารถจะสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองขึ้นได้จากโรคบางอย่าง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนกลุ่มนี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยผลของภูมิคุ้มกันหมู่ในประชากรที่อาศัย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคเหล่านี้[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Herd immunity | immunology". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
  2. 2.0 2.1 Fine P, Eames K, Heymann DL (April 2011). ""Herd immunity": a rough guide". Clinical Infectious Diseases. 52 (7): 911–6. doi:10.1093/cid/cir007. PMID 21427399.
  3. Gordis L (2013). Epidemiology. Elsevier Health Sciences. pp. 26–27. ISBN 978-1455742516. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  4. "Cold-Causing Coronaviruses Don't Seem to Confer Lasting Immunity". The Scientist Magazine® (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.
  5. 5.0 5.1 Merrill RM (2013). Introduction to Epidemiology. Jones & Bartlett Publishers. pp. 68–71. ISBN 978-1449645175. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  6. "Herd Immunity". oxford vaccine group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-02. สืบค้นเมื่อ 24 March 2015.
  7. Somerville, M.; Kumaran, K.; Anderson, R. (19 January 2012). Public Health and Epidemiology at a Glance. John Wiley & Sons. pp. 58–59. ISBN 9781118308646. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.