ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Basic reproduction number)
ค่า R0 ของโรคติดเชื้อที่เด่น[1]
โรค การแพร่เชื้อ R0
หัด ละอองลอย 12–18[2]
อีสุกอีใส ละอองลอย 10-12[3]
คางทูม หยดน้ำทางลมหายใจ 10-12[4]
โปลิโอ ทางอุจจาระ-ปาก 5-7[ต้องการอ้างอิง]
หัดเยอรมัน หยดน้ำทางลมหายใจ 5–7[ต้องการอ้างอิง]
ไอกรน หยดน้ำทางลมหายใจ 5.5[5]
ฝีดาษ หยดน้ำทางลมหายใจ 3.5–6[6]
โควิด-19 หยดน้ำทางลมหายใจ 1.4–5.7[7][8][9][10]
เอชไอวี/เอดส์ น้ำของร่างกาย 2–5[ต้องการอ้างอิง]
ซาร์ส หยดน้ำทางลมหายใจ 2–5[11]
หวัด หยดน้ำทางลมหายใจ 2–3[12]
คอตีบ น้ำลาย 1.7–4.3[13]
ไข้หวัดใหญ่
(สายพันธ์ที่ระบาดทั่วปี 1918)
หยดน้ำทางลมหายใจ 1.4–2.8[14]
อีโบลา
(การระบาดในปี 2014)
น้ำของร่างกาย 1.5–1.9[15]
ไข้หวัดใหญ่
(การระบาดในปี 2009)
หยดน้ำทางลมหายใจ 1.4–1.6[16]
ไข้หวัดใหญ่
(ตามฤดูกาล)
หยดน้ำทางลมหายใจ 0.9–2.1[16]
เมอร์ส หยดน้ำทางลมหายใจ 0.3–0.8[17]
วิดีโอภาษาอังกฤษอธิบาย basic reproduction number (ประมาณ 4 นาที) และอัตราป่วยตาย (CFR) ในบริบทของการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563

ในวิทยาการระบาด ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน[18][19][20] หรือ เลขสืบพันธุ์พื้นฐาน (อังกฤษ: basic reproduction number, basic reproductive ratio) หรือค่า R0 (อ่านว่า อาร์น็อต หรืออาร์ซีโร่ หรืออาร์ศูนย์)[21] สามารถพิจารณาได้ว่า เป็นจำนวนกรณีการติดเชื้อของผู้ป่วยรายใหม่ที่คาดหมายซึ่งติดมาจากผู้ป่วยรายเดียวโดยสมมุติว่าคนในกลุ่มประชากรติดเชื้อได้ทุกคน[22] นิยามนี้หมายเอาสถานการณ์ที่ไม่มีคนอื่นติดเชื้อหรือมีภูมิคุ้มกัน ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือโดยอาศัยวัคซีน มีนิยามบางนิยาม เช่น ของกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลีย ที่เพิ่มข้อสมมุติว่าไม่มีการแทรกแซงที่จงใจเพื่อชลอหรือยุติการแพร่เชื้อ[23] ค่านี้ไม่ควรสับสนกับ effective reproduction number ซึ่งมีสัญลักษณ์ R และหาค่าโดยใช้สถานการณ์จริง ๆ/ปัจจุบันของกลุ่มประชากร ไม่ใช่สถานการณ์ที่ไม่มีการติดเชื้อ โดยนิยามแล้ว R0 ไม่อาจเปลี่ยนได้โดยโปรแกรมการให้วัคซีน ให้สังเกตว่า R0 ไม่มีหน่วย และไม่ใช่อัตราที่มีหน่วยเกี่ยวกับระยะเวลา[24]

R0 ไม่ใช่ค่าคงตัวทางชีวภาพของจุลชีพก่อโรค เพราะมันได้รับผลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของกลุ่มประชากร อนึ่ง ค่า R0 มักประเมินจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จึงขึ้นอยู่กับแบบจำลองและค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ใช้ ดังนั้น ค่าที่พบในวรรณกรรมจึงเหมาะกับบริบทนั้น ๆ จึงแนะนำไม่ให้ใช้ค่าล้าสมัยหรือเปรียบเทียบค่าที่ได้จากแบบจำลองต่าง ๆ กัน[25] ค่า R0 โดยตนเองไม่สามารถใช้ประเมินว่า การแพร่เชื้อจะเกิดเร็วขนาดไหนในกลุ่มประชากรนั้น ๆ

การใช้ค่า R0 ที่เด่นสุดก็คือเพื่อช่วยประเมินว่า โรคติดเชื้อที่กำลังระบาดจะสามารถแพร่กระจายไปได้มากแค่ไหนในประชากรที่ยังไม่มีการติดเชื้อ และประเมินว่า สัดส่วนประชากรแค่ไหนต้องได้รับวัคซีนเพื่อกำจัดโรค ในแบบจำลองการติดเชื้อที่ใช้อย่างสามัญ เมื่อ R0 > 1 เชื้อจะสามารถระบาดไปในกลุ่มประชากร แต่จะยุติเมื่อ R0 < 1 ทั่วไปแล้ว ค่า R0 ยิ่งสูงเท่าไร ก็ควบคุมการระบาดยากขึ้นเท่านั้น ในแบบจำลองง่าย ๆ สัดส่วนกลุ่มประชากรที่ต้องมีภูมิคุ้มกัน (คือไม่เสี่ยงติดเชื้อ) เพื่อป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่องจะต้องมากกว่า 1 − 1/R0[26] โดยนัยตรงกันข้าม สัดส่วนประชากรที่ยังคงเสี่ยงติดเชื้อซึ่งก่อโรคประจำก็คือ 1/R0

ค่านี้ได้รับผลจากปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งระยะการแพร่เชื้อ (infectivity) ของคนไข้, สมรรถภาพให้ติดโรคของสิ่งมีชีวิต และจำนวนคนที่สามารถติดโรคในกลุ่มประชากรที่คนไข้พบเจอ

ค่าระดับการติดเชื้อยังผล (Effective reproduction number)[แก้]

ในสถานการณ์จริง กลุ่มประชากรต่าง ๆ จะมีอัตราส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหนึ่ง ๆ ไม่เหมือนกัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อประเมินสถานการณ์เช่นนี้ จึงมี ค่าระดับการติดเชื้อยังผล (Effective reproduction number) โดยใช้ตัวแปรเป็น หรือ และมีนิยามเป็นจำนวนคนเฉลี่ยที่บุคคลผู้ติดโรคคนเดียวทำให้คนอื่น ๆ ติดโรค ณ เวลา t ในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงติดโรคเป็นบางส่วน (คือบางคนจะมีภูมิค้มกัน) ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยคูณค่า กับเศษส่วน S ที่กลุ่มประชากรนั้น ๆ เสี่ยงติดโรค ถ้าเศษส่วนประชากรที่มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น (คือค่า S ลดลง) จนกระทั่งค่า เหลือน้อยกว่า 1 กลุ่มประชากรนั้นจัดว่ามี "ภูมิคุ้มกันหมู่" แล้ว และจำนวนการติดโรคในกลุ่มประชากรนั้นจะค่อย ๆ ลดลดจงเหลือศูนย์[27][28][29]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. ถ้าไม่ได้ระบุ ค่า R0 มาจาก History and Epidemiology of Global Smallpox Eradication (เก็บถาวร 2016-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), ซึ่งเป็นมอดูลหนึ่งในค้อร์ส "Smallpox: Disease, Prevention, and Intervention." CDC and World Health Organization, 2001. Slide 17. นี่อ้างอิง "Modified from Epidemiologic Reviews 1993;15: 265-302, American Journal of Preventive Medicine 2001; 20 (4S): 88-153, Morbidity and Mortality Weekly Report 2000; 49 (SS-9); 27-38"
  2. Guerra, Fiona M.; Bolotin, Shelly; Lim, Gillian; Heffernan, Jane; Deeks, Shelley L.; Li, Ye; Crowcroft, Natasha S. (2017-12-01). "The basic reproduction number (R0) of measles: a systematic review". The Lancet Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 17 (12): e420–e428. doi:10.1016/S1473-3099(17)30307-9. ISSN 1473-3099. PMID 28757186. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
  3. Ireland's Health Services. Health Care Worker Information (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
  4. "Mumps Laboratory Case Definition (LCD)". Australian government Department of Health.
  5. Kretzschmar, M; Teunis, PF; Pebody, RG (2010). "Incidence and reproduction numbers of pertussis: estimates from serological and social contact data in five European countries". PLOS Med. 7 (6): e1000291. doi:10.1371/journal.pmed.1000291. PMC 2889930. PMID 20585374.
  6. Gani, Raymond; Leach, Steve (December 2001). "Transmission potential of smallpox in contemporary populations". Nature (ภาษาอังกฤษ). 414 (6865): 748–751. doi:10.1038/414748a. ISSN 1476-4687. PMID 11742399. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
  7. Li, Q; Guan, X; Wu, P; Wang, X; Zhou, L; Tong, Y; และคณะ (January 2020). "Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus-Infected Pneumonia". The New England Journal of Medicine. 382 (13): 1199–1207. doi:10.1056/NEJMoa2001316. PMC 7121484. PMID 31995857.
  8. Riou, Julien; Althaus, Christian L. (2020). "Pattern of early human-to-human transmission of Wuhan 2019 novel coronavirus (2019-nCoV), December 2019 to January 2020". Eurosurveillance. 25 (4). doi:10.2807/1560-7917.ES.2020.25.4.2000058. PMC 7001239. PMID 32019669.
  9. Wu, Joseph T.; Leung, Kathy; Bushman, Mary; Kishore, Nishant; Niehus, Rene; de Salazar, Pablo M.; Cowling, Benjamin J.; Lipsitch, Marc; Leung, Gabriel M. (2020-03-19). "Estimating clinical severity of COVID-19 from the transmission dynamics in Wuhan, China". Nature Medicine (ภาษาอังกฤษ). 26 (4): 506–510. doi:10.1038/s41591-020-0822-7. ISSN 1546-170X. PMID 32284616.
  10. Sanche, Steven; Lin, Yen Ting; Xu, Chonggang; Romero-Severson, Ethan; Hengartner, Nick; Ke, Ruian (2020-04-07). "High Contagiousness and Rapid Spread of Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2". Emerging Infectious Diseases. 26 (7). doi:10.3201/eid2607.200282. PMID 32255761. สืบค้นเมื่อ 2020-04-09.
  11. Wallinga, J; Teunis, P (2004). "Different epidemic curves for severe acute respiratory syndrome reveal similar impacts of control measures". Am. J. Epidemiol. 160 (6): 509–16. doi:10.1093/aje/kwh255. PMC 7110200. PMID 15353409. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-06.
  12. Freeman, Colin. "Magic formula that will determine whether Ebola is beaten". The Telegraph. Telegraph.Co.Uk. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  13. Truelove, Shaun A.; Keegan, Lindsay T.; Moss, William J.; Chaisson, Lelia H.; Macher, Emilie; Azman, Andrew S.; Lessler, Justin (2019). "Clinical and Epidemiological Aspects of Diphtheria: A Systematic Review and Pooled Analysis". Clinical Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1093/cid/ciz808. PMID 31425581.
  14. Ferguson, NM; Cummings, DA; Fraser, C; Cajka, JC; Cooley, PC; Burke, DS (2006). "Strategies for mitigating an influenza pandemic". Nature. 442 (7101): 448–452. Bibcode:2006Natur.442..448F. doi:10.1038/nature04795. PMC 7095311. PMID 16642006.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Khan, Adnan; Naveed, Mahim; Dur-e-Ahmad, Muhammad; Imran, Mudassar (2015-02-24). "Estimating the basic reproductive ratio for the Ebola outbreak in Liberia and Sierra Leone". Infectious Diseases of Poverty. 4: 13. doi:10.1186/s40249-015-0043-3. ISSN 2049-9957. PMC 4347917. PMID 25737782.
  16. 16.0 16.1 Coburn, BJ; Wagner, BG; Blower, S (2009). "Modeling influenza epidemics and pandemics: insights into the future of swine flu (H1N1)". BMC Medicine. 7. Article 30. doi:10.1186/1741-7015-7-30. PMC 2715422. PMID 19545404.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Kucharski, Adam; Althaus, Christian L. (2015). "The role of superspreading in Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) transmission". Eurosurveillance. 20 (26): 14–8. doi:10.2807/1560-7917.ES2015.20.25.21167. PMID 26132768.
  18. Bar-On, Yinon M.; ชัยจรัสพงษ์, ธวัชชัย (31 มี.ค. 2563). "SARS-CoV-2 (COVID-19): ตัวเลขน่ารู้" (PDF). book.bionumbers.org. elife. สืบค้นเมื่อ 24 มิ.ย. 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  19. ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (17 มี.ค. 2563). "แนวทางการให้การรักษาทางทันตกรรมในภาวะที่มีการระบาดของ COVID-19". thaidental.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 24 มิ.ย. 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  20. เด็นเพ็ชรหน๋อง, อดิศักดิ์; สวนนิ่ม, มาริษา (7 ส.ค. 2560). "แบบจำลองการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนและการคัดแยก". วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. ปีที่ 22 (ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการระดับชาติ "วิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 9"): 354–365. สืบค้นเมื่อ 24 มิ.ย. 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  21. Milligan, Gregg N.; Barrett, Alan D. T. (2015). Vaccinology : an essential guide. Chichester, West Sussex: Wiley Blackwell. p. 310. ISBN 978-1-118-63652-7. OCLC 881386962.
  22. Fraser, Christophe; Donnelly, Christl A; Cauchemez, Simon และคณะ (2009-06-19). "Pandemic Potential of a Strain of Influenza A (H1N1): Early Findings". Science. 324 (5934): 1557–1561. Bibcode:2009Sci...324.1557F. doi:10.1126/science.1176062. PMC 3735127. PMID 19433588.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) Free text
  23. Becker, Niels G.; Glass, Kathryn; Barnes, Belinda; Caley, Peter; Philp, David; McCaw, James; McVernon, Jodie; Wood, James (April 2006). "The reproduction number". Using Mathematical Models to Assess Responses to an Outbreak of an Emerged Viral Respiratory Disease. National Centre for Epidemiology and Population Health. ISBN 1-74186-357-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-01. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
  24. Jones, James. "Notes On R0" (PDF). Stanford University.
  25. Delamater, Paul L.; Street, Erica J.; Leslie, Timothy F.; Yang, Y. Tony; Jacobsen, Kathryn H. (January 2019). "Complexity of the Basic Reproduction Number (R 0 )". Emerging Infectious Diseases. 25 (1): 1–4. doi:10.3201/eid2501.171901. ISSN 1080-6040. PMC 6302597. PMID 30560777.
  26. Fine, Paul; Eames, Ken; Heymann, David L. (2011-04-01). ""Herd Immunity": A Rough Guide". Clinical Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 52 (7): 911–916. doi:10.1093/cid/cir007. ISSN 1058-4838. PMID 21427399.
  27. Garnett, GP (February 2005). "Role of herd immunity in determining the effect of vaccines against sexually transmitted disease". The Journal of Infectious Diseases. 191 Suppl 1 (Suppl 1): S97-106. doi:10.1086/425271. PMID 15627236.
  28. Rodpothong, P; Auewarakul, P (October 2012). "Viral evolution and transmission effectiveness". World Journal of Virology. 1 (5): 131–4. doi:10.5501/wjv.v1.i5.131. PMC 3782273. PMID 24175217.
  29. Dabbaghian, V; Mago, VK (2013). Theories and Simulations of Complex Social Systems. Springer. pp. 134–35. ISBN 978-3642391491. สืบค้นเมื่อ 2015-03-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]