ภาษาอาหรับเยเมน
ภาษาอาหรับเยเมน | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | เยเมน, โซมาเลีย, โซมาลิแลนด์ de facto state not currently recognized internationally |
ตระกูลภาษา |
แอฟโฟร-เอเชียติก
|
ระบบการเขียน | อักษรอาหรับ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย: ayh — [[ภาษาอาหรับฮาดรามี]] ayn — [[ภาษาอาหรับซันนาอานี]] acq — [[ภาษาอาหรับตาอิซ-เอเดน]] |
ภาษาอาหรับเยเมน (Yemeni Arabic) เป็นกลุ่มของสำเนียงภาษาอาหรับที่มีผู้พูดในเยเมน โดยแบ่งเป็นสำเนียงหลักๆได้หลากหลายโดยใช้คำศัพท์และหลักทางสัทวิทยาเป็นตัวแบ่งแยก กลุ่มหลักๆได้แก่ สำเนียงซันอานี สำเนียงตาอิซารี สำเนียงเอเดน สำเนียงติอามี และสำเนียงฮาดรามี โดยในบริเวณนี้มีภาษาเอกเทศคือภาษาเมห์รีและภาษาโซโกวตรีซึ่งไม่ใช่สำเนียงของภาษาอาหรับแต่พัฒนามาจากกลุ่มภาษาอาระเบียนใต้โบราณ เช่น ภาษาซาเบียน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษาเอธิโอปิก
สำเนียงต่างๆ[แก้]
- สำเนียงยาฟีอีล่างยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง สำเนียงนี้ออกเสียง [jīm] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น [gīm] และ[qāf] เป็น [ġāf] การสลับเสียงแบบนี้พบในสำเนียงซูดานด้วย
- สำเนียงซันอานี ความแตกต่างของสำเนียงนี้จากสำเนียงอื่นๆคือออกเสียง [g] หนักแทนเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิก ในขณะที่ยังรักษาเสียงของ ج ในภาษาอาหรับคลาสสิกไว้ได้ นอกจากนั้นยังใช้คำว่า mā ในภาษาอาหรับคลาสสิกในความหมายว่า “อะไร” และยังรักษาความหมายของคำศัพท์ไว้ได้หลายคำ เช่น "sāra, yasīr" หมายถึง ไป
- สำเนียงตาอิซซี วัฒนธรรมของชาวตาอิซจัดเป็นแกนกลางของวัฒนธรรมเยเมนและเป็นสำเนียงที่ใช้พูดในเอเดน และเป็นสำเนียงที่ใช้พูดในกลุ่มผู้มีการศึกษาในเยเมน
- สำเนียงเอเดนเ ป็นสำเนียงที่พบในเอเดนซึ่งต่างจากสำเนียงอื่นๆ โดยออกเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น q
- สำเนียงติอามี มีลักษณะใกล้เคียงกับสำเนียงอื่นๆในเยเมน คือออกเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น q และ ج ออกเสียงเป็นเสียง [g] หนัก และแทนที่คำนำหน้า –al ด้วย am-
- สำเนียงฮาดรามี สำเนียงนี้มีคำศัพท์ร่วมกับภาษาอาระเบียใต้สมัยใหม่ ทำให้แตกต่างจากภาษาอาหรับสำเนียงใกล้เคียงไปบ้าง การอพยพมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้พูดสำเนียงนี้ ทำให้สำเนียงนี้มีอิทธิพลต่อภาษาอาหรับสิงคโปร์
อ้างอิง[แก้]
- Ethnologue entry for Hadrami Arabic
- Ethnologue entry for Sanaani Arabic
- Ethnologue entry for Ta'izzi-Adeni Arabic