ภาษานาไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษานาไน
Нанай (Nanaj)
ประเทศที่มีการพูดรัสเซียและจีน
ภูมิภาคภูมิภาคไซบีเรียและมณฑลเฮย์หลงเจียง
จำนวนผู้พูด5,772 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2gld
ISO 639-3gld

ภาษานาไน (อังกฤษ: Nanai) เป็นภาษาที่ใช้พูดโดยชาวนาไนในไซบีเรีย และมีบางส่วนอยู่ในประเทศจีน มีผู้พูดทั้งหมดราว 5,772 คน จากชาวนาไนทั้งหมด 11,000 คน ผู้พูดภาษานี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะพูดภาษาจีนหรือภาษารัสเซียได้ด้วย และใช้เป็นภาษาสำหรับการติดต่อสื่อสาร

การแพร่กระจาย[แก้]

ในจีน ภาษานี้เรียกว่า he zhe yu ในขณะที่ชาวนาไนเรียกตัวเองว่า nanio หรือ nanai ซึ่งแปลว่าคนท้องถิ่น ผู้พูดภาษานี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณตั้งแต่แม่น้ำอามูร์ แม่น้ำกูร์ และแม่น้ำอุสซูรีตอนกลาง ในรัสเซีย ภาษานาไนมีใช้มากในบริเวณคาบารอฟสก์ไคร ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการตีพิมพ์หนังสือด้วยภาษานาไน ข้อมูล พ.ศ. 2545 แสดงว่าผู้พูดภาษานาไนร้อยละ90 อยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษานี้พบในหมู่คนรุ่นเก่าอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปเป็นหลัก คนรุ่นใหม่นิยมใช้ภาษารัสเซียมากกว่า ภาษานี้มีการแพร่กระจายในหลายบริเวณ ได้แก่

  • สำเนียงกูร์ - อูร์มี ได้แก่บริเวณรอบๆเมืองคาบารอฟส์
  • สำเนียงอมูร์กลาง/ล่าง พบในตามแนวแม่น้ำอมูร์ที่อยู่ใต้เมืองคาบารอฟส์
  • สำเนียงบิกัน พบในตำบลโปซาร์สกีของ Primorsky Krai ใกล้กับช่วงกลางของแม่น้ำอุสซารี
  • สำเนียงซังการี บริเวณชายแดนของแม่น้ำอุสซูรีในประเทศจีน

โดยทั่วไปจะคิดว่าในรัสเซีย ภาษานาไนจะพบมากในตำบลนาไนของ Primorsky Krai เพราะมีชุมชนผู้พูดภาษานาไนที่มีกิจกรรมในด้านการตีพิมพ์หนังสือภาษานาไน และการมีสถานะปกครองตนเองของชุมชนชาวนาไน จากข้อมูลของ Stolyarov ทั่วโลก มีชุมชนชาวนาไน 11,883 คน โดยอยู่ใน Khabarovsk Krai 8, 940 คน อย่างไรก็ตาม มีผู้พูดเป็นภาษาแม่เพียง 100 - 150 คน ที่ยังอยู่ที่นั่น ข้อมูลการสำรวจใน พ.ศ. 2545 พบว่ามีประชากร 12,194 คน กล่าวอ้างว่าพูดภาษานี้ โดย 90% อยู่ใน Khabarovsk Krai 3.5% อยู่ใน Primorsky Krai 1.3 % อยู่ใน Sakhalin Oblast และอยู่ในที่อื่นๆไม่เกิน 0.5% ส่วนใหญ่พูดได้ 2 ภาษา โดยพูดภาษารัสเซียได้ด้วย

สถานะการใช้ภาษานาไนในรัสเซียพบว่าบุคคลอายุมากกว่า 40 ปีที่ใช้ภาษานี้ในชีวิตประจำวัน คนที่อายุน้อยกว่านี้นิยมใช้ภาษารัสเซียมากกว่า และจะใช้ภาษานาไนกับคนที่มีอายุมากกว่าเท่านั้น มีการสอนภาษานาไนในโรงเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในหมูบ้านของชาวนาไนใน Khabarovsk Krai หนังสือภาษานาไน ส่วนมากเป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณคดี หนังสือเรียนภาษานาไน จัดตามรูปแบบหนังสือเรียนภาษารัสเซีย

ในประเทศจีน มีผู้พูดภาษานาไนอย่างน้อย 2 สำเนียง จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2545 พบว่าผู้พูดภาษานาไนอายุน้อยสุด 55 ปี มากสุด 72 ปี ชาวนาไนใช้ภาษาจีนเป็นภาษาเขียน ผู้พูดภาษานี้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ และการใช้ภาษาจำกัดเฉพาะสมาชิกในครอบครัว

ระบบการเขียน[แก้]

หนังสือภาษานาไนเล่มแรกเขียนด้วยอักษรซีริลลิกตีพิมพ์โดยมิชชันนารีนิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์ มีการพัฒนาระบบการเขียนภาษานาไนขึ้นใหม่โดยนักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซียในช่วง พ.ศ. 2463 – 2473

А а Б б В в Г г Д д Е е Ё ё Ж ж
З з И и Й й К к Л л М м Н н О о
П п Р р С с Т т У у Ф ф Х х Ц ц
Ч ч Ш ш Щ щ Ъ ъ Ы ы Ь ь Э э Ю ю
Я я

ตัวอย่างข้อความจากไบเบิลภาษานาไนตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2545 [1]

Lord's Prayer (Luke 11:2-4)
ภาษานาไน (อักษรซีริลลิก) ปริวรรต ภาษาอังกฤษ
² Нёани дахамдичии уӈкини: «Кэсивэ гэлэйдуэри туй ундусу: „Боаду, уйлэ би, Эндур Ама! Гэбукуди гэрбуси бигини. Си боа яловани далачайси эрин исигини! Наду-да, боаду-да Си чихалайси бигини! ² Nǒani dahamdičii uŋkini: "Kesive geleĭdueri tuĭ undusu: 'Boadu, uĭle bi, Endur Ama! Gebukudi gerbusi bigini. Si boa ǎlovani dalačaĭsi erin isigini! Nadu-da, boadu-da Si čihalaĭsi bigini! ² He said to them, "When you pray, say: 'Father, hallowed be your name, your kingdom come, your will be done, on earth as it is in heaven.
³ Ини таондоани сиагопова эпэмбэ бунду буру. ³ Ini taondoani siagopova epembe bundu buru. ³ Give us each day our daily bread.
Буэ оркимпова гудиэсигуру, буэ-дэ оркиӈку, наӈдаку гурумбэ гудиэсиэпу, буэ мурумпувэ-дэ эди памаванда, хай-да дялимбани, оркимбани эди дял дяпаванда“». ⁴ Bue orkimpova gudiesiguru, bue-de orkiŋku, naŋdaku gurumbe gudiesiepu, bue murumpuve-de edi pamavanda, haĭ-da dǎlimbani, orkimbani edi dǎl dǎpavanda.'" ⁴ Forgive us our sins, for we also forgive everyone who sins against us. And lead us not into temptation"

อ้างอิง[แก้]

  1. "Gospel of Luke in Nanai Language, 2002". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-29.

อ้างอิง[แก้]

  • (จีน) An, Jun (1986). 赫哲语简志 (An Outline of the Hezhe Language). Nationalities Publishing House.
  • Lewis, M. Paul (ed.) (2009). Ethnologue: Languages of the World, 16th edition. Dallas, Texas: SIL International. สืบค้นเมื่อ 2009-07-22. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • (จีน) He, Xuejuan (January 2004). "街津口村赫哲语使用情况的调查 (Investigation on Hezhen language use in Jiejinkou Village)". 满语研究. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Li, Fangchao (2005-06-06). "Textbook preserves Hezhe language". China Daily. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19.
  • (รัสเซีย) Sem, L.I. (1976). Очерки диалектов нанайского языка: бикинский (уссурийский) диалект.
  • (รัสเซีย) Stolyarov, A.V. (1994). Нанайский язык // Красная книга языков народов России: Энциклопедический словарь-справочник.
  • Nikolaeva, Irina (2001). A Grammar of Udihe. Walter de Gruyter. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • (รัสเซีย) "Информация по населенным пунктам, районам проживания и хозяйственной деятельности коренных малочисленных народов Севера и Дальнего Востока РФ". Russia: Ministry of Economic Development and Trade. 2002-01-01. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  • (รัสเซีย) "Население по национальности и владению русским языком по субъектам Российской Федерации". Федеральная служба государственной статистики. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Excel)เมื่อ 2006-11-04. สืบค้นเมื่อ 2006-12-01.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

งานทั่วไป[แก้]

  • (รัสเซีย) Avrorin, Valentin Aleksandrovich (1959). Грамматика нанайского языка, т.1. М. Soviet Academy of Sciences.
  • (รัสเซีย) Avrorin, Valentin Aleksandrovich (1961). Грамматика нанайского языка, т.2. М. Soviet Academy of Sciences.
  • (รัสเซีย) Putintseva, A.P. (1954). Морфология говора горинских нанай.
  • (รัสเซีย) Putintseva, A.P. (1969). О производственной лексике горинских нанай // Ученые записки ЛГПИ.
  • (รัสเซีย) Stolyarov, A.V. (1997). Нанайский язык: социолингвистическая ситуация и перспектива сохранения // Малочисленные народы Севера, Сибири и Дальнего Востока. Проблемы сохранения и развития. St. Petersburg.
  • (รัสเซีย) Sunik, O.P. (1958). Кур-урмийский диалект.
  • (เยอรมัน) Doerfer, Gerhard (1973). "Das Kur-Urmische und seine Verwandten". Zentralasiatische Studien. Wiesbaden: Otto Harrassowitz (7): 567–599.
  • (เยอรมัน) Doerfer, Gerhard (1975). "Ist Kur-Urmisch ein nanaischer Dialekt?". Ural-Altaische Jahrbücher (47): 51–63.
  • (ญี่ปุ่น) Kazama, Shinjiro (March 1994). "ナーナイ語の「一致」について (On 'agreement' in Nanay)". 北大言語学研究報告. Sapporo: Faculty of Letters, Hokkaido University (5).
  • (จีน) Zhang, Yang-chang (1989). 赫哲语 (The Hezhen Language). Changchun: Jilin University Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Nanai alphabet on Omniglot

หนังสือภาษานาไน[แก้]

  • (รัสเซีย) Avrorin, Valentin Aleksandrovich (1986). Материалы по нанайскому языку и фольклору.
  • (รัสเซีย) Нанайский фольклор: Нингман, сиохор, тэлунгу. Новосибирск. 1996.
  • (รัสเซีย) Samar, E. (1992). Манга покто/Трудные тропы. Khabarovsk.
  • (รัสเซีย) Samar, E. (2000). Кондонкан даламдини/Кондонский староста. Khabarovsk.
  • (รัสเซีย) Passar, A. (2002). Ми урэхэмби нингмансал/Сказки моего детства (Fairy Tales of my Childhood). Khabarovsk.
  • (รัสเซีย) Khodzher, A. (2000). Михорангоари/Поклонение природе. Khabarovsk.
  • (รัสเซีย) Marshak, S.Y. (1990). Двенадцать месяцев/Дёан дюэр биа. Khaborovsk. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • (รัสเซีย) Bel'dy, G. (1980). На найни: Стихи. Khabarovsk.
  • (ญี่ปุ่น) Kazama, Shinjiro (1993). "ナーナイ語テキスト (Nanay Texts)". Publications on Tungus Languages and Cultures. Otaru, Japan: Center for Language Studies, Otaru University of Commerce (4).
  • (ญี่ปุ่น) Kazama, Shinjiro (1996). "ナーナイの民話と伝説2 (Nanay Folk Tales and Legends 2)". Publications on Tungus Languages and Cultures. Tottori, Japan: Faculty of Education, Tottori University (8).
  • (ญี่ปุ่น) Kazama, Shinjiro (1997). "ナーナイの民話と伝説3 (Nanay Folk Tales and Legends 3)". Publications on Tungus Languages and Cultures. Tokyo, Japan: Tokyo University of Foreign Studies (10).
  • (ญี่ปุ่น) Kazama, Shinjiro (1998). "ナーナイの民話と伝説4 (Nanay Folk Tales and Legends 4)". Publications on Tungus Languages and Cultures. China, Japan: Chiba University (12).

พจนานุกรม[แก้]

  • (รัสเซีย) Onenko, S.N. (1959). Русско-нанайский словарь (свыше 8 000 слов).
  • (รัสเซีย) Petrova, T.I. (1960). Нанайско-русский словарь (около 8 000 слов).
  • (รัสเซีย) Onenko, S.N. (1982). Нанайско-русский и русско-нанайский словарь: пособие для учащихся средней школы (более 3 600 слов).
  • (รัสเซีย) Onenko, S.N. (1989). Словарь нанайско-русский и русско-нанайский: пособие для учащихся средней школы (около 4 000 слов).
  • (รัสเซีย) Onenko, S.N. (1986). Лоца-Наанай Хэсэhкуни/Русско-нанайский словарь (около 5 000 слов).
  • (รัสเซีย) Onenko, S.N. (1980). Нанай-Лоча Хэсэhкуни/Нанайско-русский словарь (12 800 слов).
  • (รัสเซีย) Kile, A.S. (1999). Нанайско-русский тематический словарь (духовная культура). Khabarovsk.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]