ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษากลุ่มทมิฬ-กันนาดา)

กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดา เป็นสมมติฐานของการจัดกลุ่มภายในกลุ่มภาษาดราวิเดียนใต้ซึ่งรวมภาษาทมิฬและภาษากันนาดา (การจัดกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาดราวิเดียนแตกต่างกันเล็กน้อยตามความเห็นของนักภาษาศาสตร์แต่ละคน)กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดาเป็นสาขาของกลุ่มภาษาทมิฬ-ตูลู จากนั้นแบ่งย่อยเป็นกลุ่มภาษาทมิฬ-โกทคุ และกลุ่มภาษากันนาดา-พทคะ ซึ่งประกอบด้วยภาษาทมิฬ ภาษามลยาฬัม ภาษาอีรูลา ภาษาโตทะ ภาษาโกทคุ ภาษาพทคะ และภาษากันนาดา

การแยกตัวของกลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดาเกิดขึ้นหลังการแยกภาษาตูลูออกไปและก่อนการแยกตัวของภาษาโกทคุออกจากภาษาดาริเดียนใต้ดั้งเดิมเมื่อราว 1,457 - 957 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันภาษาทมิฬและภาษากันนาดาเป็นภาษาราชการในอินเดีย มีผู้พูดอยู่ในอินเดียใต้

ลักษณะทางสัทวิทยา

[แก้]

ภาษาทมิฬมีเสียงม้วนลิ้นด้านข้างและเสียงม้วนลิ้นเสียดแทรก แต่ภาษากันนาดามีเฉพาะเสียงม้วนลิ้นด้านข้างเท่านั้น เสียงทั้งสองแบบเคยมีในภาษากันนาดามาก่อนแล้วหายไปภายหลัง ในภาษากันนาดา เสียงไม่ก้อง เกิดจากริมฝีปาก (pหรือ /ป/)ที่จุดเริ่มต้นของหลายคำเปลี่ยนไปกลายเป็นเสียง h (/ฮ/) หรือหายไปเลย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภาษากันนาดาที่ไม่พบในภาษาตระกูลดราวิเดียนอื่นๆ และไม่พบในภาษาทมิฬ

อักษร

[แก้]

มีทฤษฎีที่ต่างกันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของอักษรกันนาดาและอักษรเตลูกู บางคนมองว่าอักษรเตลูกูมาจากอักษรกันนาดา แต่บางคนมองในทิศทางตรงกันข้าม

อ้างอิง

[แก้]
  • Krishnamurti, B., The Dravidian Languages, Cambridge University Press, 2003. ISBN 0-521-77111-0
  • Subrahmanyam, P.S., Dravidian Comparative Phonology, Annamalai University, 1983.
  • Zvelebil, Kamil., Dravidian Linguistics: An Introduction", PILC (Pondicherry Institute of Linguistics and Culture), 1990