ภาวะขยายความรู้สึกจากกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะขยายความรู้สึกจากกาย (อังกฤษ: Somatosensory amplification, ตัวย่อ SA) เป็นแนวโน้มที่จะรับรู้ความรู้สึกปกติจากกาย (somatic) และจากอวัยวะภายใน (visceral) ว่ารุนแรง ก่อกวน หรือมีอันตราย เป็นอาการสามัญในโรคคิดว่าตนป่วย (hypochondriasis ICD-10 F45.2), เป็นอาการที่พบบ่อย ๆ ในโรคไฟโบรไมอัลเจีย โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลบางประเภท กลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ และ alexithymia[1][2][3][4][5] วิธีสามัญในการวัดภาวะนี้ทางคลินิกเรียกว่า Somatosensory Amplification Scale (แปลว่า ระดับการขยายความรู้สึกทางกาย, ตัวย่อ SSAS)

ยังไม่ชัดเจนว่า บุคคลที่มีภาวะนี้มีความไวต่อความรู้สึกทางกายภาพจริง ๆ งานวิจัยงานหนึ่งพบผลตรงกันข้ามคือพบระดับ SA ที่ต่ำกว่า ของคนไข้คิดว่าตนป่วยผู้แจ้งว่ามีการสำนึกรู้ถึงการเต้นของหัวใจของตนอยู่ตลอดเวลา[4] งานวิจัยขั้นเบื้องต้นโดยใช้วิธี encephalography[disambiguation needed ] ดูเหมือนจะชี้ว่า SA เกิดขึ้นจากระบบการแปลผลที่ใช้เวลานาน (คือไม่ใช่เป็นการแปลผลระดับต้น ๆ) มากกว่าที่จะเป็นความแตกต่างกันทางกายภาพที่มีผลต่อความไวความรู้สึก[6]

ยังไม่รู้ว่า SA เป็นเหตุของโรคที่กล่าวถึง หรือเกิดขึ้นเพราะโรคเหล่านั้น รู้เพียงแต่ว่า เป็น comorbidity[7] งานวิจัยขนาดเล็กชิ้นหนึ่งพบว่า ในคนไข้ภาวะซึมเศร้า SA อาจเป็นส่วนของอาการซึมเศร้านั้น (คือ การบำบัดภาวะซึมเศร้าลดระดับ SA)[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ซูเปอร์เทสเตอร์ (ผู้ที่มีความสามารถรับรู้รสดีกว่าคนอื่น)
  • Tetrachromacy (ภาวะที่ทำให้สามารถแยกแยะสีได้เพิ่มขึ้น)

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. alexithymia เป็น personality construct มีอาการไม่สามารถเห็นได้ (subclinical) ที่คนไข้ไม่สามารถระบุหรือพรรณนาถึงอารมณ์ความรู้สึกในตน
  2. 2.0 2.1 Sayar, Kemal; Barsky, Arthur J.; Gulec, Huseyin (2005). "Does Somatosensory Amplification Decrease with Antidepressant Treatment?". Psychosomatics. 46 (4): 340–4. doi:10.1176/appi.psy.46.4.340. PMID 16000677.
  3. Nakao, Mutsuhiro; Barsky, Arthur J.; Kumano, Hiroaki; Kuboki, Tomifusa (2002). "Relationship Between Somatosensory Amplification and Alexithymia in a Japanese Psychosomatic Clinic". Psychosomatics. 43 (1): 55–60. doi:10.1176/appi.psy.43.1.55. PMID 11927759. INIST:13566951.
  4. 4.0 4.1 Mailloux, Jennifer; Brener, Jasper (2002). "Somatosensory amplification and its relationship to heartbeat detection ability". Psychosomatic Medicine. 64 (2): 353–7. PMID 11914453.
  5. Muramatsu, Kumiko; Miyaoka, Hitoshi; Muramatsu, Yoshiyuki; Fuse, Katsuya; Yoshimine, Fumitoshi; Kamijima, Kunitoshi; Gejyo, Fumitake; Sakurai, Koji (2002). "The amplification of somatic symptoms in upper respiratory tract infections". General Hospital Psychiatry. 24 (3): 172–5. doi:10.1016/S0163-8343(02)00177-9. PMID 12062142.
  6. Nakao, Mutsuhiro; Barsky, Arthur J.; Nishikitani, Mariko; Yano, Eiji; Murata, Katsuyuki (2007). "Somatosensory amplification and its relationship to somatosensory, auditory, and visual evoked and event-related potentials (P300)". Neuroscience Letters. 415 (2): 185–9. doi:10.1016/j.neulet.2007.01.021. PMID 17267120.
  7. ในการแพทย์ comorbidity หมายถึงความมีอยู่ของความผิดปกติหรือโรคอื่น (หนึ่งหรือมากกว่านั้น) ที่เพิ่มขึ้นจากความผิดปกติหรือโรคหลัก หรือหมายถึงผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติหรือโรคอื่นเหล่านั้น