ฟีโอนา แกรแฮม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟีโอนา แกรแฮม
เกรแฮมในชื่อ ซายูกิ เล่นฟลุตญี่ปุ่นชื่อ โยโกบูเอะ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013
เกิดฟีโอนา แคโรไลน์ เกรแฮม
เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
สัญชาติออสเตรเลีย
ชื่ออื่นซายูกิ
การศึกษา
อาชีพนักมานุษยวิทยา, เกอิชา
เว็บไซต์www.sayuki.net

ฟีโอนา แคโรไลน์ เกรแฮม (อังกฤษ: Fiona Caroline Graham) เป็นนักมานุษยวิทยาชาวออสเตรเลียที่ทำงานเป็นเกอิชาในประเทศญี่ปุ่น[1][2] เธอเริ่มอาชีพเป็นเกอิชาใน ค.ศ. 2007 ในย่านอาซากูซะ โตเกียว ภายใต้ชื่อ ซายูกิ (ญี่ปุ่น: 紗幸โรมาจิSayuki) และ ณ ค.ศ. 2021 เธอทำงานในย่านฟูกางาวะ โตเกียว[3][4][5]

เธอเป็นเกอิชาชาวตะวันตกคนแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซายูกิได้รับการฝึกฝนศิลปะหลากหลายแขนง ได้แก่ การเล่นดนตรี, การขับร้อง, การเต้นรำ, การชงชารวมทั้งเรื่องบทกวีและวรรณคดี และสิ่งที่ซายูกิชำนาญมากที่สุดก็คือขลุ่ยญี่ปุ่นที่ชื่อว่า “โยะโกะบุเอะ” (Yokobue) ซายูกิจบการศึกษาปริญญาตรีสาขามานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ซายูกิยังเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเคโอหนึ่งในมหาลัยที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นแล้วยังเคยทำงานในบริษัทญี่ปุ่น เช่น โตเกียวไนท์เวิร์ลด์ (Tokyo’s night world) และนักกีฬาญี่ปุ่น รวมทั้งแอนิเมชัน หนังสือของซายูกิ “Inside the flower and willow world” โดยสำนักพิมพ์แพนแมคมิลแลนในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับโลกของเกอิชา

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

เกรแฮมเกิดที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย[6] และเดินทางไปญี่ปุ่นในโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนตอนอายุ 15 ปี[7] ซึ่งเธอเข้าเรียนชั้นมัธยมและอาศัยร่วมกับครอบครัวเจ้าของบ้าน[8]

หนังสือ[แก้]

  • Inside the Japanese Company. London: Routledge, 2003. doi:10.4324/9780203433638. Hardback ISBN 0-415-30670-1, Adobe eReader ISBN 0-203-34098-1, ebook ISBN 0-203-43363-7.
  • A Japanese Company in Crisis: Ideology, Strategy and Narrative. RoutledgeCurzon Contemporary Japan series, 1. London: RoutledgeCurzon, 2005. ISBN 0-415-34685-1.
  • Playing at Politics: An Ethnography of the Oxford Union. Edinburgh: Dunedin Academic Press, 2005. ISBN 9781281232168, ISBN 9781906716851, paperback ISBN 978-1-903765-52-4.

อ้างอิง[แก้]

  1. Ng, Adelaine (1 August 2011). "A glimpse into the secret world of geisha". สืบค้นเมื่อ 13 May 2013.
  2. "The Sayuki Geisha Banquet service Starts!!". Niseko Japan. Japan: Niseko Promotion Board Co., Ltd. 7 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2013. สืบค้นเมื่อ 13 May 2013.
  3. Bissoux, Bunny (14 October 2017). "A Day in the Life of a Geisha". Tokyo Weekender. สืบค้นเมื่อ 14 May 2020.
  4. Brooks, Harrison (25 October 2018). "Keeping a tradition alive, from the outside in". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
  5. Swan, Scott (January 22, 2021). "Get up close to the geishas of Japan and discover the history of this mysterious practice". WTHR. สืบค้นเมื่อ March 8, 2021.
  6. "Fiona Caroline Graham". Library of Congress. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-03-16. ... studied at Keio Univ., worked in the Japanese life insurance industry; later, Master's degree, management studies and Doctorate in social anthropology, U. of Oxford; her exper. and production of a film documentary for NHK form the basis for the fieldwork in the book ... data sh.
  7. Ryall, Julian (9 January 2008). "Westerner inducted into mysteries of geisha". The Telegraph. Telegraph Media Group Limited. สืบค้นเมื่อ 6 June 2011.
  8. Grunebaum, Dan (June 2016). "Sayuki: Being a gaijin geisha isn't easy but it can be fun". Metropolis Magazine.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]