ฟลามิงโก (คาลเดอร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟลามิงโก
ศิลปินอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์
ปีค.ศ. 1974
ประเภทประติมากรรม
สถานที่ชิคาโก, อิลลินอยส์

ฟลามิงโก (อังกฤษ: Flamingo) เป็นประติมากรรมที่สร้างโดยอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ประติมากรคนสำคัญชาวอเมริกันที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสเฟดเดอรัลในเมืองชิคาโกในรัฐอิลลินอยในสหรัฐอเมริกา[1]

ประติมากรรม “ฟลามิงโก” สร้างโดยอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์มีความสูง 16 เมตร[2] เป็นงานที่จ้างโดยกรมการบริหารทั่วไปแห่งสหรัฐอเมริกา (General Services Administration) และได้รับการเปิดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1974 แม้ว่าคาลเดอร์จะลงชื่อว่าสร้างในปี ค.ศ. 1973[3]

ลักษณะ[แก้]

“ฟลามิงโก” หนัก 50 ตัน สร้างด้วยเหล็กกล้าทาสีแดงชาด คาลเดอร์ใช้สีบนประติมากรรมศักยดุลที่มารู้จักกันว่าเป็น “แดงคาลเดอร์”[4] เพื่อให้เด่นจากสิ่งก่อสร้างที่เป็นสำนักงานที่มีสีทมึนรอบข้างรวมทั้งตึกสำนักงานรัฐบาลกลางคลูซินสกีที่ออกแบบโดยลุดวิก มีส แวน เดอร์ โรห์[5][6] ประติมากรรมศักยดุลเป็นประเภทของประติมากรรมที่มีโครงสร้างที่ตั้งอยู่เฉพาะที่ไม่เคลื่อนไหวที่ตรงกันข้ามกับประติมากรรมจลดุลที่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยคลื่นอากาศ

การจ้างงานและการเปิดแสดง[แก้]

คาลเดอร์ได้รับการจ้างให้ออกแบบงานประติมากรรมเพราะความที่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก ช่องว่างที่ล้อมรอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ที่มีลักษณะที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมทำให้คาลเดอร์ออกแบบงานที่มีลักษณะเป็นโค้งขนาดใหญ่ที่ราวกับกับมีพลัง (dynamic)[7] “ฟลามิงโก” เป็นงานชิ้นแรกที่สนับสนุนโดยเงินทุนจากกรมการบริหารทั่วไปแห่งสหรัฐอเมริกาภายใต้โครงการ “เปอร์เซ็นต์เพื่อศิลปะ” (Percent for Art) ซึ่งเป็นจัดเปอร์เซ็นต์จากงบประมาณแผ่นดินสำหรับเป็นทุนในการสร้างศิลปะเพื่อสาธารณชน[8][9] คาลเดอร์เปิดงาน “ฟลามิงโก” เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1973 ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ประติมากรรมได้รับการมอบให้แก่สาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1974 ในเวลาเดียวกันกับที่คาลเดอร์เปิดงานประติมากรรมจลดุล “Universe” ที่หอวิลลิส ซึ่งเป็นวันที่ได้รับการประกาศว่าเป็น “วันอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์”[8]

ความสัมพันธ์ของรูปทรง[แก้]

แม้ว่าประติมากรรมชิ้นนี้จะมีขนาดใหญ่แต่การออกแบบของคาลเดอร์สามารถทำให้ผู้ชมสามารถเดินลอดเข้าออกภายใต้งานได้ ซึ่งทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเป็นสัดส่วนที่อยู่ในระดับขนาดของมนุษย์[4] รูปทรงของ “ฟลามิงโก” เป็นนัยยะถึงรูปทรงธรรมชาติของสัตว์ที่ตรงกันข้ามกับการตีความหมายของประติมากรรมของช่วงหลายสิบปีก่อนหน้านั้น[10]

โครงสร้างของงานสถาปัตยกรรมของคาลเดอร์เป็นตัวอย่างอันเด่นของขบวนการศิลปะเค้าโครง (Constructivism) ที่เริ่มขึ้นในรัสเซียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศิลปะเค้าโครงหมายถึงประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากการนำชิ้นส่วนที่เล็กกว่ามาประกอบเข้าด้วยกันเป็นงานชิ้นใหญ่[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Art Inventories Catalogue". Smithsonian Institution. 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
  2. "Chicago Public Library". สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  3. "about.com Chicago". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-16. สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  4. 4.0 4.1 City of Chicago Department of Public Affairs. "The Chicago Public Art Guide" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  5. Higdon, Hal. "Starting with Picasso: Chicago's Finest Art Isn't All in the Art Institute". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-31. สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  6. May, Stephen. "Alexander Calder at the National Gallery of Art". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  7. Marter, Joan (July 1979). "Alexander Calder's Stabiles: Monumental Public Sculpture in America". American Art Journal. 11 (3): 75–85. doi:10.2307/1594168.
  8. 8.0 8.1 "Calder Foundation: Calder's Life". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-16. สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  9. Wetenhall, John (Fall/Winter 1993). "A Brief History of Percent-for-Art in America" (PDF). Public Art Review (9). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 2010-01-12. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. Marter, Joan (July–August 1998). "The Legacy of Alexander Calder". Sculpture. Vol. 17 no. 6.{{cite news}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  11. Hubbard, Guy (January 2002). "Constructivism". Arts & Activities. Vol. 130 no. 6. p. 37.

ดูเพิ่ม[แก้]