ข้ามไปเนื้อหา

พู่จอมพล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พู่จอมพล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ถั่ว
Fabales
วงศ์: ถั่ว
Fabaceae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยราชพฤกษ์
Caesalpinioideae
เคลด: Mimosoid clade
Mimosoid clade
สกุล: Calliandra
Calliandra
Hassk.
สปีชีส์: Calliandra haematocephala
ชื่อทวินาม
Calliandra haematocephala
Hassk.
ชื่อพ้อง[1]
  • Anneslia haematocephala (Hassk.) Britton & P.Wilson
  • Calliandra inaequilatera Rusby
  • Calliandra novaesii Hoehne
  • Feuilleea haematocephala Kuntze

พู่จอมพล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calliandra haematocephala) เป็นพืชในวงศ์ย่อยสีเสียด มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของทวีปอเมริกา[2] ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง 1–5 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างเป็นวงสีเทาขาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้นปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยมี 5–10 คู่ รูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มักบานพร้อมกันทั้งช่อ มีขนาด 4–7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปถ้วย กลีบดอกสีขาว แดงหรือชมพู โคนก้านสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นเส้นเล็กยาวสีขาวหรือสีชมพู ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก รังไข่มีก้านสั้น ๆ ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ เกสรตัวผู้ ออกดอกตลอดปี ผลเป็นฝักแบนแห้ง ยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล 4–8 เมล็ด[3][4]

พู่จอมพลนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยปลูกในดินร่วนปนทราย ต้องการแสงแดดทั้งวันและน้ำปานกลาง ขยายพันธฺุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง[5] มีการศึกษาพบว่าใบพู่จอมพลมีฤทธิ์สมานแผลและต้านอนุมูลอิสระ[6] และดอกพู่จอมพลมีฤทธิ์ต้านหนอนพยาธิ[7]

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Plant List: A Working List of All Plant Species, สืบค้นเมื่อ 19 June 2016
  2. de Souza ER, de Queiroz LP, Lewis GP, Forest F, Schnadelbach AS, van den Berg C (2013). "Phylogeny of Calliandra (Leguminosae: Mimosoideae) based on nuclear and plastid molecular markers". Taxon. 62 (6): 1200–1219. doi:10.12705/626.2.
  3. "พู่จอมพล". บ้านและสวน. January 12, 2016. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.
  4. "พู่จอมพล (Calliandra haematocephala Hassk.)". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. February 28, 2017. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.
  5. "อาทิตย์ละต้น : พู่จอมพล". ข่าวสด. February 15, 2018. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.
  6. Gupta, Ramchandra; Garg, Ashish; Sharma, Prabhakar; Pandey, Prakash (April 10, 2016). "Wound healing and antioxidant effect of Calliandra haematocephala leaves on incision and excision wound models". Asian Journal of Pharmacy and Pharmacology. 2 (2): 34–39. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.
  7. Tiwari, Jharna; Shukla, Ajay (March 30, 2016). "Investigations on flowers extract for anthelmintic Calliandra haematocephala in-vitro activity" (PDF). Advance Pharmaceutical Journal. 1 (1): 17–20. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Calliandra haematocephala