พูดคุย:ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

ต้องมีคำว่าควบคุมตามหลังด้วยนะครับ

อ้างอิงจาก สภาวิศวกร ครับ

Ronnaruchit 07:37, 25 กันยายน 2006 (UTC)

1. ) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505

การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 เป็นแนวทางการควบคุมบังคับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งหมายความถึงวิชาชีพการช่างในสาขา วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเหมืองแร่ โดยคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ทำหน้าที่ดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ คุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติ โดยต้องมีคุณวุฒิจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาที่ขอรับใบอนุญาต จากสถาบันที่ ก.ว. รับรองหลักสูตร ใบอนุญาต ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของแต่ละสาขา แบ่งประเภทดังนี้ • ใบอนุญาตฯ ประเภทภาคีวิศวกร (Associate Engineer) • ใบอนุญาตฯ ประเภทสามัญวิศวกร (Professional Engineer) • ใบอนุญาตฯ ประเภทวุฒิวิศวกร (Senior Professional Engineer) • ใบอนุญาตฯพิเศษ สภาวิศวกร

2. ) พระราชบัญญัติ วิศวกร 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 120 ก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 สภาวิศวกร ทำหน้าที่ทุกรายการแทน ก.ว. สมาชิกสภาวิศวกร สมาชิกสภาประกอบด้วยประเภทของสมาชิกดังนี้ • สมาชิกสามัญ มีสิทธิในการกำหนดทิศทางและอนาคตของสภาฯ โดยสามารถสมัครเป็นกรรมการสภาฯ มีสิทธิ์เลือกตั้ง รับเลือกตั้งหรือ แต่งตั้งเป็นกรรมการสภาฯ • สมาชิกวิสามัญ ไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาฯ ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม • วุฒิวิศวกร ( Charter Engineer ) • สามัญวิศวกร ( Fellow Engineer ) • ภาคีวิศวกร ( Associate Engineer ) • ภาคีวิศวกรพิเศษ ( Corporate Engineer ) แต่ละระดับมีขอบเขตการทำงานแตกต่างกัน

Ronnaruchit 07:42, 25 กันยายน 2006 (UTC)