พูดคุย:เพชฌฆาตไซบอร์ก

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพชฌฆาตไซบอร์ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการ์ตูนญี่ปุ่นและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการ์ตูนญี่ปุ่น ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เพชฌฆาตไซบอร์ก หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เขียนผิดแบบไม่น่าให้อภัย -_- Markpeak 19:12, 29 เม.ย. 2005 (UTC)

ผมได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับเพชรฆาตไซบอร์กไว้ที่ http://apower.bloggang.com ซึ่งมีเนื้อหาเหมือนกับบทวิจารณ์น่ะครับ ไม่แน่ใจว่าควรจะเอาลงในวิกิหรือเปล่า ถ้าอย่างไรก็ขอความเห็นด้วยครับ - apower

หลังจากปล่อยทิ้งเอาไว้นานแสนนานเหลือเกิน ในที่สุดผมก็ได้กลับบ้านและอ่านทวนการ์ตูนเรื่องเพชฌฆาตไซบอร์กภาคแรก รวมถึงได้เช่าภาค LastOrder มาอ่าน เอาล่ะครับ ใครไม่เคยสนใจอ่านการ์ตูนลองอ่านบทความแนะนำนี้ดูนะครับ

เพชฌฆาตไซบอร์กเป็นการ์ตูนแนวไซไฟที่เขียนโดย ยูคิโตะ คิชิโระ เรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นโลกในอนาคตที่ไม่สามารถระบุเวลาได้ เนื่องจากอารยธรรมเก่า ๆ (ซึ่งตัวยูคิโตะ หมายถึงโลกยุคปัจจุบัน) ได้ล่มสลายหายไปแล้ว ในภาคแรกของเพชฌฆาตไซบอร์กนั้น การดำเนินเรื่องจะมีฉากหลังเป็นเมืองเศษเหล็กและเมืองซาเล็ม (๑) เป็นส่วนใหญ่ และ ณ กองขยะใต้นครลอยฟ้าซาเล็มนั้น “กัลลี่ (Gally)” ตัวเองของเรื่องก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

กัลลี่ เป็นไซบอร์กสาวที่ถูกเก็บมาจากกองขยะในสภาพที่ดูเหมือนตาย “อิโดะ ไดสุเกะ (Ido)” ชาวซาเล็มที่ถูกขับออกจากเมืองซาเล็ม (๒) และมาอาศัยอยู่ในเมืองเศษเหล็กได้ชุบชีวิตเธอขึ้นมา เธอสูญเสียความทรงจำในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด มีอย่างเดียวที่จำติดในสัญชาตญาณก็คือ วิชาการต่อสู้ที่เรียกว่า “พานเซอร์ คุนซ์” อันเป็นวิชาของดาวอังคารที่ได้หายสาบสูญไปแล้ว และนั่นเป็นสาเหตุให้เธอเลือกที่จะเป็น “ฮันเตอร์ วอริเออร์” (หมายถึงนักล่าฆ่าหัว ทำหน้าที่ตามล่าผู้กระทำผิดต่อ FACTORY (๓) และซาเล็ม)

อดีตที่หายไป ความสามารถทางการต่อสู้ชั้นสูง ร่างกายเหล็กไหลที่ไม่เจ็บไม่ตาย ทำให้ เพชฌฆาตไซบอร์ก เป็นหนังสือแนวไซไฟที่น่าติดตามมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่ง การตามหาอดีตของกัลลี่ การเผชิญหน้าและแก้ปัญหาฝันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ แม้ว่าจะมีเรื่องที่ต้องเจ็บปวดหลาย ๆ เรื่อง กายที่แข็งแกร่งแม้จะทำให้เธอสามารถต่อสู้กับศัตรูที่คุกคามได้แต่จิตใจของเธอเองก็มีส่วนสำคัญที่สุดในการดึงเอาความสามารถของเธอออกมา ส่วนดีของหนังสือเล่มนี้คือ ทำให้เราเห็นว่าความมุ่งมั่นในการมีชีวิตนั้นสำคัญกว่าความแข็งแกร่งของร่างกาย

ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ในภาษาญี่ปุ่น คือ กันมุ (ญี่ปุ่น: GUNNM (銃夢, กัมมุ) ; อังกฤษ: Battle Angel Alita) ซึ่งเกิดจากการรวมคำสองคำคือ GUN" (กัน - "ปืน" ในภาษาอังกฤษ) บวกกับ "夢" (มุ - ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "ความฝัน") ตัวผู้เขียน “ยูคิโตะ คิชิโระ” ไม่ได้อธิบายอย่างชี้ชัดว่าชื่อนี้หมายถึงอะไร แต่ก็กล่าวถึงในปัจฉิมลิขิตของการเขียนภาคแรกเอาไว้ในลักษณะที่ว่า “เป็นการเปรียบเทียบถึงอำนาจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ (ร่างกายที่แข็งแรง เทคโนโลยีที่ทรงพลัง ระบบสังคมที่เข้มแข็ง) กับ จิต (ความมุ่งมั่นในชีวิต ความรัก โลภ โกรธ หลง ความมีจริยธรรม มโนธรรม วิจารณญาณ) ที่แสนจะปรวนแปรของมนุษย์เอง” ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำเอาทฤษฏีทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตศาสตร์ต่าง ๆ มาใส่ไว้ในหนังสือเล่มนี้ไว้เป็นจำนวนมาก

จุดเด่นอีกข้อหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ก็คือ การมีอรรถาธิบาย และมี Footnote ที่ใช้อธิบายทฤษฏีและแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในตัวเรื่องอย่างละเอียด ทฤษฏีต่าง ๆ เหล่านี้เป็นทฤษฏีที่มีอยู่จริง เช่น ในเล่มที่ ๙ “ดีสตีส โนวา” ได้พ่ายแพ้ในกรรมที่ตัวเองก่อ จึงได้กล่าวออกมาว่า “ชั้นเกลียดกฎข้อที่สองของศาสตร์ความร้อน” ซึ่งใน footnote ได้อธิบายว่า น้ำร้อนเมื่อตั้งทิ้งไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ จะต้องเย็นลง ไม่มีผลลัพธ์อื่น (ซึ่งก็อาจจะแปลได้ว่า ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วก็ต้องได้ชั่ว) หรือคำพูดของ มาคาคุ ในเล่มที่ ๒ หรือ ๓ (ไม่แน่ใจครับ จำไม่ได้) ที่ว่า “กายเป็นเครื่องเล่นของจิต” ก็เอามาจากทฤษฏีของเฟดเดอริก ดีชเช่ ปราชญ์เราจะที่เข้าใจงานของเขาได้ยากที่สุดชาวเยอรมัน มีแม้แต่เรื่องของนาโนเทคโนโลยี ที่ใช้เป็นตัว “รี สตอ เรอ” (restorer) เครื่องจักรขนาดจิ๋วขนาดเท่าเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ใช้ในการซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกายเพื่อสร้างความเป็นอมตะ เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้จึงรวบรวมเอาความรู้ทางด้านปรัชญา พฤติกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เอาไว้มากมาย จนแทบไม่น่าเชื่อว่า นี่คือ หนังสือการ์ตูน (ผมบอกไปยังว่านี่เป็นการ์ตูนน่ะ)

น่าเสียดายที่หนังสือเล่มนี้ต้องจบลงในเล่มที่ ๙ โดยที่ยังไม่ได้ไขปริศนาหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นอดีตของกัลลี่, สาเหตุที่ทำให้อารยธรรมของมนุษย์หายไป, สาเหตุที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์แบบซาเล็มผู้ใช้ทรัพยากร นครเศษเหล็กผู้รวบรวมและได้รับส่วนแบ่งเศษที่เหลือของทรัพยากร, หรือแม้แต่คำตอบเรื่องกรรมที่ ดีสตีส โนวา ทำการค้นคว้าวิจัยอยู่ สาเหตุที่ทำให้ เพชฌฆาตไซบอร์กต้องรวบรวดตัดตอนจบลงในเล่มที่ ๙ เป็นเพราะ ทางต้นสังกัดของ ยูคิโตะ คิชิโระ “โชเนน จัมป์” ได้กดดันให้จบเรื่องนี้ลงให้เร็วขึ้น

การ์ตูนเรื่องนี้ดังพอควรครับ จากฉบับแรงที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ในภาคภาษาญี่ปุ่น หลังจากนั้นก็ได้รับการแปลในภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน (ไต้หวัน ฮ่องกง) ภาษาสเปน เอาไปทำเป็นเกมส์และภาพยนตร์การ์ตูน และที่สำคัญคือ ยังถูก เจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับชาวฮอลีวู้ด (ผมชอบเรียกคนที่เป็นฮอลีวู้ดว่า “ชาวฮอลีวู้ด” ครับ) ซื้อโครงเรื่องไปทำเป็นหนังแล้วล่ะครับ มีกำหนดฉายปลายปี ๒๕๕๐ แต่ให้ตายซิ ยังไม่เห็นมีข่าวอะไรที่เกี่ยวกับการถ่ายทำหลุดออกมาเลยเนี่ย

ตอนนี้ผู้เขียน ยูคิโตะ คิชิโระ ได้เขียน เพชฌฆาตไซบอร์กภาคที่สองขึ้นแล้ว ให้ชื่อว่า ภาค Last Order เอาเป็นว่า หากอ่านบทความนี้แล้วสนใจก็จะเอามาเล่าให้อ่านอีกทีแล้วกันครับ แต่ความจริงคิดว่าถ้าชอบก็น่าจะหาอ่านดู เพราะหาไม่ยาก แม้ว่า หนังสือเรื่องนี้จะไม่ดังในหมู่นักอ่านการ์ตูนไทยมากนัก แต่ก็เป็นหนังสือการ์ตูนที่ผมชอบและติดตามมาก ๆ ครับผม

รักคนอ่าน

(๑) ความสัมพันธ์ระหว่างซาเล็มและเมืองเศษเหล็ก โดยเมืองซาเล็มนั้นอยู่ในฐานะผู้ควบคุมและใช้ทรัพยากรจากเมืองเศษเหล็ก ในขณะที่เมืองเศษเหล็กนั้นจะมีฐานะเป็นเมืองที่ต้องรวบรวมเอาทรัพยากรต่าง ๆ (รวมถึงร่างกายและอวัยวะของมนุษย์เพื่อสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในนครลอยฟ้าซาเล็ม) ให้กับซาเล็ม โดยมีแฟคตอรี่ (FACTORY) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นรัฐบาลผู้ปกครองนครเศษเหล็กเป็นผู้ควบคุมและส่งต่อทรัพยากรให้กับนครซาเล็ม อาจจะดูโหดไปนิด แต่ก็เป็นความจริงที่ว่า แฟคตอรี่ นั้น เป็นเพียงหน่วยงานเพื่อความอยู่รอดของซาเล็มเท่านั้น ในขณะที่ผู้คนที่อยู่ในซาเล็มนั้นจะไม่ได้รับการดูแลใด ๆ นอกเหนือไปจากการ "ดีบัก" คือ การขจัดต้นตอของปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการรวบรวมทรัพยากรไปยังซาเล็มเท่านั้น

(๒) พลเมืองของซาเล็ม อาณาจักรในอุดมคติ (Salem The Utopia) ซาเล็ม เป็นเมืองที่เป็นปริศนาของชาวพื้นโลก มีลักษณะเป็นสังคมปิดอย่างยิ่งยวด เป็นเพราะการดูแลพลเมืองของซาเล็มเป็นไปภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “เมอร์ซิคิเด็ก” เมื่ออายุ ๑๘ ปี พลเมืองของซาเล็มจะถูก “อินิชั่น” อันหมายถึงการเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีในสมองมาเก็บไว้ในรูปชิป แล้วจึงเอาก้อนสมองออกและในชิปนั้นแทน ทั้งนี้เพื่อสามารถควบคุมการเสื่อมลงของสมองและเพื่อสามารถควบคุมความคิดที่รุนแรงต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ดี แม้ว่าสมองในรูปชิปจะทำให้ระบบอารมณ์ของพลเมืองซาเล็มมีความเสถียรมาก แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความแปลกแยกในชิปบางชิ้น ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากผลกระทบจากการผสมดีเอ็นเอ เพื่อสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในนครซาเล็ม (นี่เป็นเหตุผลของการที่จะต้องเก็บตัวอย่างชิ้นส่วนของมนุษย์จากนครเบื้องล่างขึ้นมาสู่ซาเล็ม) เมื่ออัตตาความรู้สึกในตัวของพลเมืองคนใดมีสูงเกินกว่าจะควบคุมได้ จะถูกควบคุมโดยศูนย์การแพทย์เพื่อเข้าบำบัดและหากไม่สามารถบำบัดให้เข้ามาตรฐานของซาเล็มได้ จะถูกขับออกจากซาเล็มผ่านทางปล่องทิ้งขยะซึ่งอยู่ส่วนใต้ของซาเล็มนั่นเอง ความเป็นมนุษย์ของผู้คนที่อาศัยในซาเล็มถูกจัดวางไว้อย่างดีภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่การแพทย์ก็เจริญอย่างสูง ทำให้คุณภาพชีวิตของพลเมืองชาวซาเล็มนั้นสูงมาก ๆ นครซาเล็มมีแม้กระทั่งเครื่องฆ่าตัวตายซึ่งในคติของพลเมืองซาเล็มแล้ว นี่ถือนวัตกรรมแห่งชีวิตก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นนครลอยฟ้าและเป็นโดมกระจก พลเมืองจึงอาศัยภายใต้อากาศที่ดี การรวบรวมทรัพยากรทุกอย่างจากโลกภายล่าง ทำให้พลเมืองของซาเล็มปราศจากความอดอยาก อีกทั้งการควบคุมระบบอารมณ์ของพลเมืองซาเล็มก็ยิ่งทำให้ เมืองนี้ปราศจากอาชญากรรมโดยสิ้นเชิงอีกด้วย

๓ การปกครองโดย FACTORY ในเมืองเศษเหล็กและฟาร์ม เมืองเศษเหล็กมีความสำคัญในฐานะสถานที่แปรรูปผลผลิตที่ได้จากฟาร์มต่าง ๆ นอกเมืองเศษเหล็ก เป็นที่รวบรวมและจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อการคงอยู่อย่างผาสุกของนครลอยฟ้าซาเล็ม ซึ่งแฟคตอรี่ ก็คือผู้รับผิดชอบในการนี้ ในเรื่อง แฟคตอรี่คือศูนย์เครื่องจักรและโรงงานขนาดใหญ่ที่นอกจากจะทำหน้าที่ในการแปรรูปและจัดส่งทรัพยากรที่รวบรวมมาได้แล้ว ยังทำหน้าที่ขจัดภัยคุกคามแก่ซาเล็มและแฟคตอรี่ กฎหมายของแฟคตอรี่ให้ความดูแลเฉพาะทรัพย์สินและผู้ทำงานให้กับแฟคตอรี่เท่านั้น โดยมีฮันเตอร์วอริเออร์ ซึ่งหมายถึงผู้ต้องการทำอาชีพนักล่าฆ่าหัวที่ขึ้นทะเบียนกับแฟคตอรี่แล้ว ฮันเตอร์วอริเออร์ ก็คือไซบอร์กในเมืองเศษเหล็กนั่นเอง แม้ว่าจะมีฮันเตอร์วอริเออร์แล้วก็ตามแต่อาชฌากรรมในซาเล็มก็อยู่ในระดับสูง เพราะการไม่รวมตัวกันเป็นองค์กรของฮันเตอร์วอริเออร์และการที่แฟคตอรี่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของชาวซาเล็มนั่นเอง สำหรับสิ่งที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างแฟคตอรี่กับบุคคลภายนอกนั้นจะมีอยู่สองสิ่งด้วยกันคือ “เด็คแมน” และ “เน็ตแมน” เด็คแมน คือ มนุษย์ดันแปลงที่ใช้สมองบางส่วนของมนุษย์ในการประมวลผล โดยมีการตัดสมองส่วนที่ไม่จำเป็นออก ในขณะที่ เน็ตแมนนั้น เป็นหุ่นสมองกล ที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและใช้อาวุธปกป้องทรัพย์สินของซาเล็มและแฟคตอรี่ ทั้งเด็คแมนและเน็ตแมนใช้อวัยวะบางอย่างของมนุษย์ในการทำงาน เช่น นิ้ว และ มือ เป็นต้น และอยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสิ้นเชิง


เป็นบทวิจารณ์ที่ค่อนข้างละเอียดดีครับ มีหลายส่วนที่รู้สึกว่าดีแล้ว หลายเรื่องก็ได้รู้จากที่นี่ แต่บางจุดก็เหมือนกับเล่าเรื่องมากเกินไปครับ คิดว่าสามารถเรียบเรียงลำดับให้กระชับแล้วคิดว่าน่าจะดีขึ้น สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยอ่าน GUNNM ครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจนโยบายวิกิการ์ตูนเท่าไร แต่ GUNNM มีประเด็นให้คุยเยอะเลยครับวันหลังจะเข้ามาคุยต่อ<br\> เพิ่งทราบว่าจะสร้างเป็นหนังด้วย อยากรู้จังว่านางเอกจะเป็นอย่างไร<br\> shambhala 16:21, 17 มิถุนายน 2006 (UTC)

Utopia[แก้]

เยรูควรจะเป็นยูโทเปีย รัฐบาล (LADDER) พยายามทำให้เมืองเยรูปราศจากวัฏสงสาร ไม่มี การเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยใช้ ซาเล็มเป็นเมืองทดลองทางพันธุกรรม LADDER สามารถกำจัดการแก่ เจ็บ ตาย ได้แล้ว แต่เมื่อพยายามที่จะกำจัดการเกิด ก็ได้ถูกขัดกวางโดยคารูเรลรา แซงกวิส อย่างไรก็ตามนี้เป็นเรื่องในภาค ลาสท ออร์เดอร์ --Piyatad 16:04, 21 สิงหาคม 2007 (UTC)

โคตรชอบ กันมุ[แก้]

มันสนุกมากเลย

  • วาดสวย
  • มีเรื่ิองศาสนา
  • มีเรื่องตำนานต่างๆ เช่น อาร์เธอร์ แวมไพร์
  • มีเรื่องเกี่ยวกับศิลปป้องกันตัว
  • มีเรื่องฟิสิกส์ เรื่องดวงดาว ควอนตัม
  • มีเรื่องปรัชญา

และอื่นๆ --Piyatad 16:25, 21 สิงหาคม 2007 (UTC)