พูดคุย:หินอัคนี

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(ยกมาจากหน้าหนวดหมู่ธีรณีวิทยา) ใส่ไว้ตรงนี้ก่อน -- ธวัชชัย 20:06, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)

การจำแนกหินอัคนี

การจำแนกหินอัคนีมีหลายวิธี ซึ่งอาจจำแนกอย่างหยาบๆ ตามลักษณะการเกิดเป็น 2 กลุ่ม คือ หินอัคนีแทรกซอน (intrusive igneous rock หรือ plutonic rock) และหินอัคนีพุ (extrusive igneous r

การเกิดของหิน


หินอัคนีแทรกซอน คือ หินอัคนีที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืดใต้ผิวโลก แบ่งเป็น

- แบบร่วมแนวนั้นมีลักษณะต่างๆ ดั้งนี้

1. พนังแทรกชั้น ( sill ) เกิดจากหินหนืดดันตัวแทรกไปตามรอยแยกของชั้นหินเดิมในแนวราบ อาจหนาไม่กี่เซนติเมตร ไปจนถึงหลายร้อยเมตรและอาจยาวหลายกิโลเมตร

2. หินอัคนีรูปเห็ด (laccolith) เกิดจากหินหนืดแทรกตัวไปตามแนวดิ่งจนถึงบริเวณที่สามารถแทรกตัวไปในแนวราบได้ ทำให้เกิดเป็นหินอัคนีรูปเห็ดด้านบน โค้งคว่ำ ซึ่งส่งผลให้หินชั้นบนโค้งตามไปด้วย

3. หินอัคนีรูปฝักบัว (lopolith) เกิดในลักษณะเดียวกันหินอัคนีรูปเห็ดแต่ด้านบนจะเป็นโค้งหงาย

-หินอัคนีแทรกซอนแบบไม่ร่วมแนวมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. พนัง (dike) เป็นสายหินเหมือนกำแพงขวางในชั้นหินเดิม อาจหนาเพียง 1 เซนติเมตร ไปจนถึงหลายสิบเมตร และอาจยาวหลายร้อยกิโลเมตร

2. หินอัคนีมวลไพศาล หรือปื้นหินอัคนี (batholith) คือ หินอัคนีแทรกซอนปริมาณมหาศาลมีรูปร่างไม่แน่นอน ความลึกมากจนไม่สามารรถตรวจสอบได้ อาจโผล่ขึ้นมาบนพื้นโลก เนื่องจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เช่น เทือกเขาตะนาวศรี เป็นต้น

3. ลำหินอัคนี (stock) ลักษณะเหมือนหินอัคนีมวลไพศาล แต่มีพื้นที่น้อยกว่า 100 ตารางกิโลเมตร

4. หินแปลกปลอม (xenolith) เป็นหินเดิมในพื้นที่ซึ่งถูกละลายจากความร้อนของหินหนืดที่เคลื่อนตัวขึ้น แต่ความร้อนไม่สูงพอที่จะทำให้หินเดิมละลายหมดก้อนจึงตกค้างอยู่ในหินอัคนี ขบวนการเกิดนี้เรียกว่า การกลืนกินของหินหนืด (magmatic stopping)

หินอัคนีพุ คือ หินอัคนีที่เกิดขึ้นจากหินหนืดเคลื่อนตัวขึ้นมาบนผิวโลก เรียกว่า ลาวา (lava) และแข็งตัวในบรรยากาศโลก ในกรณีที่เปลือกโลกมีรอยร้าว หินหนืดจะแทรกตัวขึ้นมาตามรอยร้าวนั้น (fissure eruption) ซึ่งในกรณีนี้ลาวาจะไหลแผ่ออกเป็นลานหินอัคนีในบริเวณกว้างซึ่งมักเป็นหินบะซอลท์ (plateau basalt) ในกรณีที่หินหนืดแทรกตัวขึ้นมาใต้มหาสมุทรจะทำให้เปลือกโลกยกตัวเป็นแนวเขา น้ำในมหาสมุทรทำให้ลาวาเย็นตัวอย่างรวดเร็วเป็นรูปแผ่นของการไหล (sheeted flow) หรือเป็นรูปหมอนข้าง (pillow) ในกรณีที่ช่องซึ่งหินหนืดแทรกตัวขึ้นมาเป็นรูแคบ (volcanic vent) ความดันที่สูงจะทำให้เกิดการระเบิด ก๊าซจะถูกพ่นขึ้นในอากาศและจะพาเอาลาวาลอยขึ้นไปด้วยและแข็งตัวในอากาศเป็นชิ้นส่วนที่เรียกว่า ไพโรคลาส ถ้าไพโรคลาสตกลงมาทับถมกันอย่างหลวมๆ จะเรียกว่า เทบพรา (tephra) ซึ่งจะแบ่งเป็นชนิดย่อยๆอีก 3 ชนิด คือ บอมบ์ (bomb) แลปปิลลิ (lapilli) และเถ้า (ash)



การเรียกชื่อหินไพโรคลาสติคโดยพิจารณาจากขนาดของอนุภาค

ขนาดโดยเฉลี่ยของอนุภาค (มม.)



ชื่อของเทบพรา(อนุภาคที่ไม่ถูกยึดติดกัน) ชื่อหินไพโรคลาสติค(เทบพราที่ถูกยึดติดกันเป็นหิน)

>64

บอมบ์ (bomb) หินกรวดภูเขาไฟ

2-64

แลปปิลลิ(lapilli) แลปปิลลิทัฟ

<2

เถ้า (ash) แอชทัฟ