พูดคุย:สุวิชา เมฆอังกูร

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย Sry85 ในหัวข้อ ความเห็น

บทความคัดสรรและบทความคุณภาพที่ใช้เป็นแนวทางเขียน[แก้]

เจ. เค. โรว์ลิง#นวนิยายชุดคอร์โมรัน สไตรก์

“โรว์ลิงได้บอกว่าเธออยากจะเขียนหนังสือเล่มต่อ ๆ ไปด้วยชื่อปลอม...”

เจ. เค. โรว์ลิง#ด้านศาสนา

ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารแท็ทเลอร์เมื่อปี 2006 โรว์ลิงระบุว่า "ฉันก็เหมือนกับเกรแฮม กรีน บางครั้งศรัทธาของฉันก็อยู่ที่ว่าถ้ามันจะกลับมามันก็ต้องสำคัญต่อฉัน" เธอกล่าวว่าเธอได้ต่อสู้กับข้อสังสัยที่ว่าเธอเชื่อในชีวิตหลังความตาย

ธงไชย แมคอินไตย์#บุคลิกนิสัย

อย่างไรก็ตามการใช้ชีวิตส่วนมากของธงไชยทุ่มเทให้กับการทำงานเป็นหลัก โดยธงไชยกล่าวว่า “ความสุขของเขาอยู่ที่งาน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง หรือการโชว์คอนเสิร์ต”

มาริโอ้ เมาเร่อ#ภาพลักษณ์

มาริโอ้เคยกล่าวว่าแฟนคลับของมาริโอ้ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง[22][87] มาริโอ้ให้ความเห็นว่า "ก็รู้สึกดีครับ ผมก็ไม่ได้แอนตี้เกย์ หรือกะเทยอยู่แล้ว เค้าก็เป็นคนในสังคมเหมือนกัน มีหัวใจเหมือนกัน ไม่ว่าใครจะชอบผม จะเพศไหนก็ไม่สำคัญ ผมก็ชอบหมดแหละครับ เค้าก็มีความน่ารักในแบบของเค้านะ"

มิตร ชัยบัญชา#ลาออกจากอาชีพทหารอากาศ

... ถึงแม้ว่าได้เลือกอาชีพการแสดงภาพยนตร์เพื่อการเลี้ยงชีพ แต่ทั้งร่างกายและจิตใจของผม คือ ทหาร ผมรักเครื่องแบบทหาร...

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม#ความสนใจ

ด้วยเพราะพ่อของเขาเป็นช่างภาพ เขาเริ่มถ่ายรูปพ่อของเขาตั้งแต่ยังเด็กด้วยกล้อง "Nikon FM2"[43] และเขามีความสนใจอยากจะทำงานเบื้องหลัง คืออยากเป็นตากล้อง เพราะมีพื้นฐานทางนี้มาก่อน ในช่วงที่ถ่ายทำหนัง อนันดามีความรู้สึกอยากอยู่ใกล้กล้อง จึงวิเคราะห์ตัวเองว่าคงชอบในจุดนี้[44] ภาพยนตร์ที่อนันดาชอบดู หลายคนคงคิดว่าอนันดาชอบดูหนังอาร์ตที่เข้าใจยาก แต่เขาดูหนังได้ทุกประเภท เขาเสริมว่า "ภาพยนตร์ที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นภาพยนตร์ที่ดูไม่รู้เรื่อง"[45]

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม#บุคลิกและนิสัย

อนันดาเป็นคนมีโลกส่วนตัว เป็นคนตรงไป ตรงมา เกลียดการโกหก ไม่ชอบอยู่ในสถานที่ที่คนเยอะ[37] และเป็นคนเครียด จากบุคลิกที่ไม่ปล่อยวางอะไรง่าย เขาเล่าว่าที่เขาคิดเยอะ เพราะมีเรื่องต้องรับผิดชอบเยอะ อีกทั้งชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลทำให้เป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งอนันดาเคยไปปรึกษาจิตแพทย์มาแล้ว 2 ครั้ง ใน 4 ปี[48]

อนันดาพูดถึงตัวเอง เกี่ยวกับการใช้เงินว่า ถึงแม้จะมีผลงานภาพยนตร์มาหลายเรื่อง แต่อนันดาก็บอกว่า "ตนเองใช้เงินเก่ง"[49]

ตัวอย่างสำนวนการเขียน en:Josh Marshall[แก้]

en:Josh Marshall[แก้]

Marshall and his work have been profiled by The New York Times,[5] the Los Angeles Times,[7] the Financial Times,[8] National Public Radio,[9] The New York Times Magazine,[10] the Columbia Journalism Review,[4] Bill Moyers Journal,[11] and GQ.[12][13] Hendrik Hertzberg, a senior editor at The New Yorker, compares Marshall to the influential founders of Time magazine. "Marshall is in the line of the great light-bulb-over-the-head editors. He’s like Briton Hadden or Henry Luce. He’s created something new."[4]

ฉบับร่าง:สุวิชา เมฆอังกูร[แก้]

สุวิชาและผลงานบล็อกของเขาได้รับการกล่าวถึงโดยแนวหน้า[1]สยามรัฐ[2] โลกวันนี้[4] ผู้จัดการออนไลน์[5] สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น[6] ได้รับความเห็นจากสำนักข่าวนิวส์พลัสว่า “มีความแปลกใหม่”[7] และได้รับความเห็นจากบางกอกทูเดย์ว่า “มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว”[8]


en:Josh Marshall#Reaching a critical mass[แก้]

Inspired by political bloggers such as Mickey Kaus and Andrew Sullivan, Marshall started Talking Points Memo during the 2000 Florida election recount. "I really liked what seemed to me to be the freedom of expression of this genre of writing," Marshall told the Columbia Journalism Review. "And, obviously, given the issues that I had with the Prospect, that appealed to me a lot."[4]

ฉบับร่าง:สุวิชา เมฆอังกูร#เข้าสู่วงการบล็อกเกอร์ท่องเที่ยว[แก้]

สุวิชาเริ่มต้นทำบล็อกท่องเที่ยวโดยเขาระบุถึงแรงบัลดาลใจในการทำบล็อกของเขาในบทสัมภาษณ์กับสยามรัฐว่า “ผมรักการท่องเที่ยวครับ เพราะให้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และยังเปิดโอกาสให้ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง ผู้คนในความเป็นอยู่ที่หลากหลาย”

en:Josh Marshall#Plans[แก้]

Larger media companies have approached Marshall about buying or investing in his media company. So far, he has decided to maintain his independence.[4]

ฉบับร่าง:สุวิชา เมฆอังกูร#เข้าสู่วงการบล็อกเกอร์ท่องเที่ยว[แก้]

ปัจจุบันมีโรงแรมหลายแห่งติดต่อให้เขาเข้าพักเพื่อบันทึกประสบการณ์ในการเข้าพักส่วนตัวมานำเสนอผ่านสื่อสังคม[2]

ความเห็น[แก้]

ผมว่า ก่อนที่จะเริ่มเขียนส่วนปลีกย่อย ควรจะเขียนลงรายละเอียดว่า งานที่เขาทำ ทำอะไรบ้าง ควรเขียนเหตุก่อนผล เพราะยังไม่รู้รายละเอียดเลยว่าทำอะไรเลย ส่วนลักษณะอ้างอิงที่ยังอ่อนคือ ได้รับการถึงได้สื่อ (อ้างอิงอ่อนแอ พยายามแค่หาลิงก์มาใส่ ทั้ง ๆ ที่ลิงก์ไม่ค่อยเกี่ยว ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงมากเกินไป) และตรงได้รับการติดต่อให้เข้าพัก เนื้อหาอ่อนแอ เป็นเรื่องธรรมดามาก ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร เช่นเดียวกับให้สัมภาษณ์เรื่องแรงบันดาลใจในการเที่ยว ที่ทำบล็อก เพราะชอบเที่ยว --Sry85 (คุย) 19:18, 17 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

สอบถามเพิ่มเติม[แก้]

ขอบคุณ Admin @Sry85: สำหรับคำแนะนำค่า ดิฉันขอสรุปประเด็นคือเรื่องสำนวนการเขียนโอเครแล้ว ที่ต้องแก้ไขตอนนี้มีอย่างเดียวคือเขียนลงรายละเอียดว่างานที่ทำ ทำอะไรบ้าง เพิ่มเติม

ถ้าดูจากตัวอย่างคนที่ Admin เคยให้เป็นตัวอย่างในหน้าคุย สมิตพงศ์ สกุลพงศ์ชัย จะมีรายละเอียดเพียง

“ผลงานการเดินแบบและผลงานภาพยนตร์เรื่อง Classic Again จดหมาย สายฝน ร่มวิเศษ และในปัจจุบันเขาเริ่มมีผลงานละครออกอากาศทางช่อง 7 เอชดีมีผลงานละครเรื่อง บ้านปั้นดาว และ สุภาพบุรุษชาวดิน”

ในกรณีนี้อยากปรึกษา Admin ว่าควรจะเขียนแนวไหน คืออยากให้เขียนรายละเอียดว่างานบล็อกของเขาไปถ่ายทำที่ไหนมาบ้างใช่ไหมค้ะ ต้องมีรายละเอียดแค่ไหนถึงผ่านเกณฑ์ที่สามารถขึ้นเป็นโครงบทความได้ของ Admin ค้ะ ขอคำชี้แจงเป็นแนวทางอย่างละเอียดด้วยค่า

ขอบคุณอีกครั้งนะค้า--Readthai (คุย) 01:46, 18 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ในวิกิพีเดีย แม้แต่หมวดหมู่ บล็อกเกอร์ ก็ยังไม่มีเลยครับ อาชีพนี้ขาดความโดดเด่น ต้องมีอาชีพอื่นที่โดดเด่นอยู่ก่อนแล้ว อย่างเป็นนักข่าว สื่อมวลชน นักเขียน --Sry85 (คุย) 11:52, 18 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ


พิกิพีเดียทั้งภาษาไทยและอังกฤษไม่ได้ระบุว่าการที่บุคคลจะมีความโดดเด่นต้องมีอาชีพอะไร แต่จะมีความโดดเด่นได้หากบุคคลนั้นได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับบุคคลนั้น

ดิฉันเห็นว่าการที่เราตัดสินความโดดเด่นของบุคคลจากอาชีพเป็นอะไรที่ค่อนข้างแบ่งแยก อาชีพบล็อกเกอร์อาจจะไม่มีความโดดเด่นสำหรับกลุ่มบุคคลหนึ่งแต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความโดดเด่นในสายตาของกลุ่มบุคคลอื่น

หากพวกเรายืดหลักการไม่แบ่งแยก วิกิพีเดียภาษาไทยคงจะมีความครอบคลุมและเป็นสารานุกรมสำหรับทุกคนอย่างแท้จริงเช่นเดียวกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ en:Wikipedia:Discrimination

“…notability issues should reflect the idea of "notability for this group" and in this case Wikipedia Discrimination policy may be used against the Notability guideline as a stronger rule” en:Wikipedia:Discrimination#Cases

และก็คงจะได้เห็นหมวดหมู่ที่คุณแจ้งว่าไม่มีนี้ในวิกิพีเดียภาษาไทย en:Category:Bloggers by nationality