พูดคุย:รังสีวิทยา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังสีวิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิแพทยศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการแพทย์ โรคและการรักษา รวมทั้งกายวิภาคศาสตร์และอวัยวะต่าง ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รังสีวิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

รังสีวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เริ่มต้นเมื่อมีการค้บพบเอกซเรย์ ในปี ค.ศ.1895 โดย ศ.วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน และได้มีการนำมาใช้ในการถ่ายเอกซเรย์ร่างกายมนุษย์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคทางกระดูกและข้อ ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะในช่วงที่มีการพัฒนาระบบโทรทัศน์ และในช่วงที่มีการพัฒนาระบบดิจิตอล ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นเครื่องมือทางการแพทย์จำนวนมาก ปัจจุบันรังสีวิทยาครอบคลุมงานหลัก 3 ด้านได้แก่ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยมีรายละเอียดังนี้ 1. รังสีวินิจฉัย ได้แก่

     1.1 การใช้รังสีเอกซ์ในการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซเรย์ธรรมดา มีทั้งแบบถ่ายลงแผ่นฟิล์ม และการถ่ายเป็นภาพดิจิตอล มีชื่อเรียกได้หลายชื่อตามระบบ เช่น general x-ray, computed radiography, digital radiography
     1.2 การใช้รังสีเอกซ์ในการถ่ายภาพอวัยวะภายใน ต้องใช้เทคโนโลยีจอภาพเรืองแสง (fluoroscopy) ร่วมด้วยการกลืน สวนแป้งแบเรียมซัลเฟต หรือสารละลายไอโอดีนเพื่อช่วยในการเห็นภาพผ่านทางจอมอนิเตอร์ โดยได้ภาพจริงของอวัยวะ ณ ขณะเวลานั้น
     1.3 การใช้ลำรังสีเอกซ์กระจายเป็นรูปพัดเพื่อตัดขวางอวัยวะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography)มีการพัฒนาเทคโลโลยีอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันสามารถสร้างภาพตัดขวางของอวัยวะได้ที่ความละเอียด 0.25 มม. และได้ 312 ภาพต่อวินาที ซึ่งเหมาะสมกับการใช้สร้างภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวเช่น หัวใจ และมีระบบการสร้างภาพ 3 มิติแบบต่างๆ อีกด้วย
      1.4 การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)ถือเป็นส่วนหนึ่งของสาขารังสีวินิจฉัย ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีอันตรายจากรังสี ใช้ในการวินิจฉัยโรคต่าง หรือใช้สร้างภาพนำทางในการเจาะชิ้นเนื้อ
      1.5 การใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง (magnetic resonance imaging, nuclear magnetic resonance) เป็นการใช้เครื่องที่สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าระดับ 1.5T หรือ 3T ซึ่งจะไปบิดแกนของอะตอมไฮโดรเจนในร่างกาย เมื่ออะตอมคายพลังเพื่อเข้าสู่ภาวะเสถียร ก็จะได้พลังงานออกมา เครื่องจะรับสัญญาณและนำมาสร้างภาพ ไม่มีอันตรายจากรังสี และจะได้ภาพของอวัยวะต่างๆ ได้อย่างดี สามารถสร้างเป็นภาพ 3 มิติ หรือภาพการทำงานของสัญญาณประสาท (functinal MRI : fiber nerve)
   1.6 รังสีวิทยาหลอดเลือด เป็นส่วนงานในด้านการรักษาผู้ป่วยของงานรังสีวินิจฉัย โดยใช้เครื่อง fluoroscopy ที่มีรายละเอียดสูง และระบบเฉพาะที่เรียกว่า digiral subtraction angiography ร่วมกับการใช้สายสวนหลอดเลือดนำไปยังตำแหน่งของหลอดเลือดนั้น และฉีดสารทึบรังสีกลุ่มสารละลายไอโอดีนเพื่อสร้างภาพของหลอดเลือด มีความแม่นยำสูงในการวินิจฉัย และหากพบพยาธิสภาพ ก็สามารถให้การรักษาร่วมด้วย ในชื่อ รังสีร่วมรักษา (interventional radiology) ร่วมด้วย

2. รังสีรักษา ได้แก่ การใช้รังสีแกมมา ซึ่งมีพลังทำลายล้างสูงในการทำลายเซลลฺมะเร็ง โดยมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 แบบได้แก่

       2.1 การฉายรังสีแบบตื้น ใช้เครื่องที่มีพลังงานต่ำในการทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่ตื้นๆ 
       2.2 การใส่แร่ เป็นการสอดใส่แร่ที่มีปล่อยพลังงานแกมมาเพื่อทำลายมะเร็งที่อยู่ในบริเวณนั้น เช่น มะเร็งปากมดลูก
       2.3 การฉายรังสีพลังงานสูง เป็นการใช้เครื่องฉายรังสีที่มีพลังงานสูง โดยแหล่งกำเนิดอาจเป็น โคบอลต์60 หรือ พลังงานอิเล็กตรอน ก็ได้ ใช้ในการฉายแสงอวัยวะต่างๆ ที่มีความลึกจากระดับผิวมากกว่าการฉายรังสีแบบตื้น

3. เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นการใช้สารเภสัชรังสี ซึ่งเป็นการใช้สารกัมมันตภาพรังสีที่จับอยู่กับยา เมื่อฉีดไปในร่างกาย ยาจะเลือกไปเกาะเฉพาะรอยโรคที่จำเพาะของยานั้นๆ และใช้เครื่องสแกนทำการบันทึกสัญญาณจากสารกัมมันตรังสีออกมาเป็นภาพ สารกัมมันตรังสีที่ใช้มากได้แก่ 99m Tc เป็ อย่างไรก็ตามยังมีส่วนงานที่เกี่ยวข้องเช่น การกลืนไอโอดีนรังสีเพื่อรักษามะเร็งไทรอยด์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีนิวเคลียร์เพื่อวิเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน T3, T4 เป็นต้น ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสแกนเป็นการใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย เรียกกันว่า PET/CT มีความจำเพาะสูงในการตรวจหามะเร็งในระยะแรกเริ่ม ที่มีขนาดต่ำกว่า 1มม. --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.181.200 (พูดคุย | ตรวจ) 02:05, 8 เมษายน 2552 (ICT)