พูดคุย:ปูพระพี่นาง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูพระพี่นาง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ปูพระพี่นาง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ข้อความหัวเรื่อง[แก้]

ปูพระพี่นาง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ปูพระพี่นาง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ปูพระพี่นาง Potamon galyaniae


ภาพ : ดัดแปลงจากวารสารวิทยาศาสตร์ ปีที่ 54 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2543


                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ค้นพบปูชนิดใหม่ของโลก เป็นปูน้ำจืดที่มีสีสันสวยงาม ณ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี โดย ศ.ไพบูลย์ นัยเนตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีพระกรุณาธิคุณแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอเนกอนันต์ โดยได้เคยเสด็จไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบกับทรงเป็นองค์ประธานสนับสนุน การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิคของประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือกรามทูลขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญ พระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของปูชนิดใหม่นี้ว่า Potamon galyaniae  และชื่อไทยว่า “ ปูพระพี่นาง “ มีชื่อสามัญว่า Crimson Crab   และได้รับพระราชานุญาต เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 โดยจะทำการพิมพ์เผยแพร่ปูที่พบใหม่นี้ในวารสารต่างประเทศชื่อ Crustaceana , International Journal of Crustacean Research 
                ลักษณะเด่นของปูพระพี่นาง มี 3 สี คือ สีแดงเลือดนก แดงส้ม และสีขาว โดยกระดองมีสีแดงเลือดนก ขอบของกระดอง ขอบเบ้าตา และริมฝีปากเป็นสีแดงส้ม ขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีแดงเลือดนก ยกเว้นตรงปลายประมาณ 1 ใน 3 ของก้ามหนีบทั้ง 2 ข้าง เป็นสีขาว กระดองขนาดกว้างประมาณ 4.6 ซ.ม. 
                นายมงคล วงศ์กาฬสินธุ์ นักวาดรูปนก เป็นผู้พบและเก็บตัวอย่างปูชนิดใหม่นี้ได้ เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2540 ที่บริเวณฝั่งลำห้วย ต.ท่าแฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์. 

อ้างอิง

ว.วิทยาศาสตร์ 54,2(ม.ค.-ก.พ.43)104

รวบรวมข้อมูลโดย : ฝ่ายวารสารและเอกสาร