พูดคุย:นิติศาสตร์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิติศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ นิติศาสตร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

resources for future use:


นิติศาสตร์[แก้]

jurisprudence คืออะไร? การศึกษาในคณะนิติศาสตร์นอกจากการศึกษาตัวบทกฎหมาย ยังมีการศึกษากฎหมายในเชิงคุณค่า เช่นวิชากฎหมายเปรียบเทียบและนิติปรัชญา

นิติศาสตร์เป็นวิชาที่มีกฎหมายเป็นวัตถุในการศึกษา โดยแบ่งการศึกษาออกได้เป็น นิติศาสตร์โดยแท้ legal science proper ได้แก่การศึกษาตัวบทกฎหมาย ต่อมาคือนิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง legal science of facts เช่น ประวัติศาสตร์กฎหมาย และต่อมาคือนิติศาสตร์เชิงคุณค่า legal science of valuesเช่นวิชากฎหมายเปรียบเทียบ

jurisprudence เป็นคำเก่าแก่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก juris เป็นภาษาลาตินแปลว่ากฎหมาย และ prudntium แปลว่าความฉลาด

อาจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ แปลคำว่านิติศาสตร์ว่า science of law ส่วน jurisprudence ราชบัณฑิตฯ ได้แปลไว้ว่าหมายถึงหลักนิติศาสตร์ ถ้าไปอ่านในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the scince of the just and the unjust.


jurisprudenceในภาษาฝรั่งเศส หมายถึงความรู้ทางกฎหมายที่เกิดจากแนวคำพิพากษา ซึ่งจะมาคู่กัย doctrine หมายถึงความรู้ที่เกิดจากตำรากฎหมาย

jurisprudence ในอังกฤษ เป็นชื่อของวิชาวิชาหนึ่งที่สอนในมหาวิทยาลัยลอนดอน โดย john austin ตั้งแต่ค.ศ. 1828-1832 และแนวความคิดดังกล่าวถูกนำเข้ามาในไทยโดยท่านเสด็จในกรมฯ ราชบุรีฯ

จึงไม่ควรจะใช้ jurisprudence เป็นคำแปลของนิติศาสตร์ เพราะจะทำให้เกิดความกำกวมอย่างมาก

อ้างอิง

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป หยุด แสงอุทัย
  • นิติปรัชญา ปรีดี เกษมทรัพย์
  • กฎหมายมหาชน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ความรู้เรื่องกฎหมายมหาชน ส่วนหนึ่งค้นคว้าได้จาก www.pub-law.net

Sharky 16:45, 23 มกราคม 2007 (UTC)

เกี่ยวกับหัวข้อ การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย[แก้]

ดูแล้วเหตุผลมันแปลกๆในการย้าย โรงเรียนกฎหมายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์(ตรงนี้ไม่มีเหตุผลอ้างอิง) และธรรมศาสตร์(ตรงนี้อ้างว่าเกิดจากความไม่พอใจของนักเรียนโรงเรียนกฎหมาย)นะครับ

ถ้าเป็นไปได้กรุณาแก้ไข เรื่อง การตั้งคณะนิติศาสตร์ในจุฬาใหม่เป็น "มีการจัดตั้งขึ้น โดยไม่ได้ยุบโรงเรียนกฎหมาย "ด้วยเพราะ หลังจัดตั้งแปดเดือนมีการประท้วงโดยนักเรียนโรงเรียนกฎหมาย(ซึ่งน่าจะถูกยุบไปแล้วตามที่บอกว่ายุบไปตั้งใหม่ที่จุฬา) เรื่องที่ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนได้รับการยกระดับขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโรงเรียนกฎหมายไม่ได้รับการยกระดับขึนด้วย

ส่วนโรงเรียนกฎหมายเดิม ก็จะต้องถูกโอนไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยตรง เนื่องจากการที่ นักเรียนของโรงเรียนกฎหมาย ต้องการเพิ่มระดับของโรงเรียนกฎหมายให้เท่าโรงเรียนข้าราชการพลเรือน(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)