พูดคุย:นายขนมต้ม

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายขนมต้ม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ นายขนมต้ม หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
นายขนมต้ม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ นายขนมต้ม หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
นายขนมต้ม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิกีฬา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับกีฬาทุกชนิด ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ นายขนมต้ม หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

วันมวยไทย[แก้]

สรุปวันมวยไทย เป็นวันที่ 17 มีนาคม หรือ 6 กุมภาพันธ์ กันแน่ครับ --Nullzero (พูดคุย) 15:06, 17 มีนาคม 2556 (ICT)

ข้อสงสัยเรื่องข้อมูล[แก้]

พระราชพงศาวดารโดยปกติมักไม่ค่อยปรากฏเรื่องราวของสามัญชน ยกเว้นแต่เรื่องราวนั้นจะมีความสำคัญต่อการดำเนินเรื่องโดยรวม สำหรับพระราชพงศาวดารไทยนั้น นอกเหนือจากวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันในสงครามเสียงกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แล้ว เรื่องของนายขนมต้มก็เป็นสามัญชนอีกคนหนึ่งที่เป็น "ตำนาน" เล่าขานกันสืบมา ในฐานะของผู้ที่ "ธำรงไว้ซึ่งเกียรติยศ แลแผ่ขยายเกียรติคุณของชาติไทยให้เป็นที่ประจักษ์"

เรื่องนี้ผมมองแบบ skeptical ครับ; ผมไม่มั่นใจว่าชาวพม่าในสมัยนั้นเรียกชาวอยุธยาด้วยชื่ออื่นหรือไม่นอกจาก "โยเดีย" (คำนี้คือ "อยุธยา" ตามสำเนียงพม่า แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการออกเสียงจึงกลายเป็น โยธยา -> โยเดีย ไม่ได้เกี่ยวข้องว่าเอาชนะได้หรือไม่ได้แต่อย่างใด) เราอาจได้ยินชื่อศิลปะอย่างอื่นที่นำเข้าจากอยุธยา เช่น ระบำโยเดีย เพลงโยเดีย ฯลฯ แต่สำหรับชื่อ มวยไทย นี่ยังชวนให้สงสัยว่าเรียกกันอย่างนี้จริง หรือเพียงแต่เรียกกันในสมัยหลัง หรือเรียกกันด้วยชื่ออื่น นอกจากนี้ศิลปมวยไทยในสมัยนั้นต่างจากมวยพม่า มวยเขมร (ประดั่ญเซเรีย) มวยลายลาว มวยมลายู (ปัญจสีลัต) อย่างไร

ส่วนพระราชดำรัสของพระเจ้ามังระนั้น (โปรดอ่านคำบรรยายภาพ โดยเพจประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม) ถ้ามองอย่างคนไทยสมัยนี้ก็คงเห็นด้วยและเจ็บปวดไปตามๆ กัน แต่ผมมองย้อนกลับไปถึงสมัย พ.ศ. ๒๓๑๗ (กรณีที่เวลาที่ระบุนั้นถูกต้อง) แล้ว ผมคิดว่าพระราชดำรัสอย่างนี้ดูจะไม่สมสมัยเท่าไรนัก คล้ายกันคนสมัยใหม่เขียนบทให้พระองค์ตรัสเสียมากกว่า อีกประการหนึ่งคือ พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้นเป็นปีหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อกรุงอังวะแล้ว การที่พระเจ้ามังระตรัสราวกับอยุธยายังเป็นเมืองประเทศราชอยู่อย่างนี้อาจดูไม่สมเหตุสมผล ไม่เหมาะแก่กาลสมัย

ทั้งหมดนี้ผมจินตนาการไปเอง นายขนมต้มอาจมีตัวตนอยู่จริง แต่ผมยังไม่ค่อยทราบข้อมูลอื่นยืนยันความมีอยู่จริงนอกเหนือจากเรื่องเล่าและวิกิพีเดีย หากผู้รู้ท่านใดจะช่วยตอบข้อสงสัย หรือแสดงหลักฐานพระราชพงศาวดารไทยและเหมียนหม่ายาสะวินให้ผมทราบบ้างจักเป็นพระคุณยิ่งครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ รัตนาดิศร (พูดคุยหน้าที่เขียน) 20:29, 17 มีนาคม 2556 (ICT)