พูดคุย:กุมารี

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุมารี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ กุมารี หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

กุมารีนี้หาในคมชัดลึกและ[1]

เข้าไปที่

กุมารีควรหาสาระให้มากที่สุด และมีคุณภาพ มีภาพประกอบให้เยอะ ยังไม่พอนะครับ แก้ไขเพิ่มเติมด้วยครับ เรื่องกุมารีองค์น้อยนี้ จะเล่าให้ฟังนะครับ ""เนปาล" ดินแดนแห่งเทพเจ้า ยังคงมนต์เสน่ห์ของประเทศด้วยเรื่องราวความเชื่อของศาสนาฮินดู วัฒนธรรม ประเพณี ที่คงไว้ซึ่งร่องรอยอารยธรรมอันเก่าแก่ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของ กระแสสังคมและวัฒนธรรมของโลก ชาวเนปาล มีสถาบันศาสนาฮินดู และกษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ ขณะเดียวกันก็ยังมี "กุมารี" เทพธิดาองค์น้อยที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นศูนย์รวมศรัทธาความเลื่อมใสของประชาชนอีกสถาบันหนึ่งด้วย

ตามประวัติมีหลักฐานว่า ในประเทศอินเดีย ประเพณีเกี่ยวกับ "กุมารี" มีมานานมากกว่า ๒,๖๐๐ ปี และเผยแพร่เข้าสู่ประเทศเนปาลในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๖ โดย ฮารี สิงห์ เดวา ที่หลบหนีมาจากทางอินเดียตอนเหนือ เขาได้นำความเชื่อนี้ติดตัวมาด้วย แต่มีหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถึงพิธีการคัดเลือกกุมารี การแต่งตัวของกุมารี และ ความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อกุมารี ไว้เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓

ในเนปาล มีตำนานปรัมปราเกี่ยวกับ "กุมารี" มากมาย แต่ที่เลื่องลือและ น่าเชื่อถือที่สุด คือ ตำนาน ของกษัตริย์เนปาล องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มอลลา ขณะที่พระองค์กำลังเล่นทอยลูกเต๋า (บางแห่งก็ว่าสะบ้า) กับ เทวีทาเลจู เทพผู้ปกป้องรักษาราชวงศ์ของพระองค์ วาบหนึ่งในความนึกคิด พระองค์ทรงหลงใหลในความงดงามของ เทวีทาเลจู มาก และทรงคิดว่านางงามกว่ามเหสีของพระองค์เสียอีก ขณะเดียวกัน เทวีทาเลจู ก็อ่านความคิดนั้นออก จึงยุติการเล่นทอย ลูกเต๋าทันที นางตำหนิพระองค์ และประกาศว่า ต่อไปนี้ถ้าพระองค์จะพูดคุยกับนางอีก ก็จะไม่อยู่ในร่างของ เทวีทาเลจู ให้ทรงเห็น แต่นางจะเป็น เด็กหญิงจากวรรณะล่าง และพระองค์จะต้องออกจากพระราชวังไปสักการะนาง ซึ่งอยู่ในร่างของเด็กหญิงจากวรรณะล่างเท่านั้น

จากนั้นมา... นานนับเป็นศตวรรษแล้ว ที่ เด็กหญิงชาวเนปาล คนหนึ่งจะได้รับความเคารพสักการะจากชาวเนปาล เพราะเธอจะเป็นร่างจุติของ เทวีทาเลจู ซึ่งเป็น เทพฮินดู ที่มีอำนาจมากที่สุด และทรงปกปักษ์รักษาคุ้มครองกษัตริย์ และประเทศเนปาล ตลอดเวลา

เด็กหญิงที่ว่านี้ก็คือ "กุมารี" เทพธิดาผู้มีชีวิตจริงของชาวเนปาล

การค้นหาเด็กหญิงที่จะมาดำรงตำแหน่ง "กุมารี" นี้ สังฆราช ๕ รูป และโหรหลวง จะเป็นผู้ศึกษาและตรวจดวงชะตาของ เด็กหญิงชาวศักกายะ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็น "กุมารี" จะต้องมีดวงชะตาที่ถูกโฉลกกับดวงชะตาของกษัตริย์เนปาล

ขั้นตอนต่อไป คือ การตรวจดูว่าเด็กหญิงคนนั้นมี ลักษณะของเทพ หรือไม่ ? กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้มี รูปร่างเหมือนต้นกล้วย ขาเหมือนขากวาง หน้าอกเหมือนสิงห์ ลำคอเหมือนหอยสังข์ นํ้าเสียงสดใสและอ่อนนุ่ม เมื่อคัดเลือกได้แล้ว เด็กหญิงคนนั้นจะต้องจากครอบครัวของเธอมาอาศัยอยู่กับครอบครัวของผู้ดูแลภายใน วังใหญ่ ที่เรียกว่า การ์

วังของกุมารี ก่อสร้างด้วยอิฐ เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น มีหน้าต่างไม้เจาะรอบๆ สร้างขึ้นตามรูปแบบของวัด ไม้ที่แกะสลักโดยรอบนั้นจะเป็นเรื่องราวของฮินดูปกรฌัม ที่มีอายุกว่า ๒๕๐ ปี (วังที่เมืองกาฏมัณฑุ)

ภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของ "กุมารี" เริ่มต้นขึ้นแล้ว และจะคงอยู่ต่อไปจนกว่า เธอจะมีประจำเดือนครั้งแรก เมื่อถึงเวลานั้น เธอจะถูกประกาศว่า มีมลทิน และจะมีการคัดเลือกเด็กผู้หญิงคนใหม่มาดำรงตำแหน่ง "กุมารี" แทนที่

เด็กหญิงตัวน้อยในฐานะ "กุมารี" ต้องปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวันอันเข้มงวด ทุกเช้ามืดผู้รับใช้จะเข้ามาแต่งตัวให้เธอเป็นชุดผ้าไหมยกดอกสีแดงและสีทอง เกล้าผมของเธอจนตึง เพื่อใส่เครื่องประดับศีรษะ พร้อมทั้งระบายสีแดงเข้ม สีดำ และสีทองเป็น ดวงตาที่ ๓ ไว้ที่หน้าผาก ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถมองเห็นทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้

ประมาณเก้าโมงเช้า "กุมารี" จะขึ้นนั่งบนบัลลังก์ ให้พระสงฆ์ถวายของสักการะที่จะทำให้ เทวีทาเลจู โปรดปราน จากนั้นจะใช้เวลาหลายชั่วโมงให้พรผู้ศรัทธา ก่อนเริ่มการเรียนหนังสือประจำวันของเธอ หลังจากนั้นเธอถึงจะได้มีเวลาเล่นสนุกสนานตามประสาเด็กๆ

ตามปกติ "กุมารี" จะต้องเดินบนผ้าชนิดพิเศษ ที่ปูเป็นทางในวัง เนื่องจากมีข้อห้ามไม่ให้เท้าของเธอสัมผัสพื้นดิน นอกจากนี้ "กุมารี" ยังถูกห้ามไม่ให้ออกไปเล่นข้างนอก ในช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ยกเว้นเวลาที่ต้องปรากฏ ตัวต่อหน้าสาธารณชน ในงานเทศกาลสำคัญต่างๆ เท่านั้น ซึ่งมีประมาณ ๑๓ ครั้งต่อปี

ชีวิตของ "กุมารี" มีข้อจำกัดข้อห้ามมากมาย แต่เด็กสาวชาวเนปาลส่วนใหญ่ที่เป็น ชาวศักกายะ ก็ต้องการที่จะเป็น "กุมารี" เพราะมีเกียรติสูง และครอบครัวของเธอก็จะได้รับการดูแลจากรัฐบาลเป็นอย่างดี

"กุมารี" ของชาวเนปาล จะมีทั้งในเมืองหลวง คือ กาฏมัณฑุ และเมืองสำคัญอื่นๆ เช่นที่ ปาตัน

เมื่อคราวที่ผมได้เดินทางไปประเทศเนปาล เพื่อทำบุญทอดกฐินพระราชทาน ที่วัดไทยลุมพินี ปลายปี ๒๕๔๗ ผมก็ได้มีโอกาสไปชมบารมีของ "กุมารี" ของเมืองกาฏมัณฑุ ด้วยเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเดียว เธอโผล่ออกมาให้เห็นที่ช่องหน้าต่าง ชั้น ๓ โดยมีข้อกฎ ห้ามถ่ายภาพ อย่างเด็ดขาด ใครอยากได้ภาพ "กุมารี" ก็ต้องหาซื้อภาพโปสการ์ด ที่มีขายทั่วไป เป็นภาพ "กุมารี" ขณะออกปรากฏตัวต่อสาธารณชนในเทศกาลสำคัญๆ ซึ่งช่วงเวลานั้นไม่มีข้อห้ามถ่ายภาพแต่ประการใด

เป็นที่น่ายินดี...ที่เรื่องราวของ "กุมารี" จะมีการถ่ายทอดทาง ทีวี ช่อง ๗ สี รายการ ชั่วโมงพิศวง ในวันพรุ่งนี้ (วันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม) เวลา ๒๒.๓๐-๒๓.๓๐ น. โดย นาธาน โอร์มาน หนุ่มชาวเนปาล ที่พูดไทยได้อย่างชัดเจน เป็นพิธีกรนำไปชื่นชมบารมีของ "กุมารี" ทั้งที่เมืองกาฏมัณฑุ และ เมืองปาตัน

นาธาน บอกว่า ยังไม่เคยมีโอกาสได้เข้าขอพรอย่างใกล้ชิดแบบนี้มาก่อน

จึงได้ขอพรอันศักดิ์สิทธิ์ เพียบพร้อมด้วยความสมบูรณ์พูลสุขให้แก่ชีวิตและครอบครัว พร้อมกับขอให้ประชาชนชาวไทยทุกคนรักกันมากๆ

ความศรัทธาเลื่อมใสใน "กุมารี" ของชาวเนปาลใน ทุกวันนี้ไม่มีลดน้อยลงไปเลย ประชาชนนับหมื่นนับแสนคน ยังคงเฝ้ารอโอกาสที่จะได้ชื่นชมบารมีของเธออย่างใกล้ชิด.. .ในแต่ละโอกาสที่เธอจะออกมาให้พรแก่ชาวเนปาลโดยทั่วกัน " เรื่องมันเป็นอย่างนี้น่ะครับผมไปดู รายการ มันแปลกดีนะ ช่อง9 ที่เนปาลเขาพาไปดูกุมารีด้วย เขาบอกว่า ห้ามถ่ายภาพกุมารีเด็ดขาด และเป็นเทวีทาเลจูจุติมาเกิดครับ อ้อ!ถ้างั้นรีบๆเร็วๆก่อนบทความคัดสรรเดือนพฤษภาคมก่อนนะครับ เพราะจะออกบทความคัดสรรเดือนนี้ครับ