ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาแฆแลจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 184: บรรทัด 184:
*60 - {{IPA|[alt.miʃ]}}
*60 - {{IPA|[alt.miʃ]}}
*70 - {{IPA|[yæt.miʃ]}}
*70 - {{IPA|[yæt.miʃ]}}
*80 - {{IPA|[saj.san]}} (Turkic), {{IPA|[haʃ.tad]}} (Persian)
*80 - {{IPA|[saj.san]}} (เตอร์กิก), {{IPA|[haʃ.tad]}} (เปอร์เซีย)
*90 - {{IPA|[toqx.san]}} (Turkic), {{IPA|[na.vad]}} (Persian)
*90 - {{IPA|[toqx.san]}} (เตอร์กิก), {{IPA|[na.vad]}} (เปอร์เซีย)
*100 - {{IPA|[jyːz]}}
*100 - {{IPA|[jyːz]}}
*1000 - {{IPA|[min]}}, {{IPA|[miŋk]}}
*1000 - {{IPA|[min]}}, {{IPA|[miŋk]}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:12, 27 มกราคม 2565

ภาษาแฆแลจ
خلج
ประเทศที่มีการพูดประเทศอิหร่าน
ภูมิภาคส่วนหนึ่งของจังหวัดโกม (ส่วนใหญ่อยู่ในแฆแลแจสถาน)
ชาติพันธุ์ชาวแฆแลจ
จำนวนผู้พูด19,000  (2018)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Talx-āb[3][a]
Xarrāb[4]
Dāγān[5]
รหัสภาษา
ISO 639-3klj
แผนที่ที่ตั้งของภาษาแฆแลจ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาแฆแลจ เ็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดในประเทศอิหร่าน ถึงแม้ว่าจะยังคงมีคุณสมบัติภาษาเตอร์กิกเก่า แต่มันถูกแปลงเป็นเปอร์เซียแล้ว[6][7] ใน ค.ศ. 1978 มีผู้พูดภาษานี้ 20,000 คนใน 50 หมู่บ้านทางตะวันตกเฉียงใต้ของเตหะราน[3] แต่จำนวนนี้ลดลงถึงประมาณ 19,000 คน[1] โดยมีประมาณ 150 คำที่ไม่ทราบต้นกำเนิด[8] จากการสำรวจพบว่า พ่อแม่ชาวแฆแลจส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ส่งต่อภาษาของตนแก่ลูก ๆ โดยมีผู้ส่งต่อภาษานี้เพียง 5 ใน 1000 ครัวเรือน[1]

ภาษาแฆแลจเป็นภาษาที่สืบจากภาษาเตอร์กิกเก่าที่มีชื่อว่า Arghu[2][9] มะห์มูด อัลกาชเฆาะรี นักพจนานุกรมภาษาเตอร์กิกในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นบุคคลแรกที่ให้ตัวอย่างจากภาษาแฆแลจ ซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้องกับภาษาแฆแลจในปัจจุบัน[7]

Gerhard Doerfer ผู้ค้นพบภาษาแฆแลจอีกครั้ง ได้พิสูจน์ว่าภาษานี้เป็นภาษาแรกที่แยกตัวออกจากภาษากลุ่มเตอร์กิกทั่วไป[9]

สัทวิทยา

พยัญชนะ

เสียงพยัญชนะ[10]
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก หลัง-
ปุ่มเหงือก
เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เส้นเสียง
นาสิก m n ŋ
หยุด/
กักเสียดแทรก
ไร้เสียง p t ç [t͡ʃ] k q
ออกเสียง b d c [d͡ʒ] ɡ ɢ
เสียดแทรก ไร้เสียง f s ş [ʃ] x h
ออกเสียง v z ʒ ğ [ɣ]
เปิด l j
โรติก r

สระ

เสียงสระ[10]
หน้า กลาง หลัง
ไม่ห่อ ห่อ
ปิด i [i] ī [iː] ü [y] üː[yː] ı [ɨ] ıː[ɨː] u [u][uː]
กลาง e [e][eː] ö [ø] öː [øː] o [o][oː]
เปิด ä [æ] äː[æː] a [a] aa [aː]

สระในภาษาคาลาซมีสามระดับคือ เสียงยาว (qn "เลือด"), เสียงกึ่งยาว(bʃ "หัว"), และเสียงสั้น(hat "ม้า"). บางสระจัดเป็นสระเช่นquo̯l "แขน".

ไวยากรณ์

นาม

โดยทั่วไปมีเครื่องหมายแสดงพหูพจน์และความเป็นเจ้าของ การกของนามได้แก่การกความเป็นเจ้าของ กรรมตรง กรรมรอง สถานที่ ablative เครื่องมือ และความเท่าเทียม รุปแบบของปัจจัยการกขึ้นกับการเปลี่ยนเสียงสระและพยัญชนะที่ตามมา ปัจจัยการกจะรวมกับปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ ตารางต่อไปนี้ แสดงการลงท้ายของการกพื้นฐาน

การก ปัจจัย
ประธาน -
กรรมรอง -A, -KA
กรรมตรง -I, -NI
สถานที่ -čA
Ablative -dA
เครื่องมือ -lAn, -lA, -nA
Ablative -vāra

กริยา

คำกริยาผันตมรูปการกระทำ กาล จุดมุ่งหมายและรุปการปฏิเสธ กริยาจะประกอบด้วยรุปคำต่อไปนี้

รากศัพท์ + การกระทำ + ปฏิเสธ + กาล/จุดมุ่งหมาย + ข้อตกลง

การเรียงประโยค

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา คำคุณศัพท์นำหน้านาม

คำศัพท์

ส่วนใหญ่มาจากภาษากลุ่มเตอร์กิก แต่มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียมาก รวมทั้งศัพท์จากภาษากลุ่มเตอร์กิกที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ภาษาอาเซอร์ไบจาน

ตัวเลข

ส่วนใหญ่มาจากศัพท์ของภาษากลุ่มเตอร์กิก ยกเว้น "80" และ "90" มาจากภาษาเปอร์เซีย

  • 1 - [biː]
  • 2 - [æk.ki]
  • 3 - [yʃ]
  • 4 - [tœœɾt]
  • 5 - [bieʃ]
  • 6 - [al.ta]
  • 7 - [jæt.ti]
  • 8 - [sæk.kiz]
  • 9 - [toq.quz]
  • 10 - [uon]
  • 20 - [ji.giɾ.mi]
  • 30 - [hot.tuz]
  • 40 - [qiɾq]
  • 50 - [æl.li]
  • 60 - [alt.miʃ]
  • 70 - [yæt.miʃ]
  • 80 - [saj.san] (เตอร์กิก), [haʃ.tad] (เปอร์เซีย)
  • 90 - [toqx.san] (เตอร์กิก), [na.vad] (เปอร์เซีย)
  • 100 - [jyːz]
  • 1000 - [min], [miŋk]

หมายเหตุ

  1. ถือเป็นภาษาต่างหากมากกว่าสำเนียง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 زبان خلجی در حال انقراض [Endangered Khalaj language]. همشهری آنلاین [Hamshahri Online] (ภาษาเปอร์เซีย). 2019-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-26.
  2. 2.0 2.1 Johanson & Csató 1998, p. 81.
  3. 3.0 3.1 Doerfer 1977, p. 17.
  4. Doerfer 1977, p. 18.
  5. Doerfer 1977, p. 20.
  6. Knüppel 2009.
  7. 7.0 7.1 Ölmez 1995.
  8. Doerfer 1977, p. 32.
  9. 9.0 9.1 Robbeets 2015, p. 8.
  10. 10.0 10.1 Shcherbak 1997, p. 472.

ข้อมูล

หนังสือ

บทในหนังสือ หัวข้อวารสาร และรายการสารานุกรม

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น