ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์เธจ"

พิกัด: 36°51′10″N 10°19′24″E / 36.8528°N 10.3233°E / 36.8528; 10.3233
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
→‎อ้างอิง: บอต: เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
→‎อ้างอิง: บอต: เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่
บรรทัด 72: บรรทัด 72:
* [http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=crazydogz&month=12-2005&date=22&group=2&blog=1 คาร์เธจ : อดีตศูนย์กลางการค้าขายของโลกโบราณ]
* [http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=crazydogz&month=12-2005&date=22&group=2&blog=1 คาร์เธจ : อดีตศูนย์กลางการค้าขายของโลกโบราณ]


[[หมวดหมู่:มรดกโลกในทวีปแอฟริกา]]
[[หมวดหมู่:แหล่งมรดกโลกในทวีปแอฟริกา]]
[[หมวดหมู่:แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม]]
[[หมวดหมู่:แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม]]
[[หมวดหมู่:เมืองในประเทศตูนิเซีย|คาร์เธจ]]
[[หมวดหมู่:เมืองในประเทศตูนิเซีย|คาร์เธจ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:15, 13 ธันวาคม 2563

คาร์เธจ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศธงของประเทศตูนิเซีย ตูนิเซีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาii, iii, vi
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2522 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
คาร์เธจ
อ่างของแอนโทนีนุส (Baths of Antoninus), คาร์เธจ
คาร์เธจตั้งอยู่ในตูนิเซีย
คาร์เธจ
แสดงที่ตั้งภายในตูนิเซีย
ที่ตั้งตูนีเซีย
ภูมิภาคTunis Governorate
พิกัด36°51′10″N 10°19′24″E / 36.8528°N 10.3233°E / 36.8528; 10.3233
ประเภทCultural
เกณฑ์ii, iii, vi
ขึ้นเมื่อ1979 (3rd session)
เลขอ้างอิง37
State Party ตูนิเซีย
RegionArab States

คาร์เธจ (อังกฤษ: Carthage; ละติน: Carthago) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย

ประวัติ

เมื่อ 814 ก่อนคริสตกาล ชาวฟินิเชี่ยน หนีการรุกรานของกรีกและโรมันโดยการนำของเจ้าหญิงไดโด (Dido) หรือ เอลิสซา (Alyssa) แห่งเมืองไทร์ (Tyre : เลบานอนในปัจจุบัน) จนมาถึงริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือประเทศตูนีเซียในปัจจุบัน ตามตำนานพระนางขอซื้อที่ดินจากทางเมืองเดิม โดยตกลงกันว่าจะขอพื้นที่แค่ผืนหนัง โดยขลิบผืนหนังออกเป็นเส้นเล็กแล้วตีวง ทำให้ได้ที่ดินมากพอจะสร้างเป็นเมืองท่าได้ จนเป็นเมืองคาร์เธจ

ด้วยที่ตั้งที่เหมาะสมจึงทำให้คาร์เธจเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว พวกเขามีความชำนาญด้านการค้า มีสินค้าส่งออกอย่าง แร่เงิน ดีบุก และทองแดง จนในกลางศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล การค้าขายของคาร์เธจเจริญสุดขีด พวกเขาได้ทำการค้าขายกับโรมัน พวกเขายังชำนาญด้านการเดินเรือ ค้าขายไปถึงเกาะอังกฤษ ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา และเมืองไทร์ ส่วนด้านการทหารพวกเขาขยายขอบเขตดินแดนทั้งในฝั่งตะวันตกของเกาะซิซิลี (Sicily) เกาะซาร์ดิเนีย (Sardinia) หมู่เกาะแบลีแอริก (Balearic : แคว้นกาตาลุญญาในสเปน) และทางตอนใต้ของสเปน

ระบบการปกครองเป็นระบบกษัตริย์ตั้งแต่ตั้งเมือง จนถึงปี 480 ก่อนคริสตกาล หลังการตายของ ฮามิลก้าที่หนึ่ง (Hamilca I) ทำให้ระบอบกษัตริย์อ่อนแอเรื่อยมา จนในปี 308 ก่อนคริสตกาล หลังสิ้นสมัยกษัตริย์ โบมิลก้า (Bomilca) จีงเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ

พวกเขามีความขัดแย้งกับกรีกและโรมัน ทำสงครามกับกรีกหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญคือ สงครามเกาะซิซิลี (Sicilian wars) ทั้งสามครั้ง ตั้งแต่ปี 480 ถึง 307 ก่อนคริสตกาล ส่วนกับทางโรมัน ครั้งที่สำคัญมีอยู่ 3 ครั้งเช่น คือสงครามพิวนิก (Punic wars) ทั้งสามครั้ง ซึ่งในครั้งที่สาม การพ่ายแพ้ของคาร์เธจทำให้ถึงกับสิ้นชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ถูกฆ่า ชาวเมืองจาก 5 แสนคนเหลือ 5 หมื่นคน ที่เหลือถูกนำไปขายเป็นทาส บ้านเมืองถูกเผา จนแทบไม่เหลือศิลปะสิ่งก่อสร้างให้เห็น จนในสมัยจูเลียส ซีซ่าร์ มาบูรณะคาร์เธจขึ้นมาใหม่โดยโรม

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1985 นายยูโก้ เวเตเร่ (Ugo Vetere) นายกเทศมนตรีของกรุงโรมในขณะนั้น ทำสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการกับ นายเชดดี้ คลีบิ (Chedly Klibi) นายกเทศมนตรีของตูนีส เพื่อยุติฉากสงครามระหว่างสองชนชาติอย่างเป็นทางการอันยาวนานถึง 2,248 ปี หลังสงครามพิวนิกครั้งที่สาม

อ้างอิง