ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มชนเจอร์แมนิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
[[หมวดหมู่:กลุ่มชนเจอร์แมนิก| ]]
[[หมวดหมู่:กลุ่มชนเจอร์แมนิก| ]]
{{โครงประวัติศาสตร์}}
{{โครงประวัติศาสตร์}}
{{Link FA|nds-nl}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:22, 7 มีนาคม 2558

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193)

กลุ่มชนเจอร์แมนิก (อังกฤษ: Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย

ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี ค.ศ. 300 ถึงปี ค.ศ. 600 และในตอนต้นของยุคกลาง กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกกลายเป็นภาษาที่ใช้กันมากตาม "เขตแดนโรมัน" (limes) (ออสเตรีย, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม และอังกฤษ) แต่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดในการปกครองของโรมันชนเจอร์แมนิกรับการใช้ภาษาละติน (กลุ่มภาษาโรมานซ์) นอกจากนั้นในที่สุดกลุ่มชนเจอร์แมนิกทั้งหมดก็มานับถือศาสนาคริสต์ต่างระดับกันไป กลุ่มชนเจอร์แมนิกมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงจักรวรรดิโรมันให้กลายเป็นยุคกลาง และเป็นผู้ริเริ่มปรัชญาของความมีความรู้สึกร่วมกันในการเป็นชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดเขตแดนทางภาษาขึ้น

อ้างอิง

ดูเพิ่ม