ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระต่ายป่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| image = 2414.jpg
| image = 2414.jpg
| status = LR
| status = LR
| status_ref = <ref> Lagomorph Specialist Group 1996. [http://www.iucnredlist.org/search/details.php/41284/all ''Lepus peguensis'']. [http://www.iucnredlist.org 2006 IUCN Red List of Threatened Species. ] Downloaded on 31 July 2007.</ref>
| status_ref = <ref name="lop"> Lagomorph Specialist Group 1996. [http://www.iucnredlist.org/search/details.php/41284/all ''Lepus peguensis'']. [http://www.iucnredlist.org 2006 IUCN Red List of Threatened Species. ] Downloaded on 31 July 2007.</ref>
| status_system = iucn3.1
| status_system = iucn3.1
| regnum = [[Animalia]]
| regnum = [[Animalia]]
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
| range_map = Burmese Hare area.png
| range_map = Burmese Hare area.png
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์ของกระต่ายป่า
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์ของกระต่ายป่า
|synonyms = *''Lepus siamensis'' <small>Bonhote, 1902</small>
|synonyms_ref = <ref name="lop"/>
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:08, 3 พฤษภาคม 2557

กระต่ายป่า
ไฟล์:2414.jpg
สถานะการอนุรักษ์
Invalid status (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Lagomorpha
วงศ์: Leporidae
สกุล: Lepus
สปีชีส์: L.  peguensis
ชื่อทวินาม
Lepus peguensis
(Blyth, 1855)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของกระต่ายป่า
ชื่อพ้อง[1]
  • Lepus siamensis Bonhote, 1902

กระต่ายป่า (อังกฤษ: Burmese hare; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepus peguensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ มีหูยาว สามารถมองเห็นได้แต่ไกล มีขนขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้มและมีฟันหน้าของขากรรไกรบน 4 ซี่ เรียงซ้อนกัน 2 คู่ ฟันคู่หลังเล็กกว่าคู่หน้า ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ใต้ผ่าเท้ามีขนปกคลุมหนาแน่นช่วยให้เคลื่อนไหวได้โดยไม่มีเสียง หางสั้นเป็นกระจุก ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลปนเทา ปลายขนมีสีน้ำตาลเข้ม มีความยาวลำตัวและหัว 44-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-8.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.35-7 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ในพม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา ชอบอาศัยในป่าโปร่ง, ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ ออกหากินในเวลากลางคืนตามพงหญ้าที่รกชัฏ ออกหากินตามลำพังในอาณาบริเวณของตัวเอง มี หญ้า เป็นอาหารหลัก ยอดไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงจากต้นเป็นอาหารเสริม ในบางครั้งอาจแทะเขากวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซียมด้วย กระต่ายป่าตัวผู้มักต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วยการกระโดดถีบหรือกัดด้วยความรุนแรง

กระต่ายป่าตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 35-40 วัน ออกลูกครั้งละ 1-7 ตัว โดยการขุดโพรงใต้ดินอยู่ ลูกกระต่ายป่าที่เกิดใหม่จะขนปกคลุมตัว และลืมตาได้เลย [2]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Lagomorph Specialist Group 1996. Lepus peguensis. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 31 July 2007.
  2. หน้า 150, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lepus peguensis ที่วิกิสปีชีส์