ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กินซะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
กินซะนั้นเดิมเป็นหนองบึง ต่อมาได้รับการถมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ครั้น ค.ศ. 1612 ตรงกับ[[ยุคเอะโดะ]] มีการตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นบนที่ดินนั้นเรียก กินซะ ที่ดินจึงได้ชื่อตามโรงกษาปณ์ไปด้วย<ref name=DK>{{cite book|title=Dk eyewitness travel guide japan.|publisher=Dk Publishing|location=[S.l.]|isbn=9780756694739|pages=66-67}}</ref>
กินซะนั้นเดิมเป็นหนองบึง ต่อมาได้รับการถมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ครั้น ค.ศ. 1612 ตรงกับ[[ยุคเอะโดะ]] มีการตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นบนที่ดินนั้นเรียก กินซะ ที่ดินจึงได้ชื่อตามโรงกษาปณ์ไปด้วย<ref name=DK>{{cite book|title=Dk eyewitness travel guide japan.|publisher=Dk Publishing|location=[S.l.]|isbn=9780756694739|pages=66-67}}</ref>


พอ ค.ศ. 1872 เกิดเพลิงไหม้อาคารบ้านเรือนบริเวณนั้นเกือบสิ้น<ref name=DK/> เมื่อเพลิงสงบ รัฐบาลเมจิจึงกำหนดให้ใช้ย่านกินซะเป็น "ตัวอย่างการพัฒนาให้ทันสมัย" โดยเตรียมสร้างอาคารด้วยอิฐกันไฟ พร้อมด้วยถนนหนทางกว้างขวางเชื่อต่อสถานีรถไฟชิมบะชิ เขตสัมปทานต่างชาติในแขวงสึกิจิ ตลอดจนสำนักราชการบ้านเมืองหลายแห่ง [[Thomas Waters|ทอมัส วอเตอส์]] (Thomas Waters) สถาปนิกชาวไอริช รับหน้าที่วางแผนปรับปรุงที่ดินดังกล่าว<ref name=DK/> ส่วนทบวงโยธาธิการ (Bureau of Construction) กระทรวงการคลัง รับหน้าที่ก่อสร้าง ครั้นปีถัดมา จึงได้เห็นเส้นทางสำหรับเดินทอดน่องท่องเที่ยวอย่างตะวันตกเริ่มตั้งแต่ปลายสะพานชิมบะชิไปจนสุดสะพานเคียวชะบิด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขตชูโอ
พอ ค.ศ. 1872 เกิดเพลิงไหม้อาคารบ้านเรือนบริเวณนั้นเกือบสิ้น<ref name=DK/> เมื่อเพลิงสงบ รัฐบาลเมจิจึงกำหนดให้ใช้ย่านกินซะเป็น "ตัวอย่างการพัฒนาให้ทันสมัย" โดยเตรียมสร้างอาคารด้วยอิฐกันไฟ พร้อมด้วยถนนหนทางกว้างขวางเชื่อมต่อสถานีรถไฟชิมบะชิ เขตสัมปทานต่างชาติในแขวงสึกิจิ ตลอดจนสำนักราชการบ้านเมืองหลายแห่ง [[Thomas Waters|ทอมัส วอเตอส์]] (Thomas Waters) สถาปนิกชาวไอริช รับหน้าที่วางแผนปรับปรุงที่ดินดังกล่าว<ref name=DK/> ส่วนทบวงโยธาธิการ (Bureau of Construction) กระทรวงการคลัง รับหน้าที่ก่อสร้าง ครั้นปีถัดมา จึงได้เห็นเส้นทางสำหรับเดินทอดน่องท่องเที่ยวอย่างตะวันตกเริ่มตั้งแต่ปลายสะพานชิมบะชิไปจนสุดสะพานเคียวชะบิด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขตชูโอ


อย่างไรก็ดี อาคารฝรั่งหลายแห่งบัดนี้ได้สูญสิ้นลงหมดแล้ว เหลือไม่กี่แห่งซึ่งมีอายุมากและคงรักษาไว้อยู่ ในจำนวนนี้รวมถึง ร้าน[[Wako (retailer)|วะโก]] (Wakō) ซึ่งมีหอนาฬิกาที่ปัจจุบันกลายเป็นสัญลักษณ์ของย่านกินซะ ร้านค้าและหอนาฬิกาดังกล่าวเป็นผลงานของคินตะโร ฮัตโตะริ (Kintarō Hattori) ผู้ก่อตั้งบริษัทนาฬิกา[[Seiko|เซโกะ]] (Seiko)
อย่างไรก็ดี อาคารฝรั่งหลายแห่งบัดนี้ได้สูญสิ้นลงหมดแล้ว เหลือไม่กี่แห่งซึ่งมีอายุมากและคงรักษาไว้อยู่ ในจำนวนนี้รวมถึง ร้าน[[Wako (retailer)|วะโก]] (Wakō) ซึ่งมีหอนาฬิกาที่ปัจจุบันกลายเป็นสัญลักษณ์ของย่านกินซะ ร้านค้าและหอนาฬิกาดังกล่าวเป็นผลงานของคินตะโร ฮัตโตะริ (Kintarō Hattori) ผู้ก่อตั้งบริษัทนาฬิกา[[Seiko|เซโกะ]] (Seiko)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:45, 20 สิงหาคม 2556

ร้านวะโกกับหอนาฬิกาที่กินซะ

กินซะ (ญี่ปุ่น: 銀座โรมาจิGinza) เป็นแขวงในเขตชูโอ กรุงโตเกียว เหนือแขวงชิมบะชิ ใต้ย่านยะเอะซุกับเคียวบะชิ ทางตะวันตกของแขวงสึกิจิ และทางตะวันออกของย่านยูระกุโชกับอุชิไซไวโช มีชื่อเสียงเพราะมากด้วยพ่อค้าพาณิชกิจการร้านรวงหรูหรา ทั้งยังถือกันว่าเป็นย่านการค้าราคาแพงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

กินซะนั้นเดิมเป็นหนองบึง ต่อมาได้รับการถมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ครั้น ค.ศ. 1612 ตรงกับยุคเอะโดะ มีการตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นบนที่ดินนั้นเรียก กินซะ ที่ดินจึงได้ชื่อตามโรงกษาปณ์ไปด้วย[1]

พอ ค.ศ. 1872 เกิดเพลิงไหม้อาคารบ้านเรือนบริเวณนั้นเกือบสิ้น[1] เมื่อเพลิงสงบ รัฐบาลเมจิจึงกำหนดให้ใช้ย่านกินซะเป็น "ตัวอย่างการพัฒนาให้ทันสมัย" โดยเตรียมสร้างอาคารด้วยอิฐกันไฟ พร้อมด้วยถนนหนทางกว้างขวางเชื่อมต่อสถานีรถไฟชิมบะชิ เขตสัมปทานต่างชาติในแขวงสึกิจิ ตลอดจนสำนักราชการบ้านเมืองหลายแห่ง ทอมัส วอเตอส์ (Thomas Waters) สถาปนิกชาวไอริช รับหน้าที่วางแผนปรับปรุงที่ดินดังกล่าว[1] ส่วนทบวงโยธาธิการ (Bureau of Construction) กระทรวงการคลัง รับหน้าที่ก่อสร้าง ครั้นปีถัดมา จึงได้เห็นเส้นทางสำหรับเดินทอดน่องท่องเที่ยวอย่างตะวันตกเริ่มตั้งแต่ปลายสะพานชิมบะชิไปจนสุดสะพานเคียวชะบิด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขตชูโอ

อย่างไรก็ดี อาคารฝรั่งหลายแห่งบัดนี้ได้สูญสิ้นลงหมดแล้ว เหลือไม่กี่แห่งซึ่งมีอายุมากและคงรักษาไว้อยู่ ในจำนวนนี้รวมถึง ร้านวะโก (Wakō) ซึ่งมีหอนาฬิกาที่ปัจจุบันกลายเป็นสัญลักษณ์ของย่านกินซะ ร้านค้าและหอนาฬิกาดังกล่าวเป็นผลงานของคินตะโร ฮัตโตะริ (Kintarō Hattori) ผู้ก่อตั้งบริษัทนาฬิกาเซโกะ (Seiko)

ส่วนความเป็นไปในสมัยหลังของกินซะนั้นเกี่ยวเนื่องกับร้านรวงหรูหราอย่างฝรั่งเสียมาก เนื่องจากกินซะได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางอันได้รับความนิยมมากในวันหยุดสุดสัปดาห์ซึ่งมีการปิดการจราจรบนเส้นทางหลักตั้งแต่เหนือจรดใต้ในย่านกินซะเพื่อประโยชน์ในการท่องเที่ยวมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 ตามคำสั่งของเรียวกิชิ มิโนะเบะ (Ryokichi Minobe) ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Dk eyewitness travel guide japan. [S.l.]: Dk Publishing. pp. 66–67. ISBN 9780756694739.