ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ar, bs, ca, cs, de, es, fa, fr, hr, hu, id, ja, ms, nl, pl, sh, zh
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
[[หมวดหมู่:สารานุกรมออนไลน์]]
[[หมวดหมู่:สารานุกรมออนไลน์]]


[[ar:موسوعة إنترنت]]
[[bs:Internetske enciklopedije]]
[[ca:Enciclopèdia en línia]]
[[cs:Internetová encyklopedie]]
[[de:Online-Lexikon]]
[[en:Internet encyclopedia project]]
[[en:Internet encyclopedia project]]
[[es:Enciclopedia en línea]]
[[fa:دانشنامه برخط]]
[[fr:Encyclopédie en ligne]]
[[hr:Internetske enciklopedije]]
[[hu:Wikipédia-típusú weboldalak]]
[[id:Proyek ensiklopedia Internet]]
[[ja:インターネット百科事典]]
[[ms:Projek ensiklopedia internet]]
[[nl:Internetencyclopedie]]
[[pl:Projekt internetowej encyklopedii]]
[[sh:Internetske enciklopedije]]
[[zh:网络百科全书]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:50, 15 กรกฎาคม 2554

โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถเข้าถึงได้ผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ แนวคิดที่จะสร้างสารานุกรมเสรีโดยการใช้อินเทอร์เน็ตมีตั้งแต่ข้อเสนออินเตอร์พีเดียในปี พ.ศ. 2536 อันเป็นโครงการสารานุกรมบนอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถให้การสนับสนุนเนื้อหาได้ แต่โครงการนั้นไม่เคยพ้นขั้นตอนวางแผนและถูกไล่ตามทันโดยการปะทุของเวิลด์ไวด์เว็บ การถือกำเนิดของเสิร์ชเอนจินคุณภาพสูง และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่มีอยู่เดิม

การแปลงเนื้อหาเก่าเป็นดิจิตอล

โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ตเป็นการแบ่งสาขาที่สำคัญของสารานุกรมตีพิมพ์แบบเก่า ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2538 โครงการกูเทนแบร์กเริ่มตีพิมพ์ข้อความแอสกีของสารานุกรมบริตานิกา ฉบับพิมพ์ครั้งที่สิบเอ็ด (พ.ศ. 2454) แต่ความไม่ลงรอยเกี่ยวกับวิธีการทำให้งานดังกล่าวหยุดชะงักไปหลังจากฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ด้วยเหตุผลด้านเครื่องหมายการค้า ทำให้โครงการใช้ชื่อว่า สารานุกรมกูเทนแบร์ก ในปี พ.ศ. 2545 ข้อความแอสกีและดนตรี 48 เสียงได้รับการเผยแพร่บน http://1911encyclopedia.org โครงการกูเทนแบร์กเริ่มงานการแปลงเนื้อหาเป็นดิจิตอลใหม่และพิสูจน์อักษรสารานุกรมนี้ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ก็ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ ในขณะเดียวกัน สารานุกรมบริตานิกาซึ่งเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งอย่างเช่น เอ็นคาร์ตา ทำให้บริตานิกาเองต้องแปลงเนื้อหาเป็นดิจิตอลโดยผู้ผลิตเช่นกัน และมีการวางขายเป็นซีดีรอมเป็นเจ้าแรก และบริการออนไลน์ในเวลาต่อมา เป็นไปได้ว่าโครงการแปลงเนื้อหาสารานุกรมเป็นดิจิตอลที่สำคัญที่สุดและประสบความสำเร็จที่สุดคือ โครงการบาร์เทิลบี ซึ่งเป็นรุ่นออนไลน์ของสารานุกรมโคลัมเบีย ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สิบ http://www.bartleby.com/65/ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 และมีการอัปเดตเป็นครั้งคราว