โครงการกูเทินแบร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โครงการกูเทนแบร์ก)

โครงการกูเทินแบร์ค (อังกฤษ: Project Gutenberg หรือเรียกชื่อย่อว่า PG) เป็นโครงการอาสาสมัครเพื่อการแปรงานทางวัฒนธรรมเช่นงานวรรณกรรมเป็นดิจิทัลเพื่อการเก็บรักษาและเผยแพร่แก่สาธารณชน โครงการกูเทินแบร์คก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1971 โดยไมเคิล เอส. ฮาร์ต (Michael S. Hart) และเป็นห้องสมุดดิจิทัลที่เก่าที่สุด[1] สื่อที่สะสมเป็นหนังสือทั้งเล่ม (full text) ที่ลิขสิทธิ์หมดอายุและเป็นสมบัติของสาธารณชน โครงการกูเทินแบร์คพยายามทำให้สาธารณชนสามารถใช้หนังสือเหล่านี้โดยไม่ต้องเสียเงินเท่าที่จะทำได้ และในรูปแบบที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (open format) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 โครงการกูเทินแบร์คกล่าวว่ามีสื่อกว่า 62,000 สื่อในโครงการ[2] โครงการกูเทินแบร์คเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น ๆ ที่เป็นองค์การอิสระอีกหลายโครงการที่มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกันและได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา "Project Gutenberg"

ถ้าเป็นไปได้ หนังสือหรือสื่อของโครงการกูเทินแบร์คจะเป็นเนื้อหาที่ไม่มีรูปแบบ (plain text) แต่รูปแบบอื่นก็มีให้เช่น เอชทีเอ็มแอล หนังสือหรือสื่อส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็มีบ้างที่เป็นภาษาอื่น โครงการมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ "โครงการผู้ตรวจสอบ" (อังกฤษ: Distributed Proofreaders หรือเรียกชื่อย่อว่า DP) ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครอินเทอร์เน็ตที่ช่วยตรวจสอบหนังสือและสือก่อนที่จะเผยแพร่แก่สาธารณชนในโครงการกูเทินแบร์ค

อ้างอิง[แก้]

  1. Thomas, Jeffrey (July 20, 2007). "Project Gutenberg Digital Library Seeks To Spur Literacy". U.S. Department of State, Bureau of International Information Programs. สืบค้นเมื่อ 2007-08-20.
  2. "Project Gutenberg Releases eBook #50,000". Project Gutenberg News. 25 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2017.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]