ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
[[ภาพ:Suwan great agri monument.JPG|thumb|200px|left|อนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เมื่อ พ.ศ. 2511]]
[[ภาพ:Suwan great agri monument.JPG|thumb|200px|left|อนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เมื่อ พ.ศ. 2511]]


'''“สามเสือเกษตร”''' เป็นฉายาที่[[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]] (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ใช้เรียกแทนบุคคลสามคน ได้แก่ พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) และหลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) ผู้มีคุณูปการในการพัฒนาวงการเกษตรไทยและเผยแพร่คุณประโยชน์ทางเกษตรกรรมไปสู่สาธารณชน นอกจากนี้ บุคคลทั้งสามยังเป็นผู้วางรากฐานการเกษตรและการศึกษาด้าน[[เกษตรศาสตร์]]ของ[[ประเทศไทย]] นำไปสู่การสถาปนาสถาบันทางเกษตรศาสตร์เป็นการเฉพาะอันซึ่งมีวิวัฒนาการมาเป็น[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]ในปัจจุบัน
'''“สามเสือเกษตร”''' เป็นฉายาที่[[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]] (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ใช้เรียกแทนบุคคลสามคน ได้แก่ พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) และหลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) ผู้มีคุณูปการในการพัฒนาวงการเกษตรไทยและเผยแพร่คุณประโยชน์ทางเกษตรกรรมไปสู่สาธารณชนซึ่งถือเป็นอาชีพหลักและอาชีพเดียวของราษฎรไทยในสมัยนั้นที่สร้างการเศรษฐกิจขึ้นอย่างเป็นระบบในประเทศไทย นอกจากนี้บุคคลทั้งสามยังเป็นผู้วางรากฐานการเกษตรและการศึกษาด้าน[[เกษตรศาสตร์]]ของ[[ประเทศไทย]] อันนำไปสู่การสถาปนาสถาบันทางเกษตรศาสตร์เป็นการเฉพาะ และมีวิวัฒนาการมาเป็น[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]ในปัจจุบัน


จำเดิมในทศวรรษที่สามของการครบรอบการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ พื้นที่ลานด้านหน้าสถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการสถาปนาอนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) ขึ้น โดยมี[[หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร]] ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2511]] ซึ่งเป็นวันครบรอบปีที่ 25 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาในวาระการครบรอบปีที่ 50 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) และหลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) เพิ่มเติมให้เป็นอนุสาวรีย์ "สามเสือแห่งเกษตร" และมีพิธีเปิดในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2538]]
จำเดิมในทศวรรษที่สามของการครบรอบการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ พื้นที่ลานด้านหน้าสถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการสถาปนาอนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) ขึ้น โดยมี[[หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร]] ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2511]] ซึ่งเป็นวันครบรอบปีที่ 25 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาในวาระการครบรอบปีที่ 50 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) และหลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) เพิ่มเติมให้เป็นอนุสาวรีย์ "สามเสือแห่งเกษตร" และมีพิธีเปิดในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2538]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:48, 4 พฤษภาคม 2552

ไฟล์:Three great good of agriculutres monument1.jpg
อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ในปัจจุบัน

อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ หรือ อนุสาวรีย์สามเสือแห่งเกษตร เป็นอนุสาวรีย์รูปเหมือนของสามบูรพาจารย์ผู้ริเริ่มสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) และหลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) ประดิษฐาน ณ ลานอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ หน้าสถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ประวัติ

ไฟล์:Suwan great agri monument.JPG
อนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เมื่อ พ.ศ. 2511

“สามเสือเกษตร” เป็นฉายาที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ใช้เรียกแทนบุคคลสามคน ได้แก่ พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) และหลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) ผู้มีคุณูปการในการพัฒนาวงการเกษตรไทยและเผยแพร่คุณประโยชน์ทางเกษตรกรรมไปสู่สาธารณชนซึ่งถือเป็นอาชีพหลักและอาชีพเดียวของราษฎรไทยในสมัยนั้นที่สร้างการเศรษฐกิจขึ้นอย่างเป็นระบบในประเทศไทย นอกจากนี้บุคคลทั้งสามยังเป็นผู้วางรากฐานการเกษตรและการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ของประเทศไทย อันนำไปสู่การสถาปนาสถาบันทางเกษตรศาสตร์เป็นการเฉพาะ และมีวิวัฒนาการมาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน

จำเดิมในทศวรรษที่สามของการครบรอบการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ พื้นที่ลานด้านหน้าสถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการสถาปนาอนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) ขึ้น โดยมีหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ซึ่งเป็นวันครบรอบปีที่ 25 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาในวาระการครบรอบปีที่ 50 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) และหลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) เพิ่มเติมให้เป็นอนุสาวรีย์ "สามเสือแห่งเกษตร" และมีพิธีเปิดในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ไฟล์:Three great good of agriculutres monument2.jpg
บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ (พ.ศ. 2552)

อนุเสาวรีย์สามบูรพาจารย์มีลักษณะเป็นอนุสาวรีย์ประเภทบุคคล ประกอบด้วยรูปเหมือนบุคคลในท่ายืนสามคนตั้งเรียงลำดับ ดังนี้

  1. ตรงกลาง คือ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) ในท่ายืน มือซ้ายถือหมวก มองตรงมาเบื้องหน้า
  2. ด้านซ้าย คือ พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) ในท่ายืน มือซ้ายถือหนังสือชื่อ "การเกษตรแผนใหม่"
  3. ด้านขวา คือ หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) ในท่ายืน มือซ้ายถือหมวก ใบหน้ามองเยื้องทางด้านซ้าย

ณ ฐานอนุสาวรีย์มีป้ายโลหะสำริด ปรากฏข้อความจารึกว่า

อนุสาวรีย์ "สามเสือแห่งเกษตร" สร้างไว้เป็นสิ่งน้อมนำใจอนุชนให้รำลึกถึงบูรพาจารย์

ผู้ได้อุทิศตนร่วมกันทำงานด้วยความพากเพียร อดทน และเสียสละอย่างสูง เพื่อวางรากฐานการเกษตรแผนใหม่

และการศึกษาด้านการเกษตรให้เจริญก้าวหน้ามาตราบจนปัจจุบัน

ประกอบพิธีเปิด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2538

อ้างอิง