ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Panapson (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "มันหายไปไหนอ่ะครับ หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับ..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ การแก้ไขแบบเห็นภาพ blanking
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
มันหายไปไหนอ่ะครับ
{{บทความคัดสรร}}
{{Infobox Military Conflict
| conflict = การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
| partof =
| image = [[ไฟล์:Burmese-Siamese war (1765-1767) map - TH - 002.jpg|300px]]
| caption = แผนที่คร่าว ๆ แสดงเส้นทางการเคลื่อนทัพของพม่าจนถึงกรุงศรีอยุธยา:
{{plainlist | style = padding-left: 0.6em; text-align: left; |
* {{color box|#d4d0c7}} <!--ดินแดนสีเทาอ่อน คือ--> สยาม
* {{color box|#aaa399}} <!--ดินแดนสีเทาเข้ม คือ--> พม่าและเมืองขึ้น (เวียงจันทน์, หลวงพระบาง ฯลฯ)
* {{color box|#BC987E}} <!--ดินแดนสีสนิม คือ--> ดินแดนที่สาม (กัมพูชา ฯลฯ)
* {{color box|#ff6600}} <!--เส้นสีส้ม แสดง-->การเคลื่อนตัวของทัพพม่า
* {{color box|white}} <!--เส้นสีขาวมีขอบสีเทา แสดง-->เขตแดนในปัจจุบัน
}}
| date = 11 มกราคม พ.ศ. 2307<ref>ชัย เรืองศิลป์. หน้า 3.</ref><!-- สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพนับการตีหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ. 2307 เป็นสงครามอีกหนหนึ่ง --> – 7 เมษายน พ.ศ. 2310{{Ref_label|A|I|none}}
| place = [[สยาม]], [[เขตตะนาวศรี]]
| territory = พม่าผนวกเขตตะนาวศรีตอนใต้เป็นการถาวร<ref name=geh-202>Harvey, p. 202</ref>
| result = [[ราชวงศ์โกนบอง|อาณาจักรพม่า]]ชนะ; อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย; [[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|เกิดสภาพจลาจลขึ้นในอาณาจักรอยุธยาเดิม]] <small>...[[#เหตุการณ์ภายหลัง|ดูเพิ่ม]]</small>
| status =
| combatant1 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px]] [[อาณาจักรอยุธยา]]
| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[ราชวงศ์โกนบอง|อาณาจักรโกนบอง]]

| commander1 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px]] [[พระเจ้าเอกทัศ]] †<!-- สวรรคตด้วยเหตุอื่น --><br>[[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px]] [[พระเจ้าอุทุมพร]]
| commander2 = [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[พระเจ้ามังระ]]<br>[[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[เนเมียวสีหบดี]]<br><small> (แม่ทัพฝ่ายเหนือ) </small><br>[[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[มังมหานรธา]] †{{Ref_label|B|II|none}}<!--ป่วย--><br><small> (แม่ทัพฝ่ายใต้) </small>
| units1 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px]] กองทัพแห่งอาณาจักรสยาม
| units2 = [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|22px]] กองทัพแห่ง[[ราชวงศ์โกนบอง|อาณาจักรพม่า]] ประกอบด้วย:<br/>
: [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|22px]] กองทัพ[[รัฐชาน|ฉาน]]
: [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|22px]] กองทัพ[[ล้านช้าง]]
: [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|22px]] อัศวานึกจาก[[มณีปุระ]]
: [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|22px]] ทหารเกณฑ์จาก[[มอญ]]
: [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|22px]] ทหารเกณฑ์จาก[[สยาม]]
| strength1 =
'''การป้องกันเริ่มต้น:'''{{Ref_label|C|III|none}}<br/>
* ทางเหนือ: ไม่ทราบ
* ทางใต้: มากกว่า 60,000 นาย<ref name=dkw-118/>

'''นนทบุรี:''' 60,000 นาย<ref name=dkw-118/> <br/>
'''นอกอยุธยา''': 50,000 นาย<ref name=mha-184/> <br/>
'''ล้อมกรุงอยุธยา:''' ไม่ทราบ
| strength2 =
'''การรุกรานครั้งแรก:'''{{Ref_label|D|IV|none}}<br/>
40,000<ref name=geh-250>Harvey, p. 250</ref>ถึง 50,000<ref name=kt-300>Kyaw Thet, pp. 300–301</ref>
* ทางเหนือ: 20,000 นาย
* ทางใต้: 20,000–30,000 นาย

'''นนทบุรี:''' 20,000 นาย<ref name=geh-250/> <br/>
'''นอกอยุธยา:''' 50,000 นาย<ref name=mha-184>Htin Aung, p. 184</ref> <br/>
'''ล้อมกรุงอยุธยา:''' 40,000+ นาย
| strength3 =
| casualties1 = ทหารและพลเรือนเสียชีวิตประมาณ 200,000 คน{{Ref_label|E|V|none}}
| casualties2 = ทหารเสียชีวิตประมาณ 3,000-4,000 นาย{{Ref_label|E|V|none}}
| casualties3 =
| notes =
}}

'''การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง'''หรือ '''สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง''' เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่าง[[ราชวงศ์โกนบอง]]แห่ง[[พม่า]] กับ[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]แห่ง[[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยา]] ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310{{Ref_label|A|I|none}}

ยุทธนาการนี้เป็นผลพวงของ[[สงครามพระเจ้าอลองพญา]]เมื่อ พ.ศ. 2303 และอุบัติขึ้นใน พ.ศ. 2308 เมื่อพม่าส่งกองทัพเข้าบุกครองอยุธยาเป็นสองทางแบบคีม ทัพพม่าพิชิตการป้องกันของฝ่ายอยุธยาที่ประกอบด้วยกำลังอันเหนือกว่าแต่ขาดการประสานงานกันได้ และเริ่ม[[การล้อมอยุธยา (2309-2310)|ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 14 เดือน]]<ref name=geh-250-253>Harvey, pp. 250-253</ref><ref name=app-188-189>Phayre, pp. 188-189</ref> กระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 พระเจ้าเอกทัศทรงยอมเป็นประเทศราชของพม่า แต่พม่าประสงค์ให้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข<ref name=dkw-118/> ในที่สุด กองทัพพม่าหักเข้าพระนครได้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ แล้วทำลายล้างพระนคร ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-พม่าเสื่อมลงจนถึงปัจจุบัน

การเสียกรุงครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลายลงแล้ว ตะนาวศรีตอนใต้ยังได้ตกเป็นของพม่าเป็นการถาวร<ref name=geh-202/> และเกิด[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง]]ในระดับต่าง ๆ จนแทบนำไปสู่การล่มสลายของรัฐไทย<ref name="นิธิ3-5">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 3-5.</ref> อย่างไรก็ดี พม่าจำต้องถอนกำลังส่วนใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิมกลับคืนประเทศไปเมื่อถูกจีนบุกครอง จึงเป็นเหตุให้[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ทรงเถลิงอำนาจและตั้งอาณาจักรของคนไทยใหม่

== ประวัติ ==
=== เหตุวุ่นวายในราชสำนักปลายกรุงศรีอยุธยา ===
[[สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ]] [[รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา]]นั้น มีพระนามเดิมว่า "กรมขุนอนุรักษ์มนตรี" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ]] พระองค์แรก คือ [[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์|เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์]] หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ผู้ต้องพระราชอาญาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว<ref name=v/>

คราวต้องเวนราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศไม่โปรดกรมขุนอนุรักษ์มนตรี<ref name=v/> จึงทรงข้ามไปพระราชทานพระราชบัลลังก์ให้พระราชโอรสองค์ที่ 3 คือ ''เจ้าฟ้าอุทุมพร'' ผู้มีพระปรีชาสามารถมากกว่า แทน<ref name=v/> ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เจ้าฟ้าอุทุมพรก็ราชาภิเษกเป็น[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]] เสวยราชย์ได้ไม่ถึง 3 เดือน กรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ตั้งพระองค์เองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง เป็นเหตุให้กรมหมื่นจิตรสุนทร, กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนก ซึ่งมักเรียกรวมกันว่า "[[เจ้าสามกรม]]" ทรงไม่พอพระทัยเป็นอันมาก และคิดกบฏ แต่ทรงถูกเจ้าฟ้าเอกทัศจับได้ ก่อนถูกประหารชีวิตทั้งสามพระองค์ ส่วนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรนั้นทรงตัดสินพระทัยเลี่ยงไปผนวชเสียด้วยเหตุผลส่วนพระองค์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงได้ราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ<ref name=v/>

=== สภาพบ้านเมืองรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ ===
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2301 สืบมา อันเป็นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศนั้น ได้มีหลักฐานบรรยายสภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นอยู่หลายมุมมอง หลักฐานฝ่ายไทยสมัยหลังส่วนใหญ่อธิบายไว้ทำนองว่า ในรัชกาลนี้ ข้าราชการระส่ำระสาย บางคนลาออกจากราชการ และมีบาทหลวงฝรั่งเศสเขียนจดหมายเหตุว่า ในยามนั้น "''...บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตาย เอาไฟเผาบ้านเรือน จะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น...''"<ref>ขจร สุขพานิช. หน้า 269.</ref> เป็นต้น ขณะที่หลักฐานอีกฝ่ายหนึ่งมีว่าไว้ถึงพระราชกิจของพระเจ้าเอกทัศที่ถูกมองข้าม<ref>ดูเพิ่มที่ [[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์#พระราชกรณียกิจ|พระราชกรณียกิจของพระเจ้าเอกทัศ]] หรือ สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า 81-82.</ref> และมิได้มองว่า พระเจ้าเอกทัศทรงมีความประพฤติย่ำแย่เช่นนั้นเลย แต่ว่า พระองค์ ''"ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"''<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 3.</ref> เป็นต้น

ในแง่เศรษฐกิจ ความมั่งคั่งของอาณาจักรอยุธยาถดถอยลง เนื่องจากส่งของป่าออกไปขายให้ต่างประเทศได้ยากมาก อันของป่านี้เป็นสินค้าส่งออกสำคัญและสร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลมานานนับศตวรรษ ทั้งนี้ เป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านนโยบายทางการเมืองภายในที่ไม่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติครั้นเหตุประหารชีวิต[[คอนสแตนติน ฟอลคอน]]เมื่อต้น[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ประกอบกับตลาดต่างประเทศมีความต้องการสินค้าเหล่านี้น้อยลง พ่อค้าจากมหาสมุทรอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และชาติตะวันตกพากันลดการติดต่อซื้อขาย<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 120-122.</ref>

=== สงครามพระเจ้าอลองพญา ===
{{บทความหลัก|สงครามพระเจ้าอลองพญา}}
ใน พ.ศ. 2303 [[พระเจ้าอลองพญา]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์โกนบอง]] ทรงกรีฑาทัพมาชิงเอากรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หมายแผ่อิทธิพลเข้าดินแดนมะริดและตะนาวศรีและกำจัดภัยคุกคามจากอยุธยาที่มักยั่วยุให้หัวเมืองชายขอบของพม่ากระด้างกระเดื่องอยู่เสมอ<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 132.</ref> หรือไม่พระองค์ก็ทรงเห็นว่า อาณาจักรอยุธยามีความอ่อนแอ นับเป็นโอกาสอันดี<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 35.</ref> อนึ่ง ก่อนหน้านี้ อาณาจักรอยุธยาว่างเว้นการศึกกับพม่ามานานกว่า 150 ปีแล้ว<ref name="CP22"/> ทว่า กองทัพพม่าก็มิอาจเอาชัยเหนือกรุงศรีอยุธยาได้ในครานั้น เพราะพระเจ้าอลองพญาสวรรคาลัยกลางคัน กองทัพพม่าจึงต้องยกกลับไปเสียก่อน สำหรับเหตุแห่งการสวรรคตดังว่านั้น หลักฐานของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าบันทึกไว้แตกต่างกัน ไทยว่า สะเก็ดปืนแตกมาต้องพระองค์<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. หน้า 256-257.</ref> ส่วนพม่าว่า ทรงพระประชวร[[โรคบิด]]<ref>หม่องทินอ่อง. หน้า 171.</ref>

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรซึ่งตัดสินพระทัยปลีกพระองค์ไปผนวชนั้น เสด็จกลับมาราชาภิเษกอีกหนเพื่อบัญชาการรบตามคำกราบบังคมทูลเชิญของพระเจ้าเอกทัศ แต่เมื่อบ้านเมืองคืนสู่ความสงบ พระเจ้าเอกทัศก็ทรงแสดงพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์อีก สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงตัดสินพระทัยผนวชไม่สึกอีกเลย แม้ในระหว่างการทัพคราวต่อมา จะมีราษฎรและข้าราชการทั้งหลายถวายฎีกาให้พระองค์ลาผนวชมาป้องกันบ้านเมืองก็ตาม เพราะเหตุที่ผนวชถึงสองครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงทรงได้รับสมัญญาว่า "ขุนหลวงหาวัด"

=== สาเหตุของสงคราม ===
[[พระเจ้ามังระ]]สืบราชย์ต่อจาก[[พระเจ้ามังลอก]] พระเชษฐา ใน พ.ศ. 2306 และอาจนับได้ว่า พระเจ้ามังระมีพระราชดำริพิชิตดินแดนอยุธยานับแต่นั้น<ref name="บรรพบุรุษ133">วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 133.</ref> ในคราวที่พระเจ้าอลองพญาเสด็จมาบุกครองอาณาจักรอยุธยานั้น พระเจ้ามังระก็ทรงร่วมทัพมาด้วย หลังเสวยราชย์แล้ว ด้วยความที่ทรงมีประสบการณ์ในการณรงค์หนก่อน พระเจ้ามังระจึงทรงทราบจุดอ่อนของอาณาจักรอยุธยาพอสมควร และตระเตรียมงานสงครามไว้เป็นอันดี

ในรัชกาลพระเจ้ามังระ มีการปราบกบฏในแว่นแคว้นต่าง ๆ และพระองค์ก็ทรงเห็นความจำเป็นต้องลดอำนาจของกรุงศรีอยุธยาลง ถึงขนาดต้องให้แตกสลายหรืออ่อนแอไป เพื่อมิให้เป็นที่พึ่งของเหล่าหัวเมืองที่คิดตีตัวออกห่างได้อีก พระองค์ไม่มีพระราชประสงค์ในอันที่จะขยายอาณาเขตอย่างเคย ในเวลาไล่เลี่ยกัน หัวเมืองล้านนาและหัวเมืองทวายก็กระด้างกระเดื่องต่ออาณาจักรพม่า<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ''. หน้า 542.</ref><ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. หน้า 311.</ref> พระเจ้ามังระจึงต้องทรงส่งรี้พลไปปราบกบฏเดี๋ยวนั้น ฝ่ายพม่าบันทึกว่า อยุธยาได้ส่งกำลังมาหนุนกบฏล้านนานี้ด้วย แต่พงศาวดารไทยระบุว่า ทหารอยุธยาไม่ได้ร่วมรบ เพราะพม่าปราบปรามกบฏเสร็จก่อนกองทัพอยุธยาจะไปถึง<ref name=dkw-117>Wyatt, p. 117</ref>

นอกจากนี้ คาดว่ามีสาเหตุอื่น ๆ อันนำไปสู่การสงครามกับอยุธยาด้วย เป็นต้นว่า อยุธยาไม่ส่งหุยตองจา ที่เป็นผู้นำกบฏมอญ คืนพม่าตามที่พม่าร้องขอ (ตามความเข้าใจของชาวกรุงเก่า)<ref>อนันต์ อมรรตัย. หน้า 167.</ref>, พระเจ้ามังระหมายพระทัยจะเป็นใหญ่เสมอ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 26.</ref>, หลังพระเจ้าอลองพญารุกรานในครั้งก่อน มีการตกลงว่าฝ่ายอยุธยาจะถวายราชบรรณาการ แต่กลับบิดพลิ้ว (ปรากฏใน ''The Description of the Burmese Empire'')<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 28.</ref> หรือไม่ก็พระเจ้ามังระมีพระดำริว่า อาณาจักรอยุธยาอ่อนแอ จึงสบโอกาสที่จะเข้าช่วงชิงเอาทรัพย์ศฤงคาร<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 55.</ref> และจะได้นำไปใช้เตรียมตัวรับ[[สงครามจีน-พม่า|ศึกกับจีน]]ด้วย<ref>ดนัย ไชยโยค. หน้า 87.</ref>

== การจัดเตรียม ==
=== ฝ่ายพม่า ===
ด้านแม่ทัพของพระเจ้ามังระกราบทูลให้ใช้การตีกระหนาบแบบคีมจากทั้งทางเหนือและทางใต้<ref name=hj-302>James, p. 302</ref> ในพงศาวดารฉบับหอแก้วและโกนบองได้ระบุว่า พระเจ้ามังระทรงดำริว่า หากจะส่งเนเมียวสีหบดีนำกองทัพไปทำสงครามกับอยุธยาเพียงด้านเดียวเห็นจะไม่พอ จึงโปรดให้มังมหานรธานำทัพรุกรานมาอีกด้านหนึ่งด้วย<ref>พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. หน้า 100.</ref> โดยก่อนหน้านั้น กองทัพทั้งสองได้รับมอบหมายให้บรรลุภารกิจอื่นเสียก่อน คือ การปราบกบฏต่อพม่า ทั้งทางเหนือและทางใต้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมความสำเร็จในการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอันเป็นเป้าหมายหลัก

ฝ่ายเนเมียวสีหบดีมีหน้าที่ปราบกบฏในแคว้นล้านนา กองทัพเนเมียวสีหบดีเคลื่อนไปกะเกณฑ์ผู้คนทางหัวเมืองฉาน โดยทหารฉานนั้นมีเจ้าฟ้าทั้งหลายเป็นผู้นำ<ref name=geh-250>Harvey, p. 250</ref> อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ยินดีกับการเกณฑ์ทหาร เจ้าฟ้าบางองค์ในฉานทางเหนือหลบหนีไปเมืองจีน แล้วฟ้องแก่จักรพรรดิจีน<ref name=app-192-201>Phayre, pp. 192-201</ref><ref name=dgeh-xi-27>Hall, Chapter XI, p. 27</ref> หลังจากเกณฑ์ทหารได้แล้ว เนเมียวสีหบดียกทัพจากเมืองเชียงตุงเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ และสามารถปราบปรามกบฏลงได้อย่างราบคาบ และภายในฤดูฝน พ.ศ. 2307 ได้ยกขึ้นไปปราบเมือง[[ล้านช้าง]]ได้ทั้งหมด และล้านช้างถูกบีบบังคับให้เกณฑ์ทหารเข้าร่วมทัพฝ่ายเหนือ<ref name=app-187>Phayre, pp. 187-188</ref> ก่อนจะจัดเตรียมทัพยกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาที่เมืองลำปาง และเริ่มเคลื่อนทัพเมื่อฤดูหนาวของปี พ.ศ. 2307<ref>ลำจุล ฮวบเจริญ. หน้า 18-22.</ref>

ขณะที่ทางพม่าได้เกิดกบฏขึ้นที่เมืองมณีปุระ พระเจ้ามังระทรงตัดสินพระทัยไม่เรียกทัพกลับ ทรงนำกองทัพไปปราบกบฏด้วยพระองค์เอง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2307 เสร็จแล้วจึงทรงส่งกองทัพหนุนมาให้ทัพฝ่ายใต้ ทัพของมังมหานรธามีทหารเดิม 20,000 นาย ทำให้มีทหารเพิ่มขึ้นอีก 30,000 นาย<ref name=geh-248>Harvey, p. 248</ref> ทัพพม่าของมังมหานรธา จึงมีทหารรวมทั้งสิ้น 50,000 นาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นการระดมทหารครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง|สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง]]<ref name=geh-333>Harvey, pp. 333-335</ref> นอกจากนี้ ฝ่ายพม่ายังมีกำลังปืนใหญ่ 200 นายที่เป็นทหารบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสที่ถูกจับเป็นเชลยเมื่อคราวพม่าเกิดศึกภายในด้วย

ฝ่ายทัพมังมหานรธา ราว พ.ศ. 2307 มีราชการต้องปราบกบฏที่[[ทวาย]] ต่อมาโจมตีลึกเข้าไปถึงเพชรบุรี แต่ถูกขัดขวางจากทัพอยุธยาต้องยกทัพกลับ ศึกครั้งนี้​อยุธยาเสียทวาย และตะนาวศรีเป็นการถาวร<ref>ดนัย ไชยโยค. หน้า 86-87.</ref> หลังจากที่ได้พักค้างฝนที่ทวายใน พ.ศ. 2308 พร้อมกะเกณฑ์ไพร่พลจาก[[หงสาวดี]] เมาะตะมะ [[มะริด]] ทวาย และ[[ตะนาวศรี]] เข้าสมทบในกองทัพ จนย่างเข้าฤดูแล้ง พ.ศ. 2309 จึงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาตามนัดหมายในเวลาใกล้เคียงกับทัพของเนเมียวสีหบดี<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 15-16.</ref>

=== แผนการรบ ===
แผนการรบฝ่ายพม่าส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ในสงครามพระเจ้าอลองพญา ประการแรก ในคราวนี้มีการวางแผนจะโจมตีหลายทางเพื่อกระจายการป้องกันที่มีกำลังพลมากกว่าของอยุธยา<ref name=hj-302/> พม่าจะหลีกเลี่ยงเส้นทางโจมตีเพียงด้านเดียวตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยแคบ ๆ ซึ่งหากถูกฝ่ายอยุธยาพบแล้วจะถูกสกัดอย่างง่ายดายโดยฝ่ายอยุธยาที่มีกำลังพลมากกว่า ในสงครามคราวก่อน ฝ่ายพม่าถูกชะลอให้ต้องใช้เวลาเกือบสามเดือนเพื่อสู้รบออกจากแนวชายฝั่ง<ref name=aa-147>Alaungpaya Ayedawbon, pp. 147–148</ref>

ประการที่สอง พม่าจะต้องเริ่มการรุกรานให้เร็วที่สุดเพื่อให้มีเวลาทำสงครามในฤดูแล้งให้ได้นานที่สุด ในสงครามคราวที่แล้ว พระเจ้าอลองพญาเริ่มต้นรุกรานช้าเกินไป<ref name=geh-242>Harvey, p. 242</ref> ทำให้เมื่อกองทัพพม่ามาถึงกรุงศรีอยุธยาในเดือนเมษายน ก็เหลือเวลาเพียงเดือนเดียวก่อนที่จะถึงฤดูน้ำหลาก คราวนี้ฝ่ายพม่าจึงเริ่มต้นรุกรานตั้งแต่กลางฤดูฝน โดยหวังว่าจะไปถึงกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้นฤดูแล้งพอดี<ref name=app-188/>

=== ฝ่ายอยุธยา ===
ทางด้านการปฏิบัติของอาณาจักรอยุธยาระหว่างการทัพทั้งสองนั้น กษัตริย์อยุธยาได้ทรงส่งกองทัพมาช่วยเหลือเชียงใหม่ให้เป็นกบฏต่อพม่า และช่วยหัวเมืองมอญที่เมืองทวายให้ประกาศอิสรภาพ ทำให้กองทัพพม่าต้องส่งกองทัพไปตีดินแดนทั้งสองคืน เลยไปจนถึงอาณาจักรล้านช้าง เพื่อตัดชัยชนะของกรุงศรีอยุธยา<ref name="หม่องทินอ่อง175"/> และในการรุกรานกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้ามังระ กองทัพอยุธยาก็ยังคงเตรียมตัวรับกองทัพพม่าในพระนครอีกเช่นเดิม<ref name="หม่องทินอ่อง175"/>

พระเจ้าเอกทัศทรงระดมทหารครั้งใหญ่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มังมหานรธายกกองทัพลงใต้มายึดทวายเป็นการถาวรเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2307 การป้องกันด้านทิศใต้ประกอบด้วยทหารมากกว่า 60,000 นาย ซึ่งพระเจ้าเอกทัศทรงวาง "กำลังที่ดีที่สุด" ไว้ตลอดทางตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่[[ด่านเจดีย์สามองค์]]มาจนถึง[[กาญจนบุรี]] ผ่านทวาย ไปจนถึงอ่าวไทยที่อยู่ทางใต้สุดเพื่อรับมือกับมังมหานรธา<ref name=tmu-99>Myint-U, p. 99</ref> ส่วนทางด้านทิศเหนือ แนวป้องกันหลักของอยุธยาเริ่มตั้งแต่[[สุโขทัย]]และ[[พิษณุโลก]] ส่วนการป้องกันที่อยู่เหนือไปกว่านี้มีการจัดตั้งเป็นค่ายทหารขนาดเล็กโดยผู้นำท้องถิ่น<ref name=app-188>Phayre, p. 188</ref><ref name=geh-250/>

ฝ่ายอยุธยายังคงเน้นการตั้งรับในพระนคร โดยใช้แผนตั้งรับจนถึงฤดูน้ำหลากแล้วรอจนกองทัพข้าศึกถอยทัพกลับไปเอง ยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้เอาชนะข้าศึกมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ฝ่ายอยุธยายังมีเงินพอจะซื้อปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ด้วย ปืนใหญ่บางกระบอกยาวถึง 9 เมตร และยิงลูกปืนใหญ่น้ำหนักกว่า 45 กิโลกรัม<ref name=geh-252>Harvey, p. 252</ref> และครั้งเมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ทหารพม่าได้ไปพบปืนคาบศิลาใหม่กว่า 10,000 กระบอก และเครื่องกระสุนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ใช้ แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการล้อมนาน 14 เดือนก็ตาม<ref name=chsea-38>Tarling, p. 38</ref> นอกจากนี้ ฝ่ายอยุธยายังได้มีการใช้ทหารรับจ้างต่างด้าวเพื่อเสริมทัพด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปและชาวจีน โดยมีเรือรบอังกฤษอย่างน้อยหนึ่งลำถูกจัดให้ป้องกันด้านปีกด้วย<ref name=geh-250/>

[[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] กล่าวว่า รัฐบาลอยุธยาเองก็เห็นว่ายุทธศาสตร์การตั้งรับในพระนครเห็นจะไม่ไหว จำต้องไม่ให้ข้าศึกประชิดพระนครอย่างยุทธศาสตร์ของ[[สมเด็จพระนเรศวร]] เพียงแต่ว่าระบบป้องกันตนเองของอยุธยามีจุดอ่อนมาก่อนแล้ว จึงทำให้รัฐบาลต้องเตรียมการป้องกันพระนครควบคู่ไปด้วย ดังที่เห็นได้จากการเตรียมเสบียงอาหารและเกณฑ์กองทัพหัวเมือง เพียงแต่ว่าการเกณฑ์กองทัพหัวเมืองได้ทหารจำนวนไม่มากนัก ซึ่งคงเป็นผลมาจากระบบป้องกันตนเองที่มีปัญหานั่นเอง<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 21-25.</ref> ตรงกันข้ามกับ [[สุเนตร ชุตินธรานนท์]] ที่เห็นว่าทางการอยุธยายังคงใช้พระนครเป็นปราการรับข้าศึกตามยุทธศาสตร์เดิมแต่โบราณ<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า (23).</ref>

== การทัพ ==
=== การรุกรานช่วงฤดูฝน ===
กองทัพฝ่ายเหนือของอาณาจักรพม่า ภายใต้การบัญชาการของเนเมียวสีหบดี ได้จัดแบ่งกำลังพลออกเป็นทัพบกและทัพเรือ ทั้งหมดยกออกจากลำปางในเดือนกันยายน พ.ศ. 2308 ลงมาตาม[[แม่น้ำวัง]] ซึ่งการรุกรานของกองทัพฝ่ายเหนือนั้นถูกชะลอลงอย่างมากเนื่องจากฤดูฝนและผู้นำท้องถิ่น ทำให้เนเมียวสีหบดีต้องโจมตีเมืองแล้วเมืองเล่าไปตลอดทาง<ref name=app-188/><ref name=geh-250/> ท้ายที่สุดแล้วก็ยึดได้เมืองตากและกำแพงเพชรเมื่อสิ้นฤดูฝน

ในเวลาเดียวกัน มังมหานรธาได้เปิดฉากการโจมตีจากทางใต้ในช่วงกลางเดือนตุลาคมโดยแบ่งการโจมตีออกเป็นสามทาง กองทัพฝ่ายใต้ของพม่ามีทหาร 20,000 ถึง 30,000 นาย กองทัพขนาดเล็กถูกส่งผ่านด่านเจดีย์สามองค์มุ่งไปยังสุพรรณบุรี ส่วนกองทัพขนาดเล็กอีกกองหนึ่งรุกลงใต้ไปตามชายฝั่งตะนาวศรีมุ่งหน้าไปยังมะริดและตะนาวศรี และกองทัพหลักฝ่ายใต้รุกรานผ่านด่านเมียตตา และกาญจนบุรีเสียแก่ข้าศึกโดยมีการต้านทานเพียงเล็กน้อย<ref name=kt-300/>

เหตุหลักที่กาญจนบุรีเสียแก่พม่าโดยง่ายนั้นอาจเป็นเพราะทหารพม่ากรำศึกกว่าทหารอยุธยา แต่ก็อาจอธิบายได้ว่าแม่ทัพอยุธยาคำนวณผิดพลาดถึงเส้นทางเดินทัพหลักของพม่า และไม่มีการเสริมกำลังอย่างเพียงพอเพื่อให้เมืองสามารถต้านทานการโจมตีขนาดใหญ่ได้ หากตัดสินจากการรายงานเส้นทางโจมตีของฝ่ายพม่าจากพงศาวดารไทยแล้ว พบว่าแม่ทัพอยุธยาดูเหมือนจะเชื่อว่าเส้นทางโจมตีหลักของพม่าจะมาจากชายฝั่งอ่าวไทย แทนที่จะเป็นเส้นทางที่สั้นและชัดเจนที่สุดผ่านทางกาญจนบุรี หลักฐานไทยระบุว่าเส้นทางโจมตีหลักของมังมหานรธามาจากตะนาวศรีตอนใต้ โดยข้ามเทือกเขาตะนาวศรีที่[[ชุมพร]]และ[[เพชรบุรี]]<ref name=sea-102>Steinberg, et al, p. 102</ref><ref name=dkw-117/> อันเป็นเส้นทางที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับเส้นทางกาญจนบุรีที่บันทึกไว้ในพงศาวดารพม่า นักประวัติศาสตร์เกียว เติด ระบุเพิ่มเติมโดยเฉพาะว่าเส้นทางโจมตีหลักคือทางด่านเมียตตา<ref name=kt-300/>

=== การรุกรานช่วงฤดูแล้ง ===
หลังจากยึดกาญจนบุรีแล้ว กองทัพฝ่ายใต้ของมังมหานรธาเดินทัพต่อมายังอยุธยา และเผชิญการต้านทานเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งมาถึง[[นนทบุรี]] ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยามาทางทิศใต้ 60 กิโลเมตร ซึ่งอยุธยาตั้งแนวป้องกันสำคัญขึ้นขัดเส้นทางมุ่งสู่พระนคร ฝ่ายอยุธยาใช้กองทัพบกและกองทัพเรือโจมตีค่ายพม่าร่วมกัน กองทัพเรือประกอบด้วยเรือรบหลายลำและเรืออังกฤษลำหนึ่งที่ใช้ยิงปืนใหญ่ถล่มที่ตั้งของพม่า แต่ทหารพม่าสามารถป้องกันค่ายไว้ได้ และทหารอยุธยาถอยทัพกลับไป ส่วนเรืออังกฤษลำนั้นหนีออกทะเลไป<ref name=geh-250/>

หลังจากนั้นกองทัพมังมหานรธาก็ไปเผชิญกับกองทัพอยุธยาที่มีกำลังพล 60,000 นายใกล้กับทางตะวันตกของกรุง แต่ถึงแม้ว่าจะมีกำลังต่างกันหลายเท่าก็ตาม ทหารพม่าที่กรำศึกกว่าก็สามารถเอาชนะได้ จนทหารอยุธยาต้องหนีกลับไปตั้งมั่นอยู่ในพระนคร<ref name=dkw-118/> มังมหานรธาใช้เวลาเพียงสองเดือนก็มาถึงพระนคร แต่ต้องเคลื่อนทัพไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเพราะกองทัพฝ่ายเหนือของเนเมียวสีหบดียังมาไม่ถึง เขาตั้งค่ายใหญ่ไว้ที่เจดีย์ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างไว้เมื่อสองศตวรรษก่อน<ref name=geh-251>Harvey, p. 251</ref>

ขณะเดียวกัน กองทัพฝ่ายเหนือของเนเมียวสีหบดียังคงติดอยู่ทางตอนเหนือของอยุธยา ถึงแม้ว่าอัตราการเคลื่อนทัพจะเร็วขึ้นมากแล้วหลังสิ้นฤดูฝน หลังจากยึดกำแพงเพชรได้แล้ว เนเมียวสีหบดีเปลี่ยนเส้นทางไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และสามารถยึดหัวเมืองหลักทั้งเหนือคือ [[สุโขทัย]]และ[[พิษณุโลก]]ได้เป็นผลสำเร็จ (ส่วนในหลักฐานไทยไม่มีระบุว่า กองทัพพม่ายกเข้าตีเมืองพิษณุโลก<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. หน้า 346.</ref>) ที่พิษณุโลก เนเมียวสีหบดีพักทัพไว้ระยะหนึ่งเพื่อฟื้นฟูกำลังทหารที่สูญเสียไปในการทัพอันทรหดและโรคระบาด ผู้นำท้องถิ่นถูกบังคับให้ดื่มน้ำสาบานความภักดีและจัดหาทหารเกณฑ์ให้แก่พม่า เช่นเดียวกับมังมหานรธาที่หาทหารเกณฑ์เพิ่มเติมจากในท้องที่นอกพระนครนั้นเอง<ref name=app-188/><ref name=geh-251/>

ขณะที่พม่ากำลังฟื้นฟูกำลังทหารของตน ทางการไทยได้ส่งทหารอีกกองหนึ่งเพื่อมายึดพิษณุโลกคืน แต่ถูกตีแตกพ่ายกลับไปโดยประสบความสูญเสียอย่างหนัก นับเป็นความพยายามป้องกันครั้งสุดท้ายในทางเหนือ การป้องกันของอยุธยาพังทลายลงหลังจากนั้น กองทัพพม่าเคลื่อนลงมาทางเรือตาม[[แม่น้ำน่าน]] ยึดได้เมืองพิชัย [[พิจิตร]] [[นครสวรรค์]] ลงมาจนถึง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]จนถึง[[อ่างทอง]]<ref name=dkw-117/> เนเมียวสีหบดีมาถึงชานพระนครเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2309 และสามารถติดต่อกับกองทัพมังมหานรธาได้<ref name=app-188/>

ทางด้านในกรุงได้ส่งกองทัพออกไปรับกองทัพเนเมียวสีหบดีที่ปากน้ำประสบ ริมแม่น้ำลพบุรีเก่าหรือโพธิ์สามต้น มีพระยากูระติเป็นแม่ทัพบก พระยาคะรานหรือพระยากลาโหมเป็นแม่ทัพเรือ กองทัพอยุธยาถูกตีแตก พม่าสามารถริบไพร่พลและยุทธปัจจัยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งพระยากลาโหมก็ตกเป็นเชลย แล้วจึงยกกองทัพมาตั้งยังปากน้ำประสบ ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ในกรุงก็ได้ส่งพระยาพลเทพออกรับกองทัพมังมหานรธาที่เมืองสีกุก กองทัพพม่ารบชนะได้เคลื่อนไปตั้งยังหมู่บ้านกานนี<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 33.</ref> จนเมื่อทราบว่าทัพเนเมียวสีหบดีมาถึงชานพระนครแล้วจึงย้ายมาตั้งประชิดที่ด้านหลังของพระมหาเจดีย์ภูเขาทอง<ref>''๕๓ พระมหากษัตริย์อยุธยา : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ''. หน้า 247.</ref> ในระยะไม่เกิน 1.25 ไมล์จากกำแพงพระนคร<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 39-40.</ref> (ในพงศาวดารไทยบันทึกไว้ว่า ตั้งค่ายที่ตอกระออมและดงรักหนองขาว<ref>''ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39''. หน้า 409-414.</ref>) การเคลื่อนทัพของเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาได้แสดงให้เห็นถึงปฏิบัติการที่ประสานและเกื้อหนุนแก่กัน เพราะต่างก็ร่วมดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อปิดกั้นให้อยุธยาตกอยู่ในสภาพที่จนตรอกคือ ช่วยกันทำลายหรือมิฉะนั้นก็ยึดครองหัวเมืองรอบนอก ไม่ให้มีโอกาสเข้ามาช่วยกู้กรุงศรีอยุธยา<ref>''๕๓ พระมหากษัตริย์อยุธยา : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ''. หน้า 246.</ref>

หลักที่กองทัพทั้งสองของพม่าใช้ในการปราบปรามหัวเมืองทั้งหลายนั้นตรงกันคือ "หากเมืองใดต่อสู้ก็จะปล้นสะดมริบทรัพย์จับเชลย เป็นการลงโทษเมื่อตีเมืองได้ เมืองใดยอมอ่อนน้อมแต่โดยดีก็เพียงแต่กะเกณฑ์ผู้คนเสบียงอาหารใช้ในกองทัพ โดยไม่ลงโทษ" นอกจากนี้พม่ายังใช้การกระจายกำลังออกเกลี้ยกล่อมผู้คนพลเมืองทั่วไปในท้องถิ่นภาคกลางฝั่งตะวันตกลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงทำให้คนไทยที่เดือดร้อนไปเข้ากับพม่าเป็นอันมาก<ref>''ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39''. หน้า 412.</ref>

=== การล้อมกรุงศรีอยุธยา ===
{{บทความหลัก|การล้อมอยุธยา (2309-2310)}}
[[ไฟล์:กองกำลังฝ่ายเหนือ.jpg|thumb|right|200px|แผนที่โดยสังเขป แสดงที่ตั้งของกองกำลังฝ่ายเหนือของพม่าในสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ราว พ.ศ. 2309]]
พระเจ้าเอกทัศโปรดให้รวบรวมประชาชนและเสบียงเข้ามาไว้ในพระนคร และเตรียมการป้องกันไว้อย่างแน่นหนา โดยรอคอยฤดูน้ำหลากและอาศัยยุทธวิธีคอยตีซ้ำเมื่อกองทัพพม่าถอนกำลังออกไป อย่างไรก็ตาม ฝ่ายอยุธยาก็มิได้ตั้งรับอยู่ในพระนครแต่เพียงฝ่ายเดียว ยังส่งกำลังออกไปโจมตีค่ายเนเมียวสีหบดีและค่ายมังมหานรธาอยู่หลายครั้ง<ref name="คองบอง44-45">สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 44-45.</ref> ส่วนทางด้านกองทัพพม่ากระจายกำลังออกล้อมกรุงเอาไว้ทุกด้าน พยายามเข้าประชิดกำแพงพระนครหลายครั้งก็ไม่ประสบผล จึงยังมีราษฎรหลบหนีภัยพม่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงอยู่เสมอ สำหรับเสบียงอาหารในกรุงก็ยังคงบริบูรณ์ดีอยู่ ดังปรากฏในจดหมายเหตุของบาทหลวงฝรั่งเศสว่า "...''เมื่อพม่าเข้าตั้งประชิดพระนครและล้อมกรุงอย่างกวดขันขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2309 นั้น เสบียงอาหารในกรุงก็ยังบริบูรณ์ดี มีแต่ขอทานเท่านั้นที่อดตาย''..."<ref>''ประชุมพงศาวดารภาคที่ 39''. หน้า 414.</ref>

[[ไฟล์:An account of an embassy to the kingdom of Ava 00493-s.gif|thumb|left|เรือรบพม่าสมัยราชวงศ์โกนบอง]]
เมื่อฤดูน้ำหลากใกล้เข้ามา แม่ทัพพม่าบางส่วนเห็นว่าควรจะล้มเลิกการรุกรานเสีย แต่มังมหานรธาและเนเมียวสีหบดีไม่เห็นด้วย และกองทัพพม่าเตรียมพร้อมรับการไหลหลากของน้ำด้วยการสร้างเรือและเขื่อนบนที่สูง<ref name=app-189>Phayre, p. 189</ref> ครั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก มังมหานรธาให้กองทัพรวบรวมเสบียงอาหารสำรองไว้ใช้ ให้ทหารปลูกข้าวในที่นาละแวกใกล้เคียง<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 48-49.</ref> ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ทหารพม่าถูกแบ่งแยกเป็นหลายส่วนบนเกาะประดิษฐ์เหล่านั้น<ref name=app-189/> ในระหว่างวันที่ 5-10 หลังฤดูน้ำหลากเริ่มต้น เรืออยุธยาถูกส่งออกไปโจมตีค่ายมังมหานรธาและค่ายเนเมียวสีหบดี ครั้งแรกมีพระยาตาน และครั้งที่สองมีพระยากูระติเป็นแม่ทัพตามลำดับ<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 49-51.</ref> ในการรบคราวแรกนั้นพระยาตานถูกยิงด้วยปืนคาบศิลา และกองเรือที่ถูกส่งออกมานั้นก็หนีกลับเข้าพระนคร ส่วนในการเผชิญหน้าอีกคราวหนึ่งนั้น ปืนใหญ่อยุธยาสามารถทำลายเรือพม่าได้สองลำ พร้อมฆ่าทหารไปหลายนาย<ref name=geh-252/>

หลังฤดูน้ำหลากผ่านพ้นไป อยุธยาพยายามที่จะตีค่ายพม่าพร้อมกับสร้างแนวปะทะใหม่ขึ้น โดยส่งพระยาไต๊ตีค่ายมังมหานรธา และส่งพระยาพระนริศตีค่ายเนเมียวสีหบดี แต่ก็ถูกตีแตกกลับมาทั้งสองทาง พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้เพิ่มการป้องกันให้แน่นหนาขึ้น และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างค่ายล้อมกรุงเอาไว้ทุกด้าน<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 51-52.</ref> ฝ่ายพม่าก็พยายามเคลื่อนเข้าใกล้กำแพงพระนครขึ้นทุกขณะ เมื่อถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2309 ฝ่ายพม่าก็เข้ามาตั้งติดกำแพงพระนครห่างกันเพียงแค่ระยะปืนใหญ่<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 54.</ref> ส่วนฝ่ายพม่าได้ก่อมูลดินขึ้นรอบพระนคร โดยบางกองนั้นสูงกว่ากำแพงเมือง แล้วยิงปืนใหญ่เข้าไปในกรุงและพระราชวัง<ref name=geh-252/> ปลายปี พ.ศ. 2309 พระยาตากและพระยาเพชรบุรีนำกำลังทางน้ำไปโจมตีเพื่อปลดปล่อยวงล้อม แต่ประสบความพ่ายแพ้ พระยาเพชรบุรีก็เสียชีวิตในที่รบ พระยาตากซึ่งถูกประณามว่าเป็นต้นเหตุของความพ่ายแพ้คราวนั้น ก็นำทหารของตัวฝ่าวงล้อมไปทางตะวันออก ในระหว่างที่อยู่ภายใต้วงล้อมนี้ การวางแนวปะทะของอยุธยาไม่สามารถพลิกผลของสถานการณ์ได้เลย ในพระนครเริ่มขาดแคลนอาหาร ประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจของกองทัพตกต่ำ ช่วงต้นปี พ.ศ. 2310 เกิดเพลิงไหม้ในพระนครซึ่งเผาผลาญบ้านเรือนไปกว่า 10,000 หลังคาเรือน<ref name=dkw-118/>

มังมหานรธาเสนอในที่ประชุมแม่ทัพนายกองแนะให้ใช้อุบายลอบขุดอุโมงค์เข้าไปในกรุง พร้อมกับสร้างค่ายทหารขึ้น 27 ค่ายล้อมรอบพระนคร ซึ่งรวมไปถึงเพนียด วัดสามพิหาร วัดมณฑบ วัดนางปลื้ม และวัดศรีโพธิ์ เพื่อจะได้ยิงปืนใหญ่ด้วยความแม่นยำยิ่งขึ้น<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 56-58.</ref> อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพหัวเมืองทางเหนือราว 20,000 นาย มาช่วยอยุธยา แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปอย่างง่ายดาย<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 58.</ref>

ระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทหารพม่าก็เริ่มการขุดอุโมงค์ด้านหัวรอจำนวน 5 แห่งอย่างเป็นขั้นตอน<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 61-62.</ref> โดยตั้งค่ายใหม่เพิ่มอีก 3 แห่ง พร้อมกับยึดค่ายป้องกันพระนครทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด และยึดค่ายป้องกันทางด้านทิศใต้ภายในเดือนมีนาคม<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 62-65.</ref> ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 พระเจ้าเอกทัศทรงแต่งทูตออกไปเจรจาขอเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่แม่ทัพพม่าก็ปฏิเสธ โดยอ้างพระบรมราชโองการของพระเจ้ามังระ<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 59-60.</ref> และต้องการการยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข<ref name=dkw-118/> มังมหานรธาเสียชีวิตในช่วงนี้ และพระเจ้ามังระมีพระราชโองการให้ฝังศพอย่างสมเกียรติเป็นพิเศษ หลังจากนี้เนเมียวสีหบดีก็ได้เป็นแม่ทัพใหญ่พม่าแต่เพียงผู้เดียว<ref name=geh-252/>

ต่อมา ฝ่ายเนเมียวสีหบดีก็เสนอแก่นายกองทั้งหลายให้ใช้ไฟสุมเผารากกำแพงเมืองจากใต้อุโมงค์ซึ่งขุดไว้แล้ว จากนั้นก็ตกลงกันเตรียมเชื้อเพลิงและกำลังพลไว้พร้อม<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 67.</ref>

=== เสียกรุง ===
<!--[[ไฟล์:พม่าปิดล้อมกรุงศรีฯ2310.jpg|thumb|right|250px|กองทัพพม่าจุดไฟสุมรากกำแพงกรุงศรีอยุธยาจนทรุดถล่มลงมา กรุงศรีอยุธยาเสียแก่กองทัพพม่าในคืนวันเดียวกัน]]-->
ครั้นถึงวันที่ [[7 เมษายน]] [[พ.ศ. 2310]]{{Ref_label|A|I|none}} เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริม[[ป้อมมหาชัย]] และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 169.</ref>

== สถานการณ์ทางทหารระหว่างการทัพ ==

=== การตีค่ายบางระจัน ===
{{บทความหลัก|การรบที่บางระจัน}}

ในขณะเดียวกับที่กองทัพพม่าฝ่ายเหนือยกทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยาผ่านหัวเมืองต่าง ๆ นั้น ปรากฏว่าได้มีทหารพม่ากองหนึ่งกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สิน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก จนมีการรวมตัวกันเข้าของชาวเมืองวิเศษชัยชาญและชาวเมืองใกล้เคียง ภายใต้การนำของ[[พระครูธรรมโชติ]] และหัวหน้าชาวบ้านจำนวน 11 คน สามารถทำการรบต้านทานการเข้าตีของพม่าได้ถึง 8 ครั้ง แต่สุดท้าย ค่ายบางระจันถูกตีแตกด้วยยุทธวิธีของ[[สุกี้พระนายกอง|สุกี้]] เมื่อวันที่ [[23 มิถุนายน]] พ.ศ. 2309 รวมเวลาต้านกองทัพพม่าได้นาน 5 เดือน ซึ่งการรบของชาวค่ายบางระจัน "นับว่าเข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น"<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 91.</ref>

พงศาวดารไทยและพม่าไม่ค่อยจะกล่าวถึงชาวบ้านบางระจันมากนัก โดยเป็นการกล่าวถึงแบบรวบรัด เนื่องจากพงศาวดารมักจะกล่าวถึงความขัดแย้งในระดับรัฐต่อรัฐเท่านั้น<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 53.</ref>หรือเพราะชาวบ้านบางระจันทำการรบเพื่อป้องกันตนเอง<ref>[http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2805 กรุงธนบุรี]. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24. สืบค้น 19-8-2554.</ref> หรือมิฉะนั้นก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเลยก็เป็นได้ ในพงศาวดารพม่ากล่าวถึง "ผู้นำเล็กน้อย" ที่หยุดการรุกกองทัพฝ่ายเหนือ แต่ระบุไว้ว่า เกิดขึ้นในช่วงต้นของการทัพตาม[[แม่น้ำวัง]] ช่วงฤดูฝน (สิงหาคม-ตุลาคม) แม่ทัพพม่าผู้ประจำอยู่ใกล้กับอยุธยาเวลานั้น มิใช่เนเมียวสีหบดี แต่เป็นมังมหานรธา ซึ่งกองทัพฝ่ายใต้ได้ตั้งรอกองทัพฝ่ายเหนือนานนับเดือน ดูเหมือนว่าการบรรยายทั้งสอง ผู้นำเล็กน้อยที่ต้านทานเนเมียวสีหบดีในทางเหนือ และมังมหานรธาที่รั้งทัพไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ผสมกันจนเกิดเป็นตำนานดังกล่าวขึ้น<ref name=kt-300/>

=== การรบที่ปราจีนบุรี ===
{{บทความหลัก|การรบที่ปราจีนบุรี}}

ในระหว่างการทัพ [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]ได้หนีจากการคุมขังใน[[จังหวัดจันทบุรี|เมืองจันทบุรี]] พร้อมกับจัดตั้งกองทัพอาสาขึ้นเพื่อจะกู้กรุงศรีอยุธยา ในประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2309 นับได้ทหารประมาณ 10,000 นาย ยกมาตั้ง ณ [[จังหวัดปราจีนบุรี|เมืองปราจีนบุรี]] หลังจากนั้น กองทัพอาสาดังกล่าวได้ทำการรบกับทหารของทางการอยุธยา ซึ่งไม่ไว้ใจกรมหมื่นเทพพิพิธ แต่สู้รบกันหลายครั้ง ก็ไม่ได้มีผลแพ้ชนะเด็ดขาด<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 28.</ref> ก่อนที่มังมหานรธาจะทราบข่าว และได้ส่งทหาร 3,000 นาย ไปปราบกองทัพอาสา ภายหลังจากทัพหน้าถูกตีแตก แม่ทัพหน้าก็ตายในที่รบ กองทัพอาสาดังกล่าวจึงสลายตัวไป ส่วนกรมหมื่นเทพพิพิธหนีไปยัง[[จังหวัดนครราชสีมา|เมืองนครราชสีมา]]

=== การละทิ้งหน้าที่ระหว่างการทัพ ===
ในระหว่างการทัพ เจ้าเมืองที่ถูกขอความช่วยเหลือส่งความช่วยเหลือมายังกรุงศรีอยุธยาเพียงเล็กน้อย โดยหัวเมืองตามเส้นทางเดินทัพเลือกที่จะใช้กำลังเพื่อป้องกันตนเองหรือไม่ก็ยอมจำนนต่อพม่า ซ้ำยังมีไพร่พลเมืองยังติดสินบนข้าหลวงเพื่อเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร<ref name="CP22">Christopher John Baker, Pasuk Phongpaichit. หน้า 22.</ref>

ครั้นเมื่อข้าศึกเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏข้าราชการและราษฎรจำนวนมากหลบหนีไป ทำให้พวกที่เหลืออยู่ในกรุงเกิดการท้อหมดกำลังใจ ทั้งที่ผู้ซึ่งหลบหนีไปจำนวนมากนั้นได้สร้างวีรกรรมในสมัยต่อมา นอกจากนี้ กองทัพหัวเมืองทั้งหลายที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ก็คงไม่เต็มใจจะช่วยเหลือกรุง เป็นผลให้หลังจากกองทัพพิษณุโลกยกกลับไป กองทัพหัวเมืองอื่นก็ไม่มีกำลังใจอยู่ต่อสู้อีก ตัวอย่างข้าราชการผู้ละทิ้งหน้าที่ระหว่างการทัพ ได้แก่ พระยาพลเทพ หลวงโกษา พระยารัตนาธิเบศร์ พระยานครราชสีมา เจ้าศรีสังข์ และพระยาตาก เป็นต้น<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 25-27.</ref> ความล้มเหลวของยุทธวิธีน้ำหลากนี้เองซึ่งส่งผลกระทบถึงความเข้มแข็งและวินัยทหาร<ref name="คองบอง44-45"/>

=== สงครามจีน-พม่า ===
ขณะที่สงครามดำเนินไปนั้น จากการเกณฑ์ทหารในรัฐฉานตอนเหนือของเนเมียวสีหบดี ซึ่งทางการจีนถือว่าเป็นดินแดนของตน [[จักรพรรดิเฉียนหลง]]จึงมีพระบรมราชโองการให้รุกรานสิบสองปันนาและเชียงตุง ราวเดือนธันวาคม พ.ศ. 2308 ขณะที่พม่าทำสงครามอยู่ที่พิษณุโลกและอยุธยา จีนได้ส่งทหาร 6,000 นายล้อมเมืองเชียงตุง แต่ก็ถูกตีแตกกลับไป

เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2309 จีนส่งกำลังเข้ารุกรานพม่าเป็นครั้งที่สองโดยมีเป้าหมายมุ่งตรงไปยังกรุงอังวะ คราวนี้จีนมีกำลังพลถึง 25,000 นาย พระเจ้ามังระแม้จะไม่ได้ทรงคาดการณ์ถึงกำลังรบจำนวนมากเช่นนี้ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงเต็มพระทัยจะเรียกกองทัพกลับมาจากอยุธยา พระองค์ทรงออกรบด้วยพระองค์เอง และมีคำบัญชาแก่แม่ทัพในอยุธยาให้ตีกรุงให้แตกโดยเร็ว เพื่อจะได้กลับมาตุภูมิเพื่อป้องกันบ้านเมือง<ref name=hj-303>James, p. 303</ref> และในภายหลัง พระองค์ทรงมีบัญชาอีกหนหนึ่งให้ "บากบั่น" ในการล้อม<ref name=app-190>Phayre, p. 190</ref>

== เหตุการณ์ภายหลัง ==
[[ไฟล์:Ayudhaya wat pra sri sanphet 003.JPG|thumb|right|250px|ซากโบราณสถาน[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]] ภายในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหลงเหลือจากสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]]

=== การทำลายกรุงศรีอยุธยา ===
หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับกรมศึกษาธิการ ร.ศ. 120 ว่า พม่าหักเข้ากรุงได้แล้ว ก็เริ่มเผาเมืองทั้งเมืองใน "เพลาเที่ยงคืน ประมาณสองยามเศษ"<ref name = "Luangprasoet-p1-2">หลวงประเสริฐอักษรนิติ์, ร.ศ. 120 : 1-2.</ref> เพลิงไหม้ไม่เลือกตั้งแต่เหย้าเรือนราษฎรไปจนถึงปราสาทราชมนเทียร เพลิงผลาญพระนครเป็นเวลาถึงสิบห้าวัน<ref>''ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติเล่ม 9''. หน้า 420.</ref> โดยหนังสือพระราชพงศาวดารฯ ดังกล่าว บันทึกว่า ''"เพลาเที่ยงคืน ประมาณสองยามเศษ เพลิงเกิดในกรุงศรีอยุธยา ไหม้แต่ท่าทราย ตลอดถนนหลวง ไปจนถึงวัดฉัททันต์ แสงเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ ครั้นได้ทัศนาการเห็นก็สังเวชสลดใจ..."''<ref name = "Luangprasoet-p1-2"/> นอกจากการล้างผลาญบ้านเรือนแล้ว ทัพพม่ายังปล้นชิงทรัพย์สินในพระนคร บังคับราษฎรทั้งภิกษุทั้งฆราวาสให้แจ้งที่อยู่ทรัพย์สิน ผู้ขัดขืนต้องเผชิญโทษทัณฑ์ต่าง ๆ แล้วให้จับผู้คน รวมถึงพระราชวงศ์ ข้าราชการ สมณะ ไปคุมขังไว้ โดยพระสงฆ์ให้กักไว้ที่[[ค่ายโพธิ์สามต้น]] ส่วนฆราวาสให้ไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกองทั้งหลาย<ref>พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. หน้า 121-122.</ref> คำนวณแล้ว ปรากฏว่า เชื้อพระวงศ์ถูกกวาดต้อนไปกว่า 2,000 พระองค์<ref name="Cam23">Christopher John Baker, Pasuk Phongpaichit. หน้า 23.</ref> รวมจำนวนผู้ถูกพม่ากวาดต้อนไปนั้นมากกว่า 30,000 คน<ref name="ชัย1">ชัย เรืองศิลป์. หน้า 1.</ref>

ในจำนวนเชลยนี้มี[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]รวมอยู่ด้วย พระองค์ได้เป็นผู้ให้ปากคำเรื่องประวัติศาสตร์อยุธยาแก่พม่า ซึ่งได้ชื่อว่า "[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]" นอกจากพระเจ้าอุทุมพรแล้ว ยังมี[[นายขนมต้ม]] เชลยไทยที่สร้างชื่อเสียงในทางหมัดมวยในเวลาต่อมา

เผาทำลายพระนครแล้ว ทัพพม่าได้พำนักอยู่ ณ ที่นั้นจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310<ref>ขจร สุขพานิช. หน้า 270.</ref> ก่อนยกกลับประเทศตน โดยประมวลเอาทรัพย์สินและเชลยศึกไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้[[นายทองสุก|สุกี้]]เป็นนายทัพ คุมพล 3,000 คน รั้งทัพอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินตามกลับไปภายหลัง อย่างไรก็ดี หลักฐานพม่ากล่าวตรงกันข้ามกับหลักฐานไทย คือ ทหารพม่ามิได้ฆ่าฟันผู้คนมากมาย เพียงแต่เผาเมือง ริบสมบัติ และจับพระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชสำนัก และพลเมืองกลับไปด้วยเท่านั้น<ref>หม่องทินอ่อง. หน้า 176.</ref>

ฝ่ายพระเจ้ามังระทรงพระดำริว่า จะไว้กำลังจำนวนหนึ่งที่กรุงศรีอยุธยา โดยอาจทรงให้อยู่ในบังคับบัญชาของพระราชวงศ์อยุธยาหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพม่าโดยตรง<ref name=tmu-99/> แต่เผอิญ พม่าเกิดการสงครามกับจีน พระองค์จึงเปลี่ยนพระทัยเรียกกองทัพส่วนใหญ่กลับไปป้องกันมาตุภูมิ และให้คงกองทหารขนาดเล็กไว้ประจำในหลายพื้นที่เท่านั้น<ref name=dkw-122>Wyatt, p. 122</ref> กองทัพพม่าที่เหลืออยู่ในอาณาจักรอยุธยาที่เป็นซากไปแล้วนั้นมีอยู่ไม่ถึง 10,000 นาย ซึ่งไม่รับกับอาณาเขตของกรุงศรีอยุธยา กองทัพเหล่านี้จึงมีอำนาจอยู่แต่ในบริเวณค่ายคูประตูหอรบของตนและปริมณฑลเท่านั้น ท้องที่ห่างไกลล้วนอยู่นอกเหนือการควบคุม ซ้ำบางแห่งกลายเป็นซ่องโจรไปเสีย<ref name=dkw-122/>

แม้ว่าพม่าจะได้ชายฝั่งตะนาวศรีตอนล่างมาเป็นของตนก็ตาม แต่พม่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์สำคัญในอันที่จะพิชิตคนไทยและควบคุมดินแดนโดยรอบทั้งสิ้น เพราะคนไทยภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เป็นแรงหนุนเหล่ากบฏในล้านนาและพม่าตอนล่างได้ดีกว่าเดิม ประกอบกับพม่าสูญเสียความสามารถในการรบลงมากหลังผ่านพ้นสงครามกับสยาม ทั้งต้องรบกับจีนอีกหลายปี<ref name=chsea-236>Tarling, p. 236</ref><ref name=mha-181>Htin Aung, pp. 181-183</ref>

=== สภาพจลาจล ===
{{บทความหลัก|สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก}}
[[ไฟล์:เส้นทางเดินทัพของพระเจ้าตาก.jpg‎|thumb|200px|เส้นทางเดินทัพของพระยาตากเพื่อกอบกู้เอกราช]]
ภายหลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา เพื่อความอยู่รอด ทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่าง ๆ ซึ่งเป็น ''"รัฐบาลธรรมชาติ"'' ขึ้นมาในท้องถิ่นทันที ส่วนรัฐบาลธรรมชาติเหล่านี้เกิดจากการที่บรรดาเจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักได้ตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน เรียกว่า "ชุมนุม" หรือ "ก๊ก" ซึ่งมีจำนวน 4-6 แห่ง นับว่ารัฐไทยเกือบสิ้นสลายไปเพราะไม่อาจรวมกันเป็นปึกแผ่นได้อีก<ref name="นิธิ3-5"/>

เป็นเวลาไล่เลี่ยกับการตั้งตนเป็นใหญ่ของพระยาตากแถบเมืองจันทบุรี, การขับไล่ทหารพม่าที่หลงเหลืออยู่ในดินแดนอยุธยาออกไปทั้งหมด, การปราบดาภิเษกตนเองเป็นกษัตริย์ของคนไทย พร้อมกับย้ายเมืองหลวงไปยัง[[อาณาจักรธนบุรี|กรุงธนบุรี]] อย่างไรก็ตาม สภาวะความวุ่นวายทางการเมืองยังดำเนินอยู่ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จนกระทั่งคนไทยเริ่มกลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้งเมื่อย่างเข้า[[กรุงรัตนโกสินทร์|สมัยรัตนโกสินทร์]]

=== ปัญหาทางเศรษฐกิจ ===
ผลกระทบโดยตรงของสงครามคราวเสียกรุงครั้งนี้ คือ การเกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย<ref name="ชัย2">ชัย เรืองศิลป์. หน้า 2.</ref> ทหารพม่าได้ทำลายไร่นาสวนในภาคกลาง ราษฎรไม่มีโอกาสทำมาหากินอย่างปกติ ซ้ำยังทำให้เศรษฐกิจของรัฐไทยตกต่ำอย่างหนักด้วยการปล้นท้องพระคลัง เผาบ้านเรือน วัด และสถานที่ราชการทั้งหลาย ทั้งนี้ ในระหว่างการทัพเองก็มีเรือต่างประเทศจะนำเสบียงและยุทธภัณฑ์มาช่วยเหลืออยุธยา แต่ทัพเรือพม่าก็ขัดขวางจนมิอาจให้ความช่วยเหลือได้<ref name="ชัย2"/>

ความเสื่อมโทรมหลายประการในภายหลังก็มีสาเหตุมาจากการปล้นทรัพย์สมบัติของพม่าเมื่อคราวเสียกรุง เช่น [[มะริด]]และตะนาวศรีตกเป็นเมืองท่าของพม่าอย่างเด็ดขาด การค้าขายกับชาวตะวันตกจึงเสื่อมโทรมลง อีกทั้งยังทำให้การทหารของชาติอ่อนแอลงจากการสูญเสียปืนน้อยใหญ่เรือนหมื่นที่พม่าขนกลับบ้านเมืองไปด้วย<ref>ชัย เรืองศิลป์. หน้า 4.</ref> นอกจากนี้ ยังมีประชากรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ละทิ้งบ้านเรือนหนีภัยสงครามเป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเวลาต่อมา<ref>ชัย เรืองศิลป์. หน้า 16.</ref>

== การวิเคราะห์สาเหตุนำสู่การเสียกรุงศรีอยุธยา ==
{{ดูเพิ่มที่|ข้อวินิจฉัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ}}

การวิเคราะห์สาเหตุอันนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองได้มีการตีความในหลายประเด็น แต่การจะสรุปสาเหตุที่แท้จริงนั้นยังระบุลงไปแน่นอนมิได้

=== สาเหตุทางสังคมและการเมือง ===
พงศาวดารไทยในอดีตส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงความอ่อนแอของกษัตริย์ ขุนนางและระบบราชการ ว่าเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่นำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยา ประเด็นดังกล่าวนับว่าเป็นกรอบความคิดที่ส่งต่อกันมาผ่านทางจารีต การจดบันทึกและการบอกเล่า<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า 1.</ref> โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเจ้าเอกทัศ ซึ่งถูกมองว่า ''"เป็นผู้ปกครองที่มีความอ่อนแอเหลวไหล...พร้อมกับแสวงหาความฟุ้งเฟ้อสนุกสนานส่วนตัวแม้ในยามศึก"''<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า (17).</ref>

จากมุมมองเดียวกัน ใน[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112|สงครามสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงตรอมพระทัยจนประชวรหนัก เพราะทรงเห็นว่าพระองค์ไม่สามารถปกป้องแผ่นดินสยามจากฝรั่งเศสได้ และทรงเกรงว่าจะถูกติฉินนินทาสืบไป ดุจดั่งพระเจ้าอุทุมพรและพระเจ้าเอกทัศที่ไม่คิดป้องกันจึงเสียเมืองและเป็นที่ครหาไม่หยุดหย่อน โดยทรงพระราชนิพนธ์ว่า<ref name=v>[http://www.vcharkarn.com/reurnthai/two_kings.php สองกษัตริย์สุดท้าย] วิชาการ.คอม</ref>
{{เริ่มกาพย์}}
{{โคลงสี่สุภาพ|indent=1|''"เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์''|''มะนะเรื่องบำรุงกาย''|''ส่วนจิตบ่มีสบาย''|''ศิระกลุ้มอุราตรึง''}}
{{โคลงสี่สุภาพ|indent=1|''แม้หายก็พลันยาก''|''จะลำบากฤทัยพึง''|''ตริแต่จะถูกรึง''|''อุระรัดและอัตรา''}}
{{โคลงสี่สุภาพ|indent=1|''กลัวเป็นทวิราช''|''บ่ตริป้องอยุธยา''|''เสียเมืองจึงนินทา''|''บ่ละเว้นฤๅว่างวาย"''}}
{{จบกาพย์}}

นอกจากนี้ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] พระราชภาตาใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงยาวสะท้อนความรู้สึกคับแค้นพระทัยในพระเจ้าเอกทัศด้วย ความตอนหนึ่งว่า<ref name=v/>

{{เริ่มกาพย์}}
{{กาพย์ยานี|indent=1|''"ทั้งนี้เป็นต้นด้วยผลเหตุ''|''จะอาเพศกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่''|''มิได้พิจารณาพวกข้าไท''|''เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา ''}}
{{กาพย์ยานี|indent=1|''ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ''|''ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา ''|''สุภาษิตท่านกล่าวเป็นราวมา''|''จะแต่งตั้งเสนาธิบดี ''}}
{{กาพย์ยานี|indent=1|''ไม่ควรอย่าให้อัครฐาน''|''จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี''|''เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี''|''จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา''}}
{{กาพย์ยานี|indent=1|''เสียยศเสียศักดิ์นคเรศ''|''เสียทั้งพระนิเวศน์วงศา''|''เสียทั้งตระกูลนานา''|''เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร''}}
{{กาพย์ยานี|indent=1|''สารพัดจะเสียสิ้นสุด''|''ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน''|''จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร''|''เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรม"''}}
{{จบกาพย์}}

อย่างไรก็ตาม แนวคิดซึ่งปรากฏในงานเขียนทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ได้พยายามมองประเด็นที่ต่างออกไปว่า พระองค์มิใช่กษัตริย์ที่อ่อนแอ หากแต่เป็นกษัตริย์ชาตินักรบพระองค์หนึ่ง และมองว่าประวัติศาสตร์ซึ่งยึดถือกันมานี้ถูกครอบงำจากเงื่อนไขทางการเมืองของชนชั้นผู้ปกครองในภายหลัง<ref name="เทพมนตรี">เทพมนตรี ลิมปพยอม.</ref> แต่ก็มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลายต่างก็แย่งชิงความเป็นใหญ่กันเอง บ้านเมืองสูญเสียกำลังพลและขุนนางเป็นจำนวนมากในสงครามกลางเมือง ดังที่[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงสรุปว่า ''"ไทยอ่อนกำลังลงด้วยการจลาจลในประเทศ ไทยด้วยกันมุ่งหมายกำจัดพวกเดียวกันเอง เนื่องจากการชิงราชสมบัติมาหลายซับซ้อนนับตั้งแต่สิ้นสมัย[[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]เป็นต้นมา กรุงศรีอยุธยาจึงทรุดโทรมลงเป็นลำดับ"''<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า 78.</ref>

การที่รัฐบาลกลางของอยุธยามีการควบคุมอำนาจท้องถิ่นอย่างหละหลวม ทำให้กรุงศรีอยุธยามีอำนาจและความสามารถในการป้องกันตนเองที่จำกัด เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพหัวเมือง ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลกลาง<ref>ลำจุล ฮวบเจริญ. หน้า 30.</ref> ซึ่งแนวคิดดังกล่าว [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] ได้เน้นเป็นพิเศษ และกล่าวว่าการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ''"เป็นความล้มเหลวของระบบป้องกันตนเองของอาณาจักรมากกว่าความผิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งเท่านั้น"''<ref name="นิธิ10">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 10.</ref> ความเสื่อมโทรมของระบบการป้องกันตนเองของอาณาจักรอยุธยาอีกประการหนึ่ง คือ จำนวนไพร่ที่สามารถเรียกเกณฑ์เข้าสู่กองทัพมีน้อย เพราะรัฐบาลได้สูญเสียไพร่ให้กับเจ้านายและขุนนางไปเป็นอันมาก และอีกจำนวนหนึ่งก็หลีกเลี่ยงการขึ้นทะเบียน เช่น ชาวบ้านบางระจัน<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 23.</ref> นอกจากนี้ หากจะใช้วิธีการกวาดต้อนไพร่มายังภาคกลางเพื่อตั้งกองทัพขนาดใหญ่อย่างสมัยสมเด็จพระนเรศวรก็จะก่อให้เกิดจลาจลขึ้นอีก<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 24.</ref>

สุเนตร ชุตินธรานนท์ได้เสนอแนวคิดว่า จำนวนประชากรที่เติบโตหลังจากการค้าขายกับต่างชาติในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งมีการขัดกับจารีตการปกครองเดิมจนทำให้เกิดความปั่นป่วน อันทำให้การจัดระเบียบและควบคุมเกิดความยุ่งยาก<ref name="สุเนตร2">สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า 2.</ref>

=== สาเหตุทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ===
สงครามครั้งนี้เกิดในช่วงที่อำนาจทางทหารของราชวงศ์โกนบองรุ่งเรืองเกือบถึงขีดสุด โดยนักประวัติศาสตร์ถือว่าชัยชนะเหนือจีนเป็นช่วงที่อำนาจทางทหารของราชวงศ์โกนบองรุ่งเรืองถึงขีดสุด<ref name=geh-264>Harvey, p. 264</ref> สาเหตุหลักที่พม่ารบชนะอยุธยาและจีนนั้น มิใช่เพราะกำลังพลหรืออาวุธที่เหนือกว่า แต่ทหารพม่ากรำศึก และมีผู้บังคับบัญชาทหารที่มีความมั่นใจและได้พิสูจน์ความสามารถมาแล้ว<ref name=vbl-185>Lieberman, p. 185</ref> ขณะที่ฝ่ายผู้นำอยุธยามีประสบการณ์สงครามเพียงเล็กน้อยในสงครามพระเจ้าอลองพญาเท่านั้น ซ้ำแม้ว่าจะมีการเตรียมการสงครามอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสงครามมาถึง ผู้บังคับบัญชาอยุธยากลับล่าช้าและไม่ประสานงานกัน<ref name=dkw-117>Wyatt, p. 117</ref>

ในสงครามคราวนี้ ฝ่ายอยุธยาประสบกับความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด เพราะยุทธวิธีของฝ่ายพม่าสามารถรับมือกับยุทธวิธีน้ำหลากที่ฝ่ายอยุธยามักใช้ได้เป็นผลสำเร็จหลายครั้งในประวัติศาสตร์การสงคราม<ref name="เทพมนตรี"/> นอกจากนี้ พม่ายังได้โจมตีหัวเมืองทางเหนือเพื่อป้องกันการตีกระหนาบ ก่อนกองทัพเหนือและใต้เข้าปิดล้อมพระนครพร้อมกัน ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนเสบียงได้อีกด้วย<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 128.</ref> ดังนั้น ฝ่ายอยุธยาจึงไม่เหลือยุทธศาสตร์อื่นใดที่จะสู้กับพม่าได้อีก ส่วนการที่ฝ่ายอยุธยาพยายามป้องกันมิให้ข้าศึกเข้าประชิดพระนคร แต่ได้มีการจัดวางกำลังกระจัดกระจายกันเกินไป อันแสดงให้เห็นถึงข้อผิดพลาดทางด้านการข่าวอีกด้วย เพราะมีที่ตั้งทัพหลายแห่งที่พม่ามิได้ยกเข้ามาเลย ส่วนทางที่พบกับพม่านั้นก็ปราชัยทุกทิศทาง<ref name="นิธิ22">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 22.</ref>

สมเด็จพระเจ้าเอกทัศไม่แสดงความสามารถด้านการบัญชาการรบ เนื่องจากทรงมอบหมายการป้องกันบ้านเมืองแก่คณะลูกขุน ณ ศาลา<ref>ดนัย ไชยโยค. หน้า 88.</ref>

ตาม ''คำให้การของชาวกรุงเก่า'' ได้ระบุว่ามีคนไทยทรยศ ชื่อว่า พระยาพลเทพ ความว่า "''...มีคนไทยชื่อ พระยาพลเทพ ข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาเอาใจออกห่าง ลอบส่งศาสตราวุธเสบียงอาหารให้แก่พม่า สัญญาว่าจะเปิดประตู [ด้านทิศตะวันออก] คอยรับเมื่อพม่าเข้าโจมตี เข้าใจว่าเป็นบริเวณหัวรอหรือใกล้เคียง ซึ่งพม่าก็ได้ระดมเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทางด้านนี้ ตามที่พระยาพลเทพนัดหมายไว้...''<ref>กรมศิลปากร. หน้า 174.</ref>

ขัดแย้งกับ มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า มาจากบางตอนของพงศาวดารพม่า "[[มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว|มานนาน มหายาสะวินดอจี]]" หรือที่นักวิชาการทั่วไปรู้จักกันในนาม "[[มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว|พงศาวดารฉบับหอแก้ว]]<ref>[[มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว]]</ref>" ไม่มีการกล่าวถึงพระยาพลเทพในฐานะไส้ศึกเลย กล่าวว่า ''พระยาพลเทพเป็นหนึ่งในเสนาบดีอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปพม่า (ต้นฉบับภาษาพม่าสะกด ‘ภยาภลเทป’ ဘယာဘလဒေပ)''

== การศึกษาประวัติศาสตร์ ==

=== เอกสารประวัติศาสตร์ ===
ในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง นักประวัติศาสตร์ไทยในภายหลังส่วนใหญ่มักจะอิงจากหลักฐานประเภทพงศาวดารไทยที่ถูกชำระขึ้นในสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อันเป็นกรอบความคิดซึ่งเน้นกล่าวถึงความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยาในราชวงศ์บ้านพลูหลวง<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 1.</ref> แต่หลักฐานเหล่านี้ได้กล่าวถึงช่วงเวลาคราวเสียกรุงอย่างรวบรัด และยังมีความสับสนในความบางตอนอีกด้วย<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 3.</ref> รวมทั้งมีอคติและกล่าวประณามพระเจ้าเอกทัศ<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 4.</ref> และเน้นกล่าวถึงความอ่อนแอทางทหารของอาณาจักรอยุธยามากกว่าอย่างอื่น<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 7.</ref> ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยยึดถือจาก ''คำให้การชาวกรุงเก่า'' และ ''คำให้การขุนหลวงหาวัด'' มากนัก แต่กลับเน้น ''คำให้การชาวอังวะ'' ซึ่งกล่าวคลาดเคลื่อนและรวบรัดเช่นเดียวกับพงศาวดารไทยที่ถูกชำระขึ้นนั้น<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 8-9.</ref> และถึงแม้ว่าจะมีการเลือกความจากหลักฐานต่างประเทศ ก็มักจะเลือกเอาแต่ความที่ไม่ขัดแย้งกับพงศาวดารนั้น<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 16.</ref>

ตรงกันข้ามกับหลักฐานที่เป็นพงศาวดารพม่าและ ''คำให้การขุนหลวงหาวัด'' ซึ่งมีการกล่าวถึงช่วงเวลาเสียกรุงอย่างละเอียด รวมทั้งยุทธวิธีของพม่าที่ใช้เอาชนะอยุธยา<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 18-19.</ref> นอกจากนี้ ในพงศาวดารพม่ากล่าวถึงความฉลาดทางยุทธวิธีที่แม่ทัพพม่าใช้เอาชนะแม่ทัพอยุธยา ซึ่งย่อมหมายถึง ความเข้มแข็งในระดับที่สามารถรบด้วยกับพม่าเช่นกัน<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 6-8.</ref> อย่างไรก็ตาม ในพงศาวดารพม่าเองก็มีอคติและความคลาดเคลื่อน รวมทั้งกล่าวถึงชัยชนะของตนอย่างเกินจริง<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 18-20.</ref>

{| class="wikitable" border="1" style="font-size:90%; text-align:left;"
|+ style = "padding-top:1em;" |'''ความแตกต่างในบันทึกของหลักฐานไทยและหลักฐานพม่า'''
! width = 47.5%| หลักฐานไทย !! width = 47.5%| หลักฐานพม่า !! width = 5%| อ้างอิง
|-
| ในตอนเริ่มการรุกราน เนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาได้ส่งแม่ทัพในสังกัดของกองทัพตนล่วงเข้ามาปล้นชิงตามหัวเมืองต่าง ๆ ก่อนที่แม่ทัพทั้งสองนั้นยกตามมาภายหลัง || ทัพเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธานำทัพใหญ่มาด้วยตนเองตั้งแต่เริ่มต้น || <ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 31.</ref>
|-
| พระยาตากรับราชการในกรุงศรีอยุธยา || ในหลักฐานพม่ามีความขัดแย้งกันเอง<br>{{จุด}} พระยาตากถูกจับตัวระหว่างการรบที่เมืองตาก<br>{{จุด}} พระยาตากออกทำศึกในระหว่างการล้อมกรุงศรีอยุธยา || <ref name="นิธิ17">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 17.</ref>
|-
| เจ้าเมืองสุโขทัยพาราษฎรหลบหนีเข้าป่า และรบกับพม่าร่วมกับทัพพิษณุโลก || เจ้าเมืองสุโขทัยยอมอ่อนน้อมต่อพม่า || <ref name="นิธิ17"/>
|-
| เมืองพิษณุโลกมิได้เสียแก่พม่าตลอดการทัพ<br>(คาดว่าน่าจะเป็นไปได้มากกว่า เพราะพม่าน่าจะเว้นหัวเมืองใหญ่ทางภาคเหนือ เพื่อให้ประหยัดเวลาในการทัพ) || เจ้าเมืองพิษณุโลกต่อรบด้วย แต่ปราชัยพม่า || <ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 17-18.</ref>
|-
|}

=== ความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์คราวเสียกรุงทั้งสองครั้ง ===
{{ดูเพิ่มที่|การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง}}

ในการศึกษาสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเรียกกองทัพพม่าว่า "มาอย่างกองโจร" คือ เที่ยวปล้นอยู่โดยรอบเป็นเวลานานกว่าจะหักเอากรุงศรีอยุธยาได้<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. หน้า 311-314.</ref> นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพยังมิทรงเชื่อข้อความในพงศาวดารพม่าซึ่งกล่าวว่า การรุกรานดังกล่าวมีการวางแผนอย่างถูกต้อง ด้วยทรงเห็นว่าอาจเป็นความที่ถูกแต่งเติมขึ้นในภายหลัง<ref name="นิธิ10"/> อย่างไรก็ตาม นิธิ เอียวศรีวงศ์ มีความเห็นว่า ความแตกต่างระหว่างทัพที่มีกษัตริย์นำมาหรือไม่มีกษัตริย์นำมาดูจะไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะแม่ทัพทั้งสองต่างก็ปฏิบัติตามพระราชโองการของกษัตริย์ มิได้กระทำการตามอำเภอใจ หรือล่วงเข้ามาในอาณาจักรอยุธยาเพราะเห็นว่าอ่อนแอเลย<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 13-14.</ref> สำหรับที่มาของความเชื่อนี้ สุเนตร ชุตันธรานนท์ อธิบายว่า เป็น ''"แนวคิดที่รับกับการอธิบายถึงความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยาในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง"''<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 9-10.</ref>

หากแต่ประเด็นที่โดดเด่นกว่า คือ ความแตกต่างในจุดประสงค์ของสงครามคราวเสียกรุงทั้งสองครั้งมากกว่า เพราะในสมัย[[พระเจ้าบุเรงนอง]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2112]] เป้าหมายในการทัพครั้งนั้นเป็นเพียงการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ[[ราชวงศ์ตองอู|อาณาจักรตองอู]]<ref>พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. หน้า 35.</ref> โดยประสงค์เพียงจะตีเอากรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชเท่านั้น แต่เป้าหมายในการทัพครั้งนี้ เป็นการสร้างความแตกแยกให้กับกลุ่มการเมืองทั้งหลายในอาณาจักรอยุธยา<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 3.</ref> หรือไม่ก็ทำลายลักษณะทางกายภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์ทางคติความเชื่อศิลปะ และทรัพย์ทางปัญญาจนไม่อาจฟื้นฟูได้<ref name="Cam23"/>

== ความสำคัญ ==
[[ไฟล์:Burmese Ramayana dance.jpg|thumb|150px|[[ยามะซะตอ]] หรือ [[รามายณะ]]อย่างพม่า ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก[[รามเกียรติ์]]ของ[[ไทย|ประเทศไทย]]]]

=== อิทธิพลของไทยต่อวัฒนธรรมพม่า ===
[[ไทยโยเดีย|เชลยศึกอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปกรุงอังวะ]]นั้นได้เข้าไปมีอิทธิพลอย่างมากต่อการละครและการเต้นของพม่า ในปี พ.ศ. 2332 ข้าหลวง[[อังวะ|พม่า]]อันประกอบด้วยเจ้าชายและรัฐมนตรีได้รับมอบหมายให้แปลละครไทยและชวาจาก[[ภาษาไทย]]เป็นภาษาพม่า ด้วยความช่วยเหลือจากศิลปินอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปนั้น ข้าหลวงจึงสามารถแปลวรรณคดีเรื่องสำคัญได้ถึงสองเรื่อง ได้แก่ [[รามเกียรติ์]]และ [[อิเหนา]]<ref name=jbr-27>Brandon, p. 27</ref>

=== ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่า ===
==== มุมมองฝ่ายไทย ====
ในปี พ.ศ. 2460 [[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงตีพิมพ์ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งอันยาวนานหลายศตวรรษระหว่างสองประเทศที่มีความเป็นชาตินิยมสูง ชื่อว่า ''ไทยรบพม่า'' ซึ่งได้มีอิทธิพลสำคัญต่อการพัฒนามุมมองประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งมักพบปรากฏในหนังสือเรียนและวัฒนธรรมสมัยนิยม ในมุมมองนี้ ไม่เพียงแต่ชาวพม่าจะถูกมองว่าเป็นพวกป่าเถื่อนและก้าวร้าว แต่ว่าอยุธยาพ่ายแพ้ในสงครามเพราะว่าขาดการเตรียมตัวและเกิดการแตกแยกภายในอีกด้วย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงนำประชาชน อย่างเช่น [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]และ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ทรงทำสงครามปลดปล่อยชาติจากการครอบงำของข้าศึก<ref name=dms-441>Seekins, p. 441</ref> และการศึกสมัยโบราณระหว่างผู้ปกครองสองฝ่ายได้กลายมาเป็นสงครามระหว่างชาติไป<ref name=irr-mz>Min Zin, the Irrawaddy</ref>

ล่าสุด นักวิชาการจำนวนมากขึ้นได้เตือนการมองประวัติศาสตร์คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 18 ในกรอบความคิดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักประวัติศาสตร์ แดเนียล ซีคินส์ เขียนว่า "สงครามไทย-พม่าทั้ง 24 ครั้ง ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพอธิบายนั้น เป็นสงครามระหว่างพระมหากษัตริย์มากกว่าสงครามระหว่างชาติ" และ "ชาวสยามคนสำคัญในสมัยนั้น รวมทั้งพระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวร สมัครพระทัยยอมรับอำนาจเหนือกว่าของพม่า"<ref name=dms-441/> นักประวัติศาสตร์อีกคนหนึ่ง เฮเลน เจมส์ เขียนว่า "โดยพื้นฐาน สงครามเหล่านี้เป็นการต่อสู้ช่วงชิงความเป็นใหญ่ในภูมิภาคและในหมู่ราชวงศ์ และไม่ใช่ทั้งความขัดแย้งระหว่างชาติหรือชาติพันธุ์เลย"<ref name=hj-301>James, pp. 301-303</ref> สุดท้าย ทหารเกณฑ์สยามจำนวนมากมีส่วนในการโจมตีกรุงศรีอยุธยา มุมมองนี้ถูกสะท้อนในวิชาการไทยสมัยใหม่ อย่างเช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสุเนตร ชุติธรานนท์<ref name=ps-5>Pamaree, pp. 5-8</ref> สุเนตร เขียนว่า "ทัศนคติแง่ลบที่มีต่อชาวพม่านั้นเกิดขึ้นไม่เพียงแต่เฉพาะผลจากความสัมพันธ์ในอดีตเท่านั้น แต่เป็นผลจากอุบายทางการเมืองของรัฐบาลชาตินิยมมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลทหาร"<ref name=irr-mz/>

อย่างไรก็ตาม มุมมองทางวิชาการสมัยใหม่ยังมิได้แทนที่มุมมองของกรมพระยาดำรงราชานุภาพในหนังสือเรียนหรือวัฒนธรรมสมัยนิยม ซึ่งเป็นการส่งเสริมความรู้สึกเป็นปรปักษ์ในหมู่ประชาชนชาวไทยต่อพม่า ความเป็นปรปักษ์นี้อย่างน้อยผู้นำทางการเมืองของไทยได้แสดงออกมาในนโยบาย "พื้นที่กันชน" ของไทย ซึ่งได้จัดหาที่พัก ซึ่งในหลายโอกาสได้กระตุ้นอย่างแข็งขันและ "ให้การสนับสนุน" กลุ่มเชื้อชาติต่อต้านรัฐบาลพม่าหลายกลุ่มแนวชายแดน<ref name=tmu-287-299>Myint-U, p. 299, p. 308</ref><ref name=irr-alo>Aung Lwin Oo, the Irrawaddy</ref>

==== มุมมองฝ่ายพม่า ====
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2497 [[อู นุ]] นายกรัฐมนตรีคนแรกของสหภาพพม่า ได้กล่าวขอโทษต่อสาธารณะถึงการกระทำผิดศีลธรรมในอดีตของพม่าระหว่างการเดินทางเยือนกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ<ref name=dgeh-xx-54>Hall, Chapter XX, p. 54</ref> อย่างไรก็ตาม ชาวพม่าส่วนใหญ่ในปัจจุบันทราบถึงรายละเอียดการขยายอาณาเขตของพระมหากษัตริย์ในอดีตเพียงผิวเผิน ทำให้หลายคนไม่ทราบถึงเหตุผลทางประวัติศาสตร์เบื้องหลังความเป็นปรปักษ์ของไทย และนโยบายพื้นที่กันชนของไทย ชาวพม่าจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ทหาร ไม่เชื่อในการรับประกันของรัฐบาลไทยที่ว่าไทยจะไม่ยินยอมให้มีกิจกรรมใด ๆ อัน "บั่นทอนเสถียรภาพของประเทศเพื่อนบ้าน"<ref name=irr-alo/>

== ดูเพิ่ม ==
* [[ความสัมพันธ์พม่า-ไทย]]
* [[ราชวงศ์โกนบอง]]

== เชิงอรรถ ==
'''<small>I</small>.''' {{Note_label|A|I|none}} ในหลักฐานของทั้งสองฝ่ายพบว่ามีเวลาที่เสียกรุงแตกต่างกัน หลักฐานไทยกล่าวว่า การเสียกรุงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 (เมื่อเทียบกับการนับเวลาทางจันทรคติ)<ref>ประเสริฐ ณ นคร. [http://www.royin.go.th/upload/93/FileUpload/98_1986.PDF วารสารราชบัณฑิตยสถาน]. สืบค้นเมื่อ 14-12-2552.</ref> ในพงศาวดารพม่าระบุว่า ทัพพม่าตีเข้าพระนครศรีอยุธยาได้ในเวลาตี 4 กว่า ของวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือนเมษายน พุทธศักราช 2310 ตรงกับจุลศักราช 1129<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้าที่ 68.</ref><ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 190.</ref> <!--สังเกตว่าวันที่กรุงศรีอยุธยาแตกตามหลักฐานของฝ่ายไทยและพม่าผิดกัน 3 วัน อาจเป็นเพราะการกำหนดเกณฑ์การตีความหมายว่าพม่าเข้ากำแพงเมืองได้ หรือยึดวังหลวงได้ หรืออาจมีการจดวันคลาดเคลื่อนก็อาจเป็นไปได้<ref>อาทร จันทวิมล. หน้า 229.</ref>--> นอกจากนี้ ยังมีบันทึกอีกว่า พม่าสามารถเข้ากรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2310<ref>M.L. Manich Jumsai. p. 284.</ref> ซึ่งสาเหตุที่นับวันแตกต่างกันนี้ อาจเนื่องมาจากนับวันที่ต่างกัน หรือใช้หลักเกณฑ์แตกต่างกันก็เป็นได้

'''<small>II</small>.''' {{Note_label|B|II|none}} ในพงศาวดารไทยและพม่ากล่าวตรงกันว่ามังมหานรธาป่วยไข้ตาย แต่ระบุระยะเวลาตายไม่แน่นอน ส่วนในหนังสือ ''History of Siam'' ของ Turpin กล่าวว่า การตายของมังมหานรธามีสาเหตุจากปมความขัดแย้งกับเนเมียวสีหบดี <!--อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกถึงความขาดการประสานงานกันระหว่างกองทัพทั้งสองของพม่าเลย--> พระเจ้ามังระทรงแต่งตั้ง เมงเย เมงละอูสะนา (เจ้าเมืองเมาะตะมะ) ขึ้นเป็นแม่ทัพแทนมังมหานรธา<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 175.</ref> แต่อำนาจทั้งหมดก็เหมือนกับจะตกอยู่ในมือของเนเมียวสีหบดีแต่เพียงผู้เดียว

'''<small>III</small>.''' {{Note_label|C|III|none}} [[หม่องทินอ่อง]] เขียนใน "ประวัติศาสตร์พม่า" ว่า ''"ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1766 กองทัพพม่าทั้งสองรวบรวมรี้พลได้ประมาณ 50,000 คน พอ ๆ กับที่กษัตริย์อยุธยาทรงรวบรวมได้ที่อยุธยา"''<ref name="หม่องทินอ่อง175">หม่องทินอ่อง. หน้า 175.</ref> ส่วนตัวเลขของเดวิด เค. วัยอาจ ระบุไว้ว่าการป้องกันทางใต้ของอยุธยามีทหารจำนวนมากกว่า 60,000 นาย<ref name=dkw-118>Wyatt, p. 118</ref> แต่จำนวนดังกล่าวอาจมิใช่กำลังพลทั้งหมดของอาณาจักรอยุธยาในยามนั้นก็เป็นได้ เพราะอาจยังไม่นับรวมทหารที่เกณฑ์มาจากหัวเมือง หรือรวมทหารซึ่งถูกส่งออกไปรับศึกยังหัวเมืองรอบนอก และทหารอยุธยาอีกไม่ทราบจำนวนที่น่าจะไม่ได้เข้าร่วมรบจริง ๆ

'''<small>IV</small>.''' {{Note_label|D|IV|none}} จำนวนกำลังพลในกองทัพพม่าถูกระบุไว้ในจำนวนที่แตกต่างกันไป: ใน ''ประวัติศาสตร์ไทย'' ของ พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ระบุไว้ที่ 40,000 นาย (เนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาคนละ 20,000 นาย)<ref>พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ. หน้า 854.</ref>; ใน ''ประวัติศาสตร์พม่า'' ของ หม่องทินอ่อง ระบุไว้ที่ 50,000 นาย<ref name="หม่องทินอ่อง175"/>; ใน ''พงศาวดารฉบับราชวงศ์โกนบอง'' ระบุไว้ที่ 73,000 นาย<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 40.</ref>; ใน ''การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐'' ของ พลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน ระบุไว้ที่ 78,000 นาย<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 50-51, 75-76 และ 80-81.</ref>; ใน ''คำให้การชาวกรุงเก่า'' ระบุไว้ที่ 80,000 นาย<ref>สุเนตร ชุตินธารานนท์. หน้า (18).</ref>; ศ. ขจร สุขพานิช ได้ประเมินไว้ที่ 120,000 นาย (ภายใต้เนเมียวสีหบดี 70,000 และภายใต้มังมหานรธา 50,000)<ref>สุเนตร ชุตินธารานนท์. หน้า 86-87.</ref>

'''<small>V</small>.''' {{Note_label|E|V|none}} ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2 หน้า 299 ได้กล่าวว่า ''"พม่าเสียรี้พลประมาณสามพันสี่พันนายทั้งป่วยไข้ตาย ชาวเมืองอยุทยาเสียคนประมาณสองแสนเศษ ทั้งตายด้วยอาวุธและป่วยไข้ตาย"''<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 173.</ref> ซึ่ง ชัย เรืองศิลป์ ได้ประมาณว่า มีชาวอยุธยาเสียชีวิตจากการอดอาหารตายมากกว่าต้องอาวุธศัตรูถึงห้าหกเท่า<ref name="ชัย1"/>

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|3}}

== บรรณานุกรม ==
{{เริ่มอ้างอิง|3}}
* {{cite journal | url=http://www.irrawaddymedia.com/cartoon.php?art_id=5081 | author=Aung Lwin Oo | title=The Shadow of 1767: Old enmities still weigh on Thai-Burmese relationship | work=[[The Irrawaddy]] | date=13 October 2005 | publisher=The Irrawaddy Media Group}}
* {{cite book | last=Baker | first=Chris, Christopher John Baker, Pasuk Phongpaichit | title = A history of Thailand | publisher=Cambridge University Press | year=2009 | edition=2 | isbn=0521767687, 9780521767682}}
* {{cite book | last=Brandon | first=James R | title=Theatre in Southeast Asia | year=1967 | publisher=Harvard College | isbn=0-674-87587-7}}
* {{cite journal | last=Dai | first=Yingcong | title=A Disguised Defeat: The Myanmar Campaign of the Qing Dynasty | year=2004 | work=Modern Asian Studies | publisher=Cambridge University Press}}
* {{cite book | last=Hall | first=D.G.E. |title=Burma |edition=3rd |year=1960 |publisher=Hutchinson University Library| isbn=978-1406735031}}
* {{cite book | last = Harvey| first = G. E.| title = History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824 | publisher=Frank Cass & Co. Ltd | year = 1925| location = London}}
* {{cite book | last=Htin Aung | first=Maung | title=A History of Burma | publisher=Cambridge University Press | location=New York and London | year=1967 }}
* {{cite book | last=James | first=Helen | title=Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 2 | chapter=Burma-Siam Wars and Tenasserim | year=2004 | publisher=ABC-CLIO| isbn=1576077705 | editor=Keat Gin Ooi}}
* {{cite book | author=Kyaw Thet | title= History of Union of Burma | year= 1962|publisher=Yangon University Press |location= Yangon | language=Burmese}}
* {{cite book | author=Letwe Nawrahta and Twinthin Taikwun | title=Alaungpaya Ayedawbon | editor=Hla Thamein | year=c. 1770 | publisher=Ministry of Culture, Union of Burma | edition=1961 | language=Burmese}}
* {{cite book | last= Lieberman | first= Victor B. | title= Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland | year=2003 | publisher=Cambridge University Press | isbn=978-0-521-80496-7}}
* {{cite journal | url=http://www.irrawaddymedia.com/article.php?art_id=1967 | author=Min Zin | title=Ayutthaya and the End of History:Thai views of Burma revisited | work=[[The Irrawaddy]] | date=August 2000 | volume=8 | number=8 | publisher=The Irrawaddy Media Group}}
* {{cite book | last=Myint-U | first=Thant | title=The River of Lost Footsteps--Histories of Burma | year=2006 | publisher=Farrar, Straus and Giroux | isbn=978-0-374-16342-6, 0-374-16342-1}}
* {{cite journal | last=Pamaree | first= Surakiat | title=The Changing Nature of Conflict between Burma and Siam as seen from the Growth and Development of Burmese States from the 16th to the 19th Centuries | url=http://www.ari.nus.edu.sg/docs/wps/wps06_064.pdf | date=March 2006 | publisher=Asia Research Institute}}
* {{cite book | last=Phayre | first=Lt. Gen. Sir Arthur P. | title=History of Burma | year=1883 | edition=1967 | publisher=Susil Gupta | location=London}}
* {{cite book | last=Seekins | first=Donald M. | title = Historical dictionary of Burma (Myanmar), vol. 59 of Asian/Oceanian historical dictionaries | volume=59 | publisher=Sacredcrow Press | year=2006 | isbn=9780810854765 | edition=Illustrated}}
* {{cite book | last=Steinberg | first=David Joel | title = In Search of South-East Asia | publisher=University of Hawaii Press | year=1987 | location = Honolulu | editor=David Joel Steinberg}}
* {{cite book | last=Tarling | first=Nicholas | title = The Cambridge History of South-East Asia, Volume 1, Part 2 from c. 1500 to 1800 | publisher=Cambridge University Press | year=2000 | isbn=0521663709, 9780521663700 | edition=reprint}}
* {{cite book | last=Wyatt | first=David K. | title=History of Thailand | year=2003 | edition=2 | publisher=Yale University Press | location= | isbn=0300084757, 9780300084757}}
* M.L. Manich Jumsai. ''Paular History of Thailand''. Bangkok : Chalerm-nit, 1972.
* [[สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]. ''ไทยรบกับพม่าฉบับรวมเล่ม''. พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2524.
* กรมศิลปากร. ''คำให้การของชาวกรุงเก่า คำให้การของขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประดิษฐ์อักษรนิติ''. [ม.ป.ท.] : คลังภาษา, 2515.
* พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. ''สามกรุง''. พระนคร : คลังวิทยา, 2511.
* ขจร สุขพานิช. ''ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531.
* จรรยา ประชิตโรมรัน. ''การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
* ชัย เรืองศิลป์. ''ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๔๕๓ ด้านเศรษฐกิจ''. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2541.
* ดนัย ไชยโยค. (2550). '''ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคอาณาจักรอยุธยา'''. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
* เทพมนตรี ลิมปพยอม. "[http://shalawan.www2.50megs.com/fire-ayudhaya.htm เกร็ดความรู้คราวเสียกรุง]". ''สยามอารยะ''. ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2537.
* [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]]. ''การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550.
* บูญเทียม พลายชมภู. ''พม่า ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์''. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2548.
* ''ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติเล่ม 9''. พระนคร : ก้าวหน้า, 2508.
* ''ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39''. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], 2508.
* ประพิณ ออกเวหา. ''อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน''. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดบุ๊ค, 2546.
* ''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ''. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.].
* พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ. ''ประวัติศาสตร์ไทย''. [ม.ป.ท.] : ตถาตา พับลิเคชั่น, 2547.
* พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. ''พระมหาธรรมราชากษัตราธิราช''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546. ISBN 974-322-818-7
* ลำจุล ฮวบเจริญ. ''เกร็ดพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา''. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : The Knowledge Center, 2548. ISBN 974-9517-04-0
* วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. ''บรรพบุรุษไทย: สมัยอยุธยา''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
* [[สุเนตร ชุตินธรานนท์]]. ''สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๐) : ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง''. กรุงเทพฯ : สยาม, 2541.
* [[หม่องทินอ่อง]]. ''ประวัติศาสตร์พม่า''. เพ็ชรี สุมิตร แปล. [ม.ป.ท.] : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2548.
* [[หลวงประเสริฐอักษรนิติ์]]. (ร.ศ. 120). ''หนังสือพระราชพงศาวดาร เล่ม 3.'' พระนคร : โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์.
* อนันต์ อมรรตัย. ''คำให้การชาวกรุงเก่า''. กรุงเทพฯ : จดหมายเหตุ, 2510. ISBN 9748789578
* อาทร จันทวิมล. ''ประวัติของแผ่นดินไทย''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537. ISBN 974-584-663-5
* ''๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ''. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543. ISBN 9742777519
{{จบอ้างอิง}}

{{กรุงศรีอยุธยา}}
{{โกนบอง}}


[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับไทย]]
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:19, 15 กรกฎาคม 2563

มันหายไปไหนอ่ะครับ