ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุ่มพวง ดวงจันทร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เว้นวรรค
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เค้าเป็นคนที่สวย
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
}}
}}


'''พุ่มพวง ดวงจันทร์'''
'''พุ่มพวง ดวงจันทร์''' (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น '''ผึ้ง''' มีชื่อจริงเมื่อเกิดว่า '''รำพึง จิตรหาญ''' เป็นนักร้อง[[เพลงลูกทุ่ง]] เจ้าของฉายา "ราชินีลูกทุ่ง" ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง


<br />
เธอเกิดที่[[จังหวัดชัยนาท]]<ref name="Pumpuang in Child">[http://www.siamdara.com/Variety/00011918.html (ตอน1) "ผึ้ง-รำพึง" ลูกผู้เสียสละให้ครอบครัว] siamdara.com</ref> แต่โตที่[[จังหวัดสุพรรณบุรี]] เป็นบุตรของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพทำไร่[[อ้อย]] และมีฐานะที่ยากจน เธอเป็นบุตรคนที่ 5 จากพี่น้องทั้งหมด 12 คน<ref name="thaifilm">[http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=4215&page=5&keyword= ย้อนรำลึกถึงราชินีเพลงไทยลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์] thaifilm.com</ref> เธอชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็ก เคยเดินสายประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ใช้ชื่อว่า '''น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย''' เมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาของเธอฝากให้เธอนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของ[[ไวพจน์ เพชรสุพรรณ]] ซึ่งแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง ''แก้วรอพี่'' โดยขณะนั้นเธอใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า '''น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ''' ต่อมามนต์ เมืองเหนือ ได้ตั้งชื่อในวงการบันเทิงให้เธอใหม่ว่า '''พุ่มพวง ดวงจันทร์'''


พุ่มพวง ดวงจันทร์ เริ่มมีชื่อเสียงมากที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2525 โดยมีผลงานเพลงดังเช่น อาทิ ''สาวนาสั่งแฟน'', ''นัดพบหน้าอำเภอ'', ''อื้อฮือหล่อจัง'', ''กระแซะเข้ามาซิ'', ''ดาวเรืองดาวโรย'', ''คนดังลืมหลังควาย'', ''บทเรียนราคาแพง'' ฯลฯ เป็นต้น ส่วนมากมาจากการประพันธ์ของ[[วิเชียร คำเจริญ]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 เธอได้ย้ายมาเป็นศิลปินสังกัด[[ท็อปไลน์ ไดมอนด์]] เธอเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2526 จากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง ''[[สงครามเพลง]]'' ซึ่งกำกับโดย[[ฉลอง ภักดีวิจิตร]] โดยแสดงคู่กับ[[ยอดรัก สลักใจ]] และเธอยังแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง ส่วนมากเธอมักรับบทเป็นนางเอก อาทิ ''รอยไม้เรียว'', ''ผ่าโลกบันเทิง'', ''นักร้อง นักเลง'' เป็นต้น<ref name="ASTV"/>

เธอเคยคบหาดูใจกับ[[ธีรพล แสนสุข]] ซึ่งเป็นนักแซกโซโฟนของวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ แต่เมื่อเธอเรื่มทำงานในวงการอย่างเต็มที่ ธีรพลจึงปันใจให้กับ[[สลักจิต ดวจันทร์]] ซึ่งเป็นน้องสาวของเธอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 เธอสมรสกับ[[ไกรสร ลีละเมฆินทร์]] นักแสดงภาพยนตร์ โดยเธอมีบุตรกับไกรสร 1 คน คือ [[ภัควรรธน์ พิสิษวุฒิรัชต์|ภัควรรธน์ ลีละเมฆินทร์]]​

พุ่มพวง ดวงจันทร์ หายหน้าไปจากวงการในช่วงปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากเธอป่วยด้วย[[ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง|โรคเอสแอลอี]] และได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 รวมอายุได้ 30 ปี โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ซึ่ง[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] (ในขณะนั้นยังทรงพระยศ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]) เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ

แม้เธอจะเสียชีวิตไปแล้วแต่ผลงานของเธอก็ยังมีการวางจำหน่าย<ref name="ASTV"/> และยังมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งอีกหลายรายได้นำผลงานเพลงของเธอมาขับร้องใหม่ เช่น ''พุ่มพวง ในดวงใจ ชุดที่ 1 – 4'' โดย [[ใหม่ เจริญปุระ]] , อัลบั้ม ''เพชร สรภพ - เพลงของแม่ ชุดที่ 1'' โดย [[ภัควรรธน์ พิสิษวุฒิรัชต์|ภัควรรธน์ ลีละเมฆินทร์]]<ref>[http://gotoknow.org/blog/luktung/101319 เพชร สรภพ ลูกชายของพุ่มพวง ดวงจันทร์ กับอัลบั้มชุด "เพลงของแม่" ร้องเพลงให้แม่ฟัง] gotoknow.org</ref> และอัลบั้ม ''ดวงจันทร์ .. กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์'' ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการจัดทำละครโทรทัศน์เรื่อง ''ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์'' ออกอากาศทาง [[ช่อง 7]] ซึ่งเค้าโครงเรื่องมาจากชีวประวัติของเธอ นำแสดงโดย [[รชนีกร พันธุ์มณี]] [[วรวุฒิ นิยมทรัพย์]] [[ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์]] <ref>[http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2008/06/A6701868/A6701868.html สุดยอดราชินีลูกทุ่ง " พุ่มพวง ดวงจันทร์ "] กระทู้ในพันทิป</ref> และในปี พ.ศ. 2554 มีการสร้างภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง ''พุ่มพวง'' กำกับโดย[[บัณฑิต ทองดี]] ซึ่งผู้ที่รับบทเป็นเธอคือ[[เปาวลี พรพิมล]]

== ประวัติ ==
===ก่อนเข้าวงการ ===
===ก่อนเข้าวงการ ===


*{{เกิดปี|2504}}{{ตายปี|2535}}
รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ บ้านหนองนกเขา [[ตำบลไพรนกยูง]] [[อำเภอหันคา]] [[จังหวัดชัยนาท]]<ref name="Pumpuang in Child">[http://www.siamdara.com/Variety/00011918.html (ตอน1) "ผึ้ง-รำพึง" ลูกผู้เสียสละให้ครอบครัว] siamdara.com</ref> โตที่[[ตำบลบ่อสุพรรณ]] [[อำเภอสองพี่น้อง]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]]เป็นบุตรีของนายสำราญ และนางจรัญ (เล็ก) จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่[[อ้อย]] เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน<ref name="thaifilm">[http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=4215&page=5&keyword= ย้อนรำลึกถึงราชินีเพลงไทยลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์] thaifilm.com</ref>

สถานภาพครอบครัวเธอจัดอยู่ในขั้นที่ยากจนมาก เธอเรียนที่โรงเรียนบ้านดอนตำลึง แต่ด้วยความที่เธอมีน้องอีก 6 คน ประกอบกับค่านิยมของแม่นั้นเห็นว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเรียนมาก เธอจึงไม่จบแม้แต่ชั้น ป.2 ในวัยเด็กพอน้องหลับหมด เธอไปหาของขาย เก็บผัก หาดอกไม้ป่า หาบไปขายตามโรงงาน<ref>[http://www.thaiblognews.com/17-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87/ 17 ปีแห่งความหลัง “พุ่มพวง ดวงจันทร์”(1):ย้อนรอยริ้วแห่งอดีต]</ref>

=== เส้นทางนักร้อง ===

รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็ก ถึงแม้ว่าเธอจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็มีความจำดีเยี่ยม เธอเริ่มหัดร้องเพลงและเข้าประกวดตามงานต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 8 ปี โดยใช้ชื่อว่า ''น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย''<ref name="gotoknow">[http://gotoknow.org/blog/pisootjaithiang/120590 ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์] gotoknow.org</ref> เธอเข้าประกวดล่ารางวัลไปทั่ว ตั้งแต่อำเภอศรีประจันต์ บางปลาม้า แล้วข้ามจังหวัดไปถึงอำเภอเสนา ผักไห่ มหาราช วิเศษชัยชาญ บ้านแพรก หนองโดน พระพุทธบาท สระบุรี และต่อมาอยู่กับวงดนตรีที่กรุงเทพฯ กับ ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ แต่ยังไม่ได้เป็นนักร้องอาชีพก็กลับบ้านอำเภอสองพี่น้อง

ในปี พ.ศ. 2518 เมื่ออายุได้ 15 ปี [[ไวพจน์ เพชรสุพรรณ]] นำวงดนตรีมาแสดงที่วัดทับกระดาน เธอได้ร่วมร้องเพลงและแสดงความสามารถจนไวพจน์เห็นความสามารถ เกิดความเมตตา จึงรับเป็นบุตรบุญธรรมและพาไปอยู่กรุงเทพฯ เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็น[[หางเครื่อง]]และนักร้องพลาง ๆ ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง ''แก้วรอพี่'' เพลงแต่งแก้กับเพลง "แก้วจ๋า" โดยใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า '''น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ''' ซึ่งจากการอยู่ในวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ ทำให้เธอสนิทสนมกับธีระพล แสนสุข ทำให้ต้องแยกออกจากวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาเริ่มงานกับ[[ศรเพชร ศรสุพรรณ]] โดยทำงานเป็นทั้งหางเครื่องและนักร้องในวง และย้ายมาอยู่กับขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด

=== ความสำเร็จและรางวัล ===
ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่งชื่อดัง มนต์ เมืองเหนือ รับเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น "พุ่มพวง ดวงจันทร์" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ "รักไม่อันตราย" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจาก[[ประจวบ จำปาทอง]]และ[[ปรีชา อัศวฤกษ์นันท์]]ให้ตั้งวงร่วมกับ[[เสรี รุ่งสว่าง]] ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้น

พ.ศ. 2521 พุ่มพวงได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จากเพลง “อกสาวเหนือสะอื้น” นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง "[[ส้มตำ (เพลงพระราชนิพนธ์)|ส้มตำ]]" พระราชนิพนธ์ใน[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]]

พุ่มพวง ดวงจันทร์ เข้ามาอยู่สังกัด[[อโซน่า|อโซน่า โปรโมชั่น]] ในปี พ.ศ. 2525 ผลงานในระหว่างปี 2525-2535 ของเธอมีมากมายอย่างเช่น ''จะให้รอ พ.ศ.ไหน'' (มิ.ย. 2525) ''นัดพบหน้าอำเภอ'' (2526) ''สาวนาสั่งแฟน'' (2527) ''ทิ้งนาลืมทุ่ง'' (2527) ''คนดังลืมหลังควาย'' (2528) ''อื้อฮื้อ ! หล่อจัง'' (2528) ''ห่างหน่อย – ถอยนิด'' (2529) ''ชั่วเจ็ดที-ดีเจ็ดหน'' (2529) ''เรื่องของสัตว์โลก'' (2529) และ ''คิดถึงน้องบ้างนะ'' (2530) ซึ่งสามชุดหลังเป็นชุดที่ออกหลังที่พุ่มพวงออกจากค่ายอโซน่า โปรโมชั่นแล้ว

ต่อมาย้ายมาอยู่กับพีดี โปรโมชั่น และ ซีบีเอส เร็คคอร์ด (ประเทศไทย) และอาจารย์ไพจิตร ศุภวารีได้เปลี่ยนภาพลักษณ์พุ่มพวงให้เข้ากระแสนิยมของ[[เพลงสตริง]]ในยุคนั้น แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับของนักฟังเพลงลูกทุ่ง จึงได้ย้ายไปทำงานร่วมกับท็อปไลน์มิวสิค มีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมมากมาย ผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างเช่นชุด ''ตั๊กแตนผูกโบว์'', ''กล่อม'' และ ''ทีเด็ดพุ่มพวง'' ผลงานกับค่ายท็อปไลน์มิวสิคอื่น ๆ เช่น พุ่มพวง 31 (''หนูไม่รู้)'', พุ่มพวง 31 ภาค 2 (''หนูไม่เอา)'', พุ่มพวง 32 (''พี่ไปดู หนูไปด้วย)'' และนำผลงานเก่ามามิกซ์รวมกัน เช่น ''พุ่มพวงหลาย พ.ศ.'' (ตลับทอง และตลับเพชร), ''ขอให้รวย'', ''น้ำผึ้งเดือนห้า'', ''ซูเปอร์ฮิต 1 และ 2'' จากนั้นเธอเริ่มรับจ้างทำงานให้กับ[[อาร์เอส โปรโมชั่น]] เมโทรเทปและแผ่นเสียง และแฟนตาซี ไฮคลาส สำหรับผลงานกับค่ายอาร์เอส เช่น ''ลูกทุ่งท็อปฮิตมาตรฐาน'' เป็นผลงานอัลบั้มที่เธอนำเพลงดังของศิลปินลูกทุ่งดังในอดีตมาร้องใหม่ นอกจากนี้ยังมีค่ายเมโทรฯ ที่ได้ลิขสิทธิ์งานเพลงชุด "ส่วนเกิน" อีก 1 ชุด<ref name="ASTV">[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000068341 17 ปีแห่งความหลัง "พุ่มพวง ดวงจันทร์"(2):พิสูจน์รักไกรสร] ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2552 13:25 น.</ref>

พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2526 และแสดงหนังเรื่องแรก ''สงครามเพลง'' สร้างโดย[[ฉลอง ภักดีวิจิตร]] และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง ''มนต์รักนักเพลง'' ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ผลงานการแสดงของเธอในฐานะนางเอก อย่างเช่น ''สงครามเพลง'', ''รอยไม้เรียว'', ''ผ่าโลกบันเทิง'', ''นักร้อง นักเลง'', ''นางสาวกะทิสด'', ''มนต์รักนักเพลง'', ''ลูกสาวคนใหม่'', ''อีแต๋น ไอเลิฟยู'', ''หลงเสียงนาง'', ''จงอางผงาด'', ''ขอโทษทีที่รัก'', ''คุณนาย ป.4'', ''อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง'', ''สาวนาสั่งแฟน'', ''เสน่ห์นักร้อง'', ''นางสาวยี่ส่าย'' (ภาพยนตร์โทรทัศน์) เป็นต้น<ref name="ASTV"/>

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอีกครั้ง ในสาขารางวัลขับร้องเพลงดีเด่น กับเพลง "สยามเมืองยิ้ม" ประพันธ์โดยครูลพ บุรีรัตน์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง ภาค 2<ref name="gotoknow"/>

== ถึงแก่กรรม ==

13 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า พุ่มพวงทะเลาะกับสามี และป่วยเป็นโรคไตขั้นรุนแรง จนต้องเข้าโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถเบิกเงินจากธนาคารเพื่อมารักษาตัวเองได้ (ซึ่งมีอยู่ 6 ล้านบาท) สมุดบัญชีอยู่กับไกรสร (สามี) ที่เชียงใหม่ เธอจึงตัดสินใจสั่งอายัดเงินทั้งหมด ต่อมา 20 มีนาคม เธอเดินทางจากเชียงใหม่ เข้ารักษาตัวเองที่โรงพยาบาลตากสิน จันทบุรี และย้ายไปที่[[โรงพยาบาลศิริราช]] แพทย์ตรวจพบว่าเธอป่วยด้วย[[โรคเอสแอลอี]]หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาการขั้นรุนแรง ลุกลามถึงไต ทางด้านไกรสรออกมายอมรับว่ามีปัญหาครอบครัวจริง ต่อมา 3 เมษายน แพทย์เจ้าของไข้เปิดเผยว่าพุ่มพวงอาการดีขึ้น ทางด้านญาติของพุ่มพวงมีความเห็นว่าควรรักษาด้วยไสยศาสตร์ เนื่องจากเชื่อว่าถูกปองร้ายด้วยไสยศาสตร์ด้วยวิธีการคุณไสย ต่อมาวันที่ [[13 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2535]] เดินทางออกจากโรงพยาบาลศิริราชเพื่อไปรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ไปจังหวัดพิษณุโลกโดยเดินทางด้วยรถตู้ แต่หลังจากกราบไหว้พระพุทธชินราช เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ก็เกิดอาการช็อกและหมดสติ ญาตินำส่งโรงพยาบาลพุทธชินราช กระทั่งถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อเวลา 20.55 น.

ได้สวดอภิธรรมศพที่[[วัดมกุฏกษัตริยาราม]] พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2535 โดย[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ [[วัดทับกระดาน]] [[อำเภอสองพี่น้อง]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-17 มิถุนายน ของทุกๆปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ

== ชีวิตส่วนตัว ==
แฟนคนแรกของพุ่มพวงคือ [[ธีระพล แสนสุข]] ระหว่างที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เทใจทุ่มกับงานอย่างเต็มที่ ธีระพลเริ่มปันใจให้กับ[[สลักจิต ดวงจันทร์]] จึงทำให้ความรักของทั้งคู่จบลง แต่ด้านธุรกิจยังคงร่วมงานกันอยู่ แต่ในปี 2530 ธีระพล แสนสุข ก็ถูกน้องชายพุ่มพวง ดวงจันทร์ ยิงตาย

ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า [[ไกรสร แสงอนันต์]] ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น [[สรภพ ลีละเมฆินทร์|สรภพ]]) หรือ "เพชร" หรือ "บ่อยบ๊อย" ลีละเมฆินทร์<ref name="thaifilm"/> ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี [[จันทร์จวง ดวงจันทร์]] [[ดวงใจ ดวงจันทร์]] และ[[สลักจิต ดวงจันทร์]] น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน<ref>[http://women.mthai.com/views_Amazing-Women_11_88_9235_1.women แห่แทงเลขเด็ด13วันตาย "พุ่มพวง"ทำขนหัวลุก! สิงสองน้องสาว]</ref>

== สิ่งสืบเนื่องและอนุสรณ์ ==

=== อัลบั้มเพลง ===
เดือนมิถุนายน 2535 หลังจากที่พุ่มพวงเสียชีวิต ค่ายท็อปไลน์และค่ายอโซน่า ก็นำเอาเพลงชุดต่างๆ ของพุ่มพวงออกวางจำหน่ายอีกครั้ง ท็อปไลน์ได้มีการทำปกขึ้นมาใหม่อีก คือ ''คิดถึงพุ่มพวง'', ''ส้มตำ'', ''คอนเสิร์ต โลกดนตรี'' โดยชุด ''ส้มตำ'' จัดสร้างขึ้นโดยคณะกรรมการจัดงานพระราชทาน เพลิงศพฯ มีคำบรรยายเกียรติประวัติพุ่มพวง และเพลงอย่าง ส้มตำ, กล่อม, ฉลองวันเศร้า, รักคุด, แล้วจะทนเพื่ออะไร, ของขวัญที่ฉันคืนเธอ, หัวใจทศกัณฐ์, เขานอนบ้านใน, หนูไม่รู้, แฟนพุ่มพวง เป็นต้น<ref name="ASTV"/>

ผลงานอัลบั้มเพลงที่วางจำหน่ายเพื่อระลึกถึงพุ่มพวงเช่น ''คิดถึงพุ่มพวงและโลกของผึ้ง'' และยังมีเทปที่ทำเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตอย่างเช่น ''แหล่ประวัติพุ่มพวง ดวงจันทร์'' โดย[[ไวพจน์ เพชรสุพรรณ]] ''หนึ่งในดวงใจผลงานของยุ้ย'' โดย[[ยุ้ย ญาติเยอะ]] (จริยา ปรีดากูล) ''เหลือแต่ดวงจันทร์'' ที่ครูลพ บุรีรัตน์แต่งให้พุ่มพวง

งานเพลงของศิลปินที่นำเพลงของพุ่มพวงมาขับร้องใหม่โดยเฉพาะนักร้องปัจจุบัน มีความแตกต่างกันด้วยจังหวะและระยะเวลาที่ต่างกันไป แกรมมีโกลด์นำผลงานของพุ่มพวงโดยเฉพาะทีประพันธ์โดยลพ บุรีรัตน์ ออกมาอยู่เรื่อยๆ มียอดขายประสบความสำเร็จอย่างดี มีผลงานออกมาอย่าง ดแค้นแ ''พุ่มพวง ในดวงใจ ชุดที่ 1 – 4'' โดย [[ใหม่ เจริญปุระ]] , อัลบั้ม ''เพชร สรภพ - เพลงของแม่ ชุดที่ 1'' (ชุดเดียว) กับเพลงเปิดตัว "โลกของ ผึ้ง" โดยดัดแปลงเนื้อร้องบางส่วนให้เหมาะสมกับการถ่ายทอดบทเพลง<ref>[http://gotoknow.org/blog/luktung/101319 เพชร สรภพ ลูกชายของพุ่มพวง ดวงจันทร์ กับอัลบั้มชุด "เพลงของแม่" ร้องเพลงให้แม่ฟัง] gotoknow.org</ref> อัลบั้ม ''ดวงจันทร์ ... กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์'' โดยมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งสาวนำเพลงมาทำใหม่ ได้แก่ [[สุนารี ราชสีมา]] (เขานอนบ้านใน, นอนฟังเครื่องไฟ, ฉันเปล่านา เขามาเอง), [[คัฑลียา มารศรี]] (สาวนาสั่งแฟน, อายแสงนีออน, หัวใจทศกัณฐ์), [[ฝน ธนสุนทร]] (สุสนรัก, คิดถีงบ้างเน้อ, ขอให้โสดทีเถอะ), [[แมงปอ ชลธิชา]] (รักคุด, เงินน่ะมีไหม, อื้อฮือหล่อจัง) , [[หลิว อาจารียา]] (กระแซะ, หนูไม่รู้, ผู้ชายในฝัน), [[เอิร์น เดอะสตาร์]] (พี่ไปดู หนูไปด้วย, นัดพบหน้าอำเภอ, โลกของผึ้ง), [[ต่าย อรทัย]] (แก้วรอพี่, นักร้องบ้านนอก, คืนนี้เมื่อปีกลาย) และ[[ตั๊กแตน ชลดา]] (ดาวเรืองดาวโรย, ตั๊กแตนผูกโบว์, อนิจจาทิงเจอร์) นอกจากนี้[[ทรูแฟนเทเชีย]] มีผลงานชุด ''7 สาวสะบัดโชว์'' ก็มีเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ คือ ผู้ชายในฝัน, อื้อฮือหล่อจัง อยู่ในอัลบั้มนี้

=== ภาพยนตร์และละคร ===
ในปี พ.ศ. 2535 มีภาพยนตร์รำลึกถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์กับเรื่อง ''บันทึกรักพุ่มพวง'' กำกับโดยดอกฟ้า ได้พุ่มพวง แจ่มจันทร์ แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเป็นภาพยนตร์ที่เล่าชีวิตส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ<ref>[http://www.thaifilmdb.com/th/tt00358 บันทึกรักพุ่มพวง] thaifilmdb.com</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บริษัท เจเอสแอลจำกัดได้ทำละครโทรทัศน์เรื่อง ''ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์'' ออกอากาศทาง[[ช่อง 7]] ดัดแปลงจากชีวิตจริง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์นำแสดงโดย [[รชนีกร พันธุ์มณี]] [[วรวุฒิ นิยมทรัพย์]] [[ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์]] <ref>[http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2008/06/A6701868/A6701868.html สุดยอดราชินีลูกทุ่ง " พุ่มพวง ดวงจันทร์ "] กระทู้ในพันทิป</ref> โดยต้อม รัชนีกรได้รับการเข้าชื่อเพื่อชิง[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ]]ในฐานะดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น

ในปี พ.ศ. 2554 [[สหมงคลฟิล์ม]] ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง ''[[พุ่มพวง (ภาพยนตร์)|พุ่มพวง]]''<ref>[http://www.siamzone.com/movie/news/?id=5766 สรุปรายได้ภาพยนตร์ทำเงินที่เข้าฉายในบ้านเรา ปี 2554] siamzone.com</ref> โดยนำเค้าโครงจากชีวิตจริงของพุ่มพวง ดวงจันทร์และหนังสือเรื่อง ''ดวงจันทร์ที่จากไป'' ของ [[บินหลา สันกาลาคีรี]] กำกับโดย [[บัณฑิต ทองดี]] นำแสดงโดย [[เปาวลี พรพิมล]]<ref>[http://www.isnhotnews.com/2011/06/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99/ "เปาวลี" ทุ่มสุดตัวฝึกหนัก ทั้งร้อง-เต้น-การแสดง เพื่อรับบท "พุ่มพวง" ภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิต]</ref> แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ ร่วมด้วย [[ณัฐวุฒิ สกิดใจ]], [[วิทยา เจตะภัย]], [[บุญโทน คนหนุ่ม]]

=== สื่อสิงพิมพ์ ===
ส่วนสื่อสิงพิมพ์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เคยนำเสนอแฟชั่นหน้าคู่กลาง ราวปี 2538 เดือนมิถุนายน กับแนวความคิด “ชีวิตพุ่มพวง ดวงจันทร์” ใช้ “งานรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์” มาเป็นฉากหลังของแฟชั่น มีนางแบบคือ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีหน้าตาละม้ายพุ่มพวงและยังถือเป็นเงาเสียงของพุ่มพวงในสมัยประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ โดยจำลองชีวิตของพุ่มพวงตั้งแต่การออกจากโรงเรียนเพื่อทำงาน การเป็นสาวไร่อ้อย จนถึงนักร้อง โดยมีการใช้ภาพจริงประกอบ<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000069402 17 ปีแห่งความหลัง - พุ่มพวง ดวงจันทร์ (จบ):ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน] ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2552 13:59 น.</ref>

=== หุ่นพุ่มพวง ===
สำหรับหุ่นเหมือนพุ่มพวง ดวงจันทร์ ปัจจุบันมีอยู่ 7 หุ่น อยู่ที่[[วัดทับกระดาน]] 6 หุ่น ได้แก่ หุ่นที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณสระกลางน้ำ แต่งกายชุดสีดำ เป็นหุ่นอภินิหาริย์ที่สร้างขึ้นหลังพระราชทานเพลิงศพ หุ่นที่ 2 อยู่ในตู้กระจก ยุ้ย ญาติเยอะ เป็นผู้สร้างไว้บูชาครูเพลงพุ่มพวง หุ่นที่ 3 สร้างโดยนายณรงค์ รอดเจริญ อดีตบรรณาธิการ เป็นหุ่นแก้บน ทำด้วยขี้ผึ้งแข็ง หุ่นที่ 4 เป็นสีชมพู สร้างขึ้นจากแฟนเพลง ที่เป็นหุ่นปลดนี้ รุ่นนางพญาเสือดาว หุ่นที่ 5 อยู่ในชุดเสวนาธรรม สร้างโดยญาติและกรรมการวัด หุ่นที่ 6 เป็นหุ่นสีทอง สร้างขึ้นโดย[[ใหม่ เจริญปุระ]] สร้างขึ้นเพื่อบูชาครูเพลง<ref>[http://video.sanook.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A!!-398514-player.html พระเพชรเผยเทปลับ!!]</ref> หุ่นพุ่มพวงที่วัดทับกระดานนั้น ยังมีชื่อเสียงเรื่องมีผู้นิยมมาขอ[[หวย]]อย่างมากมาย<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000068823 17 ปีแห่งความหลัง "พุ่มพวง ดวงจันทร์"(3):เขย่าติ้ว เสี่ยงเซียมซี] ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2552 13:31 น.</ref> ส่วนหุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวที่เจ็ดนั้น เป็นหุ่นชุดเสือดาว สร้างโดยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ เพื่อจัดแสดง ณ [[มาดามทุซโซต์ กรุงเทพ|พิพิธภัณฑ์สาขากรุงเทพ]] ชั้น 6 และ 7 [[สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์]] โดยพิพิธภัณฑ์มีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ธันวาคม 2553 หุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวนี้เป็นตัวแรกที่ผู้สร้างส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และเป็นหุ่นตัวแรกที่ไม่ได้ตั้ง ณ วัดทับกระดาน

=== การเชิดชูเกียรติ ===
วันที่ 15 สิงหาคม 2552 กระทรวงวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกปริยศิลปิน และปรมศิลปิน มีมติประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นายสุรพล สมบัติเจริญ และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ หรือรำพึง จิตรหาญ เป็น "ปริยศิลปิน"<ref name="ปริยศิลปิน">[[MCOT HD]] รายการข่าวดังข้ามเวลา ตอน พุ่มพวง ดวงจันทร์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 22:00 น.</ref> ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน โดยวันที่16 ส.ค. ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของนายสุรพล สวช.จะมีพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการให้แก่ครอบครัวสมบัติเจริญ ที่ศูนย์การค้าอินเดีย เอ็มโพเรียม กรุงเทพฯ หรือ ATM พาหุรัดเดิม ส่วนครอบครัวของพุ่มพวง ดวงจันทร์นั้น สวช.จะจัดพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ส.ค.2552

== กรณีพิพาทหลังเสียชีวิต ==
ไกรสรและญาติของพุ่มพวงเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก มีการกล่าวหากันไปมาทั้งสองฝ่าย มีข้อมูลระบุว่า ไกรสรกลับไปคืนดีกับอดีตภรรยา ส่วนอีกฝ่ายหาว่าเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะทางฝ่ายญาติพุ่มพวงต้องการได้ส่วนแบ่งมรดกตกทอดทั้งหมด 80 ล้านบาท ต่อมานางเล็กยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกทั้งหมด แต่ต่อมาไกรสรยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้าน และต่อมานายสำราญ (พ่อของพุ่มพวงซึ่งหย่าจากนางเล็กแล้ว) คัดค้านอดีตภรรยาเนื่องจาก นางเล็ก อ่านเขียนไม่ออก แต่ต่อมาถอนคำร้อง และศาลได้สั่งให้ไกรสรและนางเล็กเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน โดยทรัพย์สมบัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน ส่วนแรกเป็นของไกรสร อีกส่วนเป็นกองกลาง ซึ่งมีเจ้าของ 4 คนคือ นายสำราญ นางเล็ก ไกรสร และลูกชาย สันติภาพ ทุกคนจะได้รับเท่ากันในส่วนนี้ แต่หากพบว่าสมบัติใดพบหลังการแบ่งแล้ว จะยกให้สันติภาพเพียงผู้เดียว<ref name="thaifilm"/>

== ผลงาน ==
=== การร้องเพลง ===
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่ออัลบั้มเพลงที่ขับร้องโดยพุ่มพวง ดวงจันทร์}}
{{Div col|5}}
* [[ตั๊กแตนผูกโบว์]]
* [[หม้ายขันหมาก]]
* [[อื้อฮือหล่อจัง]]
* [[สาวนาสั่งแฟน]]
* [[ดาวเรืองดาวโรย]]
* [[อายแสงนีออน]]
* [[นักร้องบ้านนอก]]
* [[บทเรียนราคาแพง]]
* [[หม้ายขันหมาก]]
* [[ส้มตำ]]
* [[เพลงรักบ้านทุ่ง]]
* ฯลฯ
{{Div col end}}

=== แสดงภาพยนตร์ ===
* [[พ.ศ. 2526]] [[สงครามเพลง]] (คู่กับ [[ยอดรัก สลักใจ]])
* [[พ.ศ. 2526]] [[ผ่าโลกบันเทิง]]
* [[พ.ศ. 2526]] [[รอยไม้เรียว]] (คู่กับ [[ทูน หิรญทรัพย์]])
* [[พ.ศ. 2526]] [[หลงเสียงนาง]]
* [[พ.ศ. 2527]] [[มนต์รักนักเพลง]]
* [[พ.ศ. 2527]] [[คุณนาย ป.4]]
* [[พ.ศ. 2527]] [[ชี]] (คู่กับ[[สรพงษ์ ชาตรี]])
* [[พ.ศ. 2527]] [[นางสาวกะทิสด]]
* [[พ.ศ. 2527]] [[สาวนาสั่งแฟน]] (คู่กับ [[ยอดรัก สลักใจ]])
* [[พ.ศ. 2527]] [[อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง]]
* [[พ.ศ. 2527]] [[อีแต๋น ไอเลิฟยู]] (คู่กับ [[ยอดรัก สลักใจ]])
* [[พ.ศ. 2527]] [[ขอโทษที ที่รัก]] ( คู่กับ[[สุรชัย สมบัติเจริญ]] ร่วมด้วย [[นันทิดา แก้วบัวสาย]] )
* [[พ.ศ. 2527]] [[จงอางผงาด]]
* [[พ.ศ. 2528]] [[ที่รัก เธออยู่ไหน]]
* [[พ.ศ. 2529]] [[มือปืนคนใหม่]]
* [[พ.ศ. 2530]] [[เสน่ห์นักร้อง]] (แสดงร่วมกับ [[ยอดรัก สลักใจ]] และ [[สายัณห์ สัญญา]])
* [[พ.ศ. 2530]] [[เชลยรัก]]
* [[พ.ศ. 2530]] [[เพลงรักเพลงปืน]] (คู่กับ [[ยอดรัก สลักใจ]])
* [[พ.ศ. 2531]] [[เพชรพยัคฆราช]]

=== แสดงละครโทรทัศน์ ===
* [[พ.ศ. 2532]] [[นางสาวยี่ส่าย]]

== รางวัล ==
* รางวัลเสาอากาศทองคำทองคำ เพลง "อกสาวเหนือสะอื้น" (ผลงาน - ธีระพล แสนสุข) (2521)
* รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1 เพลง "สาวนาสั่งแฟน" ( ผลงาน - วิเชียร คำเจริญ) (2532)
* รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 เพลง "สยามเมืองยิ้ม" (วิเชียร คำเจริญ) (2534)<ref name="gotoknow">[http://gotoknow.org/blog/pisootjaithiang/120590 ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์] gotoknow.org</ref>
* ยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น "ปริยศิลปิน" ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน 15 ส.ค. 2552<ref name="ปริยศิลปิน">[[MCOT HD]] รายการข่าวดังข้ามเวลา ตอน พุ่มพวง ดวงจันทร์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 22:00 น.</ref>

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* http://poompuang.com/
* http://www.poompuang.com/subindex.php?page=sub&category=&subcategory=26&id=53
* http://www.luktungfm.com/krupeng/pumpwong.html
* http://www.mthai.com/webboard/6/112134.html
*[http://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/FullPaper/JLC36-1-Sanya-CV.pdf สัญญา ชีวะประเสริฐ. “พุ่มพวง ดวงจันทร์ ปรากฏการณ์ของเพลงลกทุ่ง.” ''วารสารภาษาและวัฒนธรรม'' 36, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560), น. 133-53.]
* [http://www.thaifilmdb.com/th/pp01357 ไทยฟิล์ม]


{{เกิดปี|2504}}{{ตายปี|2535}}
[[หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักแสดงไทย]]
[[หมวดหมู่:นักแสดงไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:15, 21 พฤศจิกายน 2562

พุ่มพวง ดวงจันทร์
upright=220px
เกิดรำพึง จิตรหาญ
4 สิงหาคม พ.ศ. 2504
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (30 ปี)
จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตโรคเอสแอลอี
ชื่ออื่นราชินีลูกทุ่ง
น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย
น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ
อาชีพนักร้อง  • นักแสดง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2535
คู่สมรสไกรสร ลีละเมฆินทร์
บุตรภัควรรธน์ ลีละเมฆินทร์
บิดามารดา
  • สำราญ จิตรหาญ (บิดา)
  • เล็ก จิตรหาญ (มารดา)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงลูกทุ่ง • ป็อป • ป็อปร็อก
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลงอโซน่า • ท็อปไลน์ ไดมอนด์
ลายมือชื่อ
ไฟล์:Singnature Poompuang.png

พุ่มพวง ดวงจันทร์


ก่อนเข้าวงการ