ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตู้เย็น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Reverted to revision 7684013 by EZBELLA (talk). (TW)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
แทนที่เนื้อหาด้วย "thumb|300px|ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป = {{รายการอ้า..."
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Juliesfridge.jpg|thumb|300px|ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป]]
[[ไฟล์:Juliesfridge.jpg|thumb|300px|ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป]]


=
'''ตู้เย็น''' เป็น[[เครื่องใช้ไฟฟ้า]]ที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วน[[ฉนวน]]ป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกัน[[การเน่าเสีย]] เนื่องจาก[[แบคทีเรีย]]เติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มี[[อุณหภูมิ]]สูงกว่า[[จุดเยือกแข็ง]] (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร


ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 [[°C]] (ประมาณ 0 [[°F]]) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมี[[เครื่องทำน้ำแข็ง]]ติดตั้งมาพร้อมกัน

ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ใน[[โรงงาน]]มักใช้[[แก๊ส]][[แอมโมเนีย]]ซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วง[[ทศวรรษ]] 1930s ที่[[สหรัฐอเมริกา]]ได้สังเคราะห์[[สารเคมี]]ราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊ส[[ฟรีออน]]

== ประวัติ ==
ก่อนการประดิษฐ์ตู้เย็นประเทศในเขตหนาวได้มีการตัดน้ำแข็งก้อนใหญ่จากทะเลสาบในฤดูหนาวมาเก็บในขี้เลื่อยไว้ใช้ตลอดปี ในประเทศไทยคนส่วนมากเก็บอาหารไว้ในตู้กับข้าวซึ่งป้องกันแมลงและหนูมารบกวนเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันการเน่าเสีย [[คนไทย]]มีวิธีอื่น ๆ อีกมากเพื่อ[[ถนอมอาหาร]] เช่น [[หมัก]] [[ดอง]] [[แช่อิ่ม]] [[ตากแห้ง]] [[รมควัน]] นอกจากนี้คนไทยยังเก็บน้ำฝนไว้ในโอ่งดินซึ่งทำให้น้ำเย็นตามธรรมชาติ

[[ไฟล์:Thinktank Birmingham - object 1978S03348(1).jpg|thumb|An early electric refidgerator, with a cyclindrical heat exchanger on top. Now in the collection of [[Thinktank, Birmingham Science Museum]]. ]]

ในศตวรรษที่ 11 มุสลิมนัก[[ฟิสิกส์]]และ[[เคมี]]ชาว[[เปอร์เซีย]], อวิเซ็นน่า หรือ [[อิบนูซีนา]] ([[Avicenna|Ibn Sina]] หรือ Avicenna) ประดิษฐ์[[เครื่องควบแน่น]] ([[Dehumidifier#Mechanical/refrigerative|refrigerated coil]]) เพื่อใช้ในการกลั่น[[น้ำมันหอม]]<ref>{{citation|title=Aromatherapy: A Practical Approach|first=Vicki|last=Pitman|publisher=[[Thomas Nelson (publisher)|Nelson Thornes]]|year=2004|isbn=0748773460|page=xi}}</ref><ref>{{citation|title=The Basics of Chemistry|first=Richard|last=Myers|publisher=[[Greenwood Publishing Group]]|year=2003|isbn=0313316643|page=14}}</ref> นี่เป็นการพัฒนา[[การกลั่น]] โดยอวิเซ็นน่าเป็นคนแรกที่ใช้[[การกลั่นด้วยไอน้ำ]] ซึ่งต้องใช้เครื่องควบแน่นในการทำให้ไอกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในระยะทางสั้นเพื่อผลิตน้ำมันหอม<ref name="Ericksen">Marlene Ericksen (2000) , ''Healing with Aromatherapy'', p. 9, [[McGraw-Hill]], ISBN 0-658-00382-8</ref> กระบวนการกลั่นนี้ได้ใช้มาถึงปัจจุบัน โดยในประเทศไทยได้ใช้ในการผลิต[[น้ำมันหอมระเหย]]

[[วิลเลียม คัลเลน]] (William Cullen) ประดิษฐ์ตู้เย็นเป็นครั้งแรกที่[[มหาวิทยาลัยกลาสโกว]] (University of Glasgow) ในปี 1748 หลังจากนั้นในปี 1805 เมื่อ[[โอลิเวอร์ อีวาน]] (Oliver Evans) ได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ใช้ไอทำความเย็น ต่อมาในปี 1902 [[วิลลิส ฮาวิแลนด์ คาริเออร์]] (Willis Haviland Carrier) ได้ประดิษฐ์[[เครื่องปรับอากาศ]] ในปี 1850 ถึง ปี 1851, [[ดร. จอห์น โกรี]] (John Gorrie) ประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็ง ในปี 1857 [[เจมส์ แฮริสัน]] (James Harrison) วิศวกรชาวออสเตรเลียได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ทำความเย็นด้วยการอัดไอเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อแช่แข็ง ต่อมาเฟอร์ดินานด์ คารี่ (Ferdinand Carré) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาระบบให้ซับซ้อนในปี 1859 โดยใช้แก๊ส[[แอมโมเนีย]]ซี่งระเหยเร็วเป็นตัวระบายความร้อนแทนอากาศ jojo

== การออกแบบ ==
ตู้เย็นทำความเย็นโดย[[ปั๊มความร้อน]]ในการทำความเย็น โดยในแต่ละรอบของการทำความเย็น สารทำความเย็นเช่น [[R134a]] เข้าไปในเครื่องอัดความดันหรือที่เรียกกันว่า[[คอมเพรสเซอร์]] (compressor) ที่มีความดันต่ำอุณหภูมิที่[[จุดเดือด]] แล้วอัดไอนั้น พออัดจนมีความดันสูงไอก็จะร้อน (สังเกตจากเวลาสูบลมจักรยาน) ไอร้อนความดันสูงเข้าไปในเครื่องควบแน่น (condenser) แล้วออกมาเป็นของเหลวความดันสูงที่จุดเดือด หลังจากนั้นก็ไปที่แผงระบายความร้อน สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวอุณหภูมิเย็นลงแล้วไหลไปที่ใกล้กับส่วนที่ต้องการให้เย็น ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นก๊าซอุณหภูมิต่ำ (เหมือนเวลาปล่อยลมออกจากล้อจักรยาน แล้วก็ไหลไปเป็นวงจรเรื่อย ๆ

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีในการทำความเย็น

== คุณภาพของตู้เย็น ==

ตู้เย็นรุ่นใหม่ราคาแพงส่วนมากมักมีคุณสมบัติต่อไปนี้

* ไม่มี[[น้ำแข็ง]]เกาะตามตู้ในช่องแช่แข็ง
* เตือนเมื่อ[[ไฟตก]]หรือไฟดับ
* มีที่กดน้ำและน้ำแข็งจากหน้าตู้โดยไม่ต้องเปิดประตู
* มีไฟบอกเมื่อต้องเปลี่ยนที่[[กรอง]]น้ำ
* มีถาดทำน้ำแข็งอยู่ภายใน

ตู้เย็นรุ่นแรก ๆ จะมีน้ำแข็งเกาะตามตู้ของช่องแช่แข็ง เกิดจากความชื้นตอนเปิดประตูตู้ โดยน้ำแข็งจะหนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ใช้ต้อง[[ละลาย]]น้ำแข็งเอง เช่น ถอดปลั๊กออกจนกว่าน้ำแข็งข้าง ๆ ตู้จะละลายหมด ต่อมา
จึงพัฒนาเป็นแบบกดปุ่มละลายน้ำแข็ง และละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็งเพื่อประหยัดไฟ<ref>{{cite web | title=การใช้ตู้เย็นให้ประหยัดไฟ | publisher=การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) | url=http://www.egat.co.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=114&Itemid=99}}</ref>

ในปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แก๊ส[[ฟรีออน]] (freon) โดยมีส่วนของซีเอฟซี (chlorofluorocarbons, CFCs) ที่ทำลาย[[ชั้นโอโซน]]ใน[[บรรยากาศ]] ตู้เย็นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ใช้แก๊สฟรีออนซึ่งมักรั่วออกสู่บรรยากาศ (สังเกตง่าย ๆ ได้จากการที่ต้องเติมน้ำยาทำความเย็นของตู้เย็น หรือน้ำยาแอร์ในเครื่องปรับอากาศ) ตู้เย็นรุ่นใหม่มักใช้สารทำความเย็นที่ไม่มีส่วนของซีเอฟซี เช่น [[1,1,1,2-Tetrafluoroethane|HFC-134a]] (1,2,2,2-tetrafluoroethane) ซึ่งไม่ทำลายชั้นโอโซน

== ประสิทธิภาพของตู้เย็น ==
ตู้เย็นที่กินไฟมากสุดคือแบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะต้องมีตัวเป่าความชื้นออกจากใบของพัดลมในตู้เย็น และยังต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิเป็นพัก ๆ แบบที่รองลงมาได้แก่แบบไม่มีระบบละลายน้ำแข็งเลย แต่ว่าน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นก็ทำให้กินไฟมากขึ้น ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็ง และแบบที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็งกินไฟที่สุด แต่ผู้ใช้มักไม่ซื้อตู้เย็นประหยัดไฟเนื่องจากมีราคาแพง<ref>{{cite news | title=ตู้เย็นประหยัดไฟ | publisher=[[สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค]] | url=http://202.143.146.178/digital_lib/snet3/electric/electric_know/refrigerator/refrig.htm}}</ref>

ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมาก (เกือบจะมากที่สุด รองจากเครื่องปรับอากาศ) ในช่วงยี่สิบปีมานี้มีการแข่งขันของผู้ผลิตในการพัฒนาตู้เย็นประหยัดไฟมากขึ้น ตู้เย็นที่มีคุณภาพดีในปัจจุบันกินไฟประมาณ 1 [[ยูนิต]] ([[กิโลวัตต์-ชั่วโมง]]) ต่อวัน[http://www.humboldt.edu/~ccat/energyconservation/sunfrost/kosukiSP2002/index.html#runs] สำหรับตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่อาจกินไฟถึง 4 ยูนิตต่อวัน

ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านบนจะกินไฟน้อยกว่าแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่างในความจุที่เท่ากัน ส่วนแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านข้าง จะกินไฟมากที่สุด <ref>{{cite web | title=What's more energy efficient, a refrigerator with a top-mounted freezers, bottom-mounted freezer, or a side-by-side? | publisher=[[Energy Star]] | url=http://energystar.custhelp.com/cgi-bin/energystar.cfg/php/enduser/std_adp.php?p_faqid=4912}}</ref> นักวิทยาศาสตร์ที่[[มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด]] ได้ผลิตตู้เย็นตามแบบของ[[ไอสไตน์]] ที่ประดิษฐ์ครั้งแรกในปี 1930 โดยตู้เย็นนี้ไม่ใช้ไฟฟ้า และไม่มีส่วนของก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ<ref>[http://www.inventor-strategies.com/albert-einstein-invention.html "Albert Einstein Refrigerator"]</ref>

ตู้เย็นที่มีประสิทธิภาพมากสุดตามทฤษฎีคือ[[ตู้เย็นคาร์โนต์]]ซึ่งไม่สามารถผลิตได้จริง

== ผลต่อชีวิตประจำวัน ==
ตู้เย็นสามารถ[[ถนอมอาหาร]]ให้สดใหม่ได้นาน ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่สามารถซื้ออาหารมาเก็บไว้ได้ทีละมาก ๆ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การสร้าง[[ห้างสรรพสินค้า]]ซึ่งมีอาหารหลากหลายชนิด ส่งผลให้โภชนาการของประชาชนทั่วไปดีขึ้น [[การขาดสารอาหาร]]ลดลง ผลิตภัณท์[[นม]] [[เนื้อสัตว์]] [[ปลา]] [[เป็ด]][[ไก่]] [[ผัก]] และ[[อาหารทะเล]]สามารถเก็บในตู้เย็นที่อยู่ในห้องครัวได้ (ควรเก็บเนื้อดิบ ๆ แยกต่างหากเพื่อความสะอาด)

ผู้คนสามารถรับประทานอาหารที่หลากหลายในมื้อเดียว เช่น [[สลัดผัก]] นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มาจากหลายที่ เช่น [[ภาคอีสาน]]สามารถรับประทานอาหารทะเลเพื่อป้องกันโรคคอพอก การส่งออก[[อาหารแช่แข็ง]]ก็เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้มากมาย

== ระบบช่องเก็บอาหารตู้เย็น ==

ตู้เย็นส่วนใหญ่แบ่งเป็นหลายส่วนเพื่อเก็บอาหารดังนี้

* -18 [[°C]] (0 [[°F]]) (ช่องแช่แข็ง)
* 0&nbsp;°C (32&nbsp;°F) ([[เนื้อ]])
* 5&nbsp;°C (40&nbsp;°F) (ช่องธรรมดา)
* 10&nbsp;°C (50&nbsp;°F) ([[ผัก]] [[ผลไม้]])

ปุ่มปรับความเย็นของตู้เย็นมักเป็น[[ตัวเลข]] (เช่น 1 ถึง 9 จากเย็นน้อยไปเย็นสุด) โดยต่างกันไปแล้วแต่ผู้ผลิต แต่มักอยู่ในช่วง 2 ถึง 8&nbsp;°C (36 ถึง 46&nbsp;°F) และอุณหภูมิประมาณ -18&nbsp;°C (0&nbsp;°F) ในช่องแช่แข็ง

ผู้ใช้ควรวางตู้เย็นไว้ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทเพื่อให้ตู้เย็นทำงานสะดวกและลดการกินไฟ
* ไม่ควรวางตู้เย็นใกล้ผนังเกินไป เพราะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี
* ไม่ควรวางตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำเย็นไว้ในห้องปรับอากาศ เพราะทำให้เสียค่าไฟสองต่อ โดยตู้เย็นดูดความร้อนเป่าออกมาหลังเครื่องทำให้ห้องร้อนขึ้น]]

== ขนาด ==

ขนาดของตู้เย็นวัดเป็น[[ลิตร]]หรือ[[คิว]] (คำว่าคิวมาจาก cubic foot/feet หมายถึง[[ลูกบาศก์ฟุต]]) เช่น 100 ลิตร (3.53 คิว) เป็นช่องแช่แข็งกับ 140 ลิตร (4.94 คิว) สำหรับช่องธรรมดา

ตู้เย็นมีหลายขนาด แบ่งตามการใช้งาน เช่น ขนาดเป็นห้องใหญ่ ๆ เพื่อใช้ใน[[อุตสาหกรรม]] จนถึง 2-3 คิวที่ใช้ใน[[บ้านเรือน]]

ประเภทของตู้เย็นโดยแบ่งตามลักษณะทางกายภาพ แบ่งใน 4 แบบ คือ

1.แบบ traditional : เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด ช่องแช่แข็งอยู่ด้านบน ส่วนแช่เย็นปกติอยู่ด้านล่าง มีทั้งแบบที่2ประตูที่ช่อแช่แข็งแยกไว้ชัดเจน และแบบประตูเดียวที่มีช่องแช่แข็งอยู่ภายในอีกที ซึ่งขนาดช่องแช่แข็งจะค่อนข้างเล็กกว่าแบบ2ประตู

2.แบบ side-by-side : ประตูเปิดได้2บานแบบแบ่งซ้าน-ขวา เหมือนตู้เสื้อผ้า โดยส่วนช่องแช่แข็งจะอยู่ในประตูบานซ้ายซึ่งมีขนาดเล็กกว่าประตูบานขวาซึ่งเป็นส่วนแช่เย็นปกติ บริษัทแรกที่แนะนำตู้เย็นแบบนี้สู่สาธารณชนคือบริษัทของ[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]ที่ชื่อ อมานา ([[Amana]]) ในปี ค.ศ.1949 แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งปีค.ศ.1965

3.แบบส่วนแช่เย็นอยู่ด้านบน ช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง : ตู้เย็นแบบนี้ถูกวางขายครั้งแรกในช่วงกลางยุคคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยแนวความคิดของการออกแบบตู้เย็นลักษณะนี้น่าจะมาจากเหตุผลที่ว่า คนเราเปิดใช้ส่วนแช่เย็นบ่อยกว่าช่องแช่แข็ง จึงย้ายช่องแช่แข็งไปไว้ล่างสุด เพื่อที่เวลาเปิดหาของในช่องแช่เย็น จะได้ไม่ต้องก้มตัวให้มากนัก

4.ตู้เย็นแบบประตูฝรั่งเศส (French-door style) : ถูกวางขายครั้งแรกในช่วงปลายยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง ส่วนแช่เย็นปกติในด้านบนจะเป็นประตูเปิดได้แบบ 2 ทางแบบ side-by-size แต่ขนาดประตูจะเท่ากัน

== หลักการทำความเย็น ==
การทำความเย็นเป็นการถ่ายเทความร้อนภายในตู้เย็นออกไป ซึ่งเกิดจากเครื่องอัดไอ (compressor) ทำหน้าที่อัดแก๊สของสารทำความเย็น (Refrigerant substant) ให้เป็นของเหลวในคอยล์ร้อนหรือเครื่องควบแน่น(Conderser) จากนั้นส่งผ่านไปยังหลอดรูเล็ก (Capillary tube) และไปยังคอยล์ร้อนหรือเครื่องระเหย (evaporator) ทำให้ความดันของของเหลวลดลงจนเปลี่ยนสถานะจากแก็สกลายเป็นไอ ซึ่งของเหลวได้รับความร้อนแฝงจากวัตถุต่างๆที่อยู่ใกล้เครื่องระเหย โดยวิธี [[การนำความร้อน]] [[การพาความร้อน ]] หรือ[[การแผ่รังสี]] เพื่อทำให้อุณหภูมภายในตู้เย็นเย็นลง จากนั้นแก๊สความดันต่ำของสารทำความเย็นจะถูกดูดโดยเครื่องอัดไอและอัดออกไปยังเครื่องควบแน่น เพื่อถ่ายเทความร้อนออกไปจากระบบ ทำให้สารทำความเย็นจะเข้าไปรับความร้อนที่เครื่องระเหยใหม่อีกครั้ง อีกทั้งความเย็นจากสารทำความเย็นที่ดูดกลับมาบางส่วนสามารถนำมาช่วยในการระบายความร้อนให้กับเครื่องอัดไอ(compressor)การทำงานของระบบทำความเย็นนี้จะวนซ้ำไปเรื่อยเสมอ<ref>http://home.kku.ac.th/chuare/12/coolingsystem.pdf</ref>

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:46, 15 สิงหาคม 2561

ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป

=

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ประวัติศาสตร์การทำความเย็น
  • วิธีการทำงาน
  • ter to power the heat transfer cycle) Archived Page
  • Elert, Glenn. "ตู้เย็น". The Physics Hypertextbook.
  • ตู้เย็นทำงานได้อย่างไร Article by HowStuffWorks