ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โดราเอมอน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ Firstlnw1551 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย 58.8.153.35.ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้ง ของTvcccp (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ถูกแทน ทำกลับ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ชื่ออื่น|ทองเพียร พลนาค}}
{{ชื่ออื่น|การ์ตูนโดราเอมอน|ตัวละครโดราเอมอน|โดราเอมอน (ตัวละคร)}}
{{กล่องข้อมูล การ์ตูน/ส่วนหัว
{{กล่องข้อมูล การ์ตูน/ส่วนหัว
| title_name = โดราเอมอน
| title_name = โดราเอมอน
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
}}
}}
{{กล่องข้อมูล การ์ตูน/ส่วนท้าย}}
{{กล่องข้อมูล การ์ตูน/ส่วนท้าย}}

'''โดราเอมอน''' หรือ '''โดเรมอน''' (Doraemon) เป็น [[การ์ตูนญี่ปุ่น]] แต่งโดย [[ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ]] เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ [[3 กันยายน]] มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ [[โนบิ โนบิตะ|โนบิตะ]] เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย [[รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน|ของวิเศษ]] จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ [[เดือนมกราคม]] [[พ.ศ. 2513]] โดย [[สำนักพิมพ์โชงะกุกัง]]
<ref>[http://www.shogakukan.co.jp/dora/ 小学館 -Shogakukan-:ドラえもんの本]</ref><ref name="ไขความลับ2">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=Shogakukan Doraemon - room|ชื่อหนังสือ=ไขความลับของโดเรมอน|URL=|จังหวัด=กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์|ปี=2553|ISBN=978-616-04-0375-2|จำนวนหน้า=184}}</ref> โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน <ref>[http://www3.u-toyama.ac.jp/doraemon/doragaku2/438_1.html ドラえもん学 - ドラえもんの全作品 (1,345編)]</ref> ต่อมาในวันที่ [[11 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2540]] โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น <ref>[http://www.asahi.com/shimbun/award/tezuka/kiroku.html 手塚治虫文化賞 - これまでの受賞の記録]</ref> อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก [[นิตยสารไทม์เอเชีย]] ให้เป็น 1 ในวีรบุรุษของ [[ทวีปเอเชีย]] จาก [[ประเทศญี่ปุ่น]] <ref>[http://web.archive.org/web/20080714223718/http://www.time.com/time/asia/features/heroes/doraemon.html TIMEasia.com: Asian Heroes - Doraemon]</ref> จากนั้นในวันที่ [[19 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2551]] โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของ [[ประเทศญี่ปุ่น]] <ref>[http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000033519 "โดราเอมอน" ลั่นพร้อมทำงานเพื่อชาติ], [[ผู้จัดการออนไลน์]], [[19 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2551]], เรียกข้อมูลเมื่อ [[22 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2551]] </ref> นอกจากนี้บริษัท [[บันได (บริษัทญี่ปุ่น)|บันได]] ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิต [[หุ่นยนต์]] โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My Doraemon" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ [[3 กันยายน]] [[พ.ศ. 2552]] <ref>[http://www.bandai.co.jp/releases/J2009062501.html バンダイ - 『Myドラえもん』2009年9月3日(木)発売], bandai.co.jp</ref>

ใน [[ประเทศไทย]] โดราเอมอนฉบับ [[หนังสือการ์ตูน]] มีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน <ref>[http://www.doraemontowel.com/news/id,11/เกี่ยวกับโดราเอมอน.html เกี่ยวกับโดราเอมอน]</ref><ref>http://notetuan.multiply.com/journal/item/2/2?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem</ref> แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ [[เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์]] เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรก วันที่ [[5 กันยายน]] [[พ.ศ. 2525]] ทาง [[โมเดิร์นไนน์ทีวี]] ในปัจจุบัน <ref name=thai_first_air>{{cite|url=https://www.facebook.com/9mcot/photos/a.507769176044129.1073741828.497792183708495/886157861538590/?type=3&source=56|title=เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าโดราเอมอนออกอากาศฉายครั้งแรกเมื่อไร?|publisher = 9 MCOT on facebook|accessdate = {{date|2017-11-06}} }} </ref> และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัท [[โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์|โรส วิดีโอ]] <ref>[http://www.rose.co.th/Default.aspx?Page=1&ContentId=90 โรส มีเดียฯ รุกทำตลาดการ์ตูนปี 2008 อย่างเต็มกำลัง], Rose Media & Entertainment</ref>

== โครงเรื่อง ==

เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของ [[โนบิ โนบิตะ|โนบิตะ]] เด็กชายชั้น ป.5 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน ไม่ชอบอ่านหนังสือและไปโรงเรียนสายบ่อยๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือ โดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต [[โกดะ ทาเคชิ|ไจแอนท์]] เด็กที่ดูเป็นอันธพาลแต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง [[โฮเนะกาว่า ซึเนะโอะ|ซูเนโอะ]] ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด [[เดคิสุงิ ฮิเดโทชิ|เดคิสุงิ]] เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก [[มินาโมโตะ ชิซุกะ|ชิซุกะ]] ผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย [[โกดะ ไจโกะ|ไจโกะ]] น้องสาวของไจแอนท์ ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มี [[โดเรมี]] หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋า 4 มิติและของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย คุณพ่อและคุณแม่ของโนบิตะ ซึ่งคุณแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าคุณพ่อ

แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะและคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเลหรือยุคไดโนเสาร์)

== ประวัติและที่มาของโดราเอมอน ==

การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อ [[เดือนพฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2512]] เนื่องจาก [[ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ]] ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ที่จะมาแทนการ์ตูน [[เจ้าชายลูกบ๊วย|เจ้าชายจอมเปิ่น]] <ref name="ไขความลับ"/> แต่ในความจริงแล้วทั้ง 2 ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับอาจารย์เป็นอย่างมาก

ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ นักวาดการ์ตูนได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเอง เขามักจะเล่นกับแมวตัวนี้เป็นประจำเมื่อตอนที่เขาคิดอะไรไม่ออก จนเวลาล่วงเลยมาถึง 04.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่เขาจึงจะล้มเลิกไปเสียแล้วแต่เขาเกิดคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีนเพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไปจึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น <ref name="ไขความลับ"/>

เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่องและตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น และเริ่มตีพิมพ์ในนิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็งและนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 ([[เดือนมกราคม]] [[พ.ศ. 2513]]) <ref name="ไขความลับ"/>

การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันใน [[นิตยสาร]] 6 ฉบับคือ นิตยสารโยะอิโกะ, นิตยสารโยชิเอ็ง, นิตรยสาร [[โชงะกุกัง|โชงะกุอิชิเน็นเซ]] (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตยสาร [[โชงะกุกัง|โชงะกุนิเน็นเซ]] (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสาร [[โชงะกุกัง|โชงะกุซังเน็นเซ]] (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสาร [[โชงะกุกัง|โชงะกุโยเน็นเซ]] โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน <ref name="oknation">http://www.oknation.net/blog/print.php?id=684068</ref> โดยเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งการ์ตูนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก<ref name="ไขความลับ"/>

และในวันที่ [[11 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2540]] โดราเอมอนได้รับ รางวัลเท็ตซึกะ โอซามุ เป็นการ์ตูนดีเด่น <ref name="ไขความลับ"/><ref name="oknation"/>

== รายชื่อตัวละคร ==

{{บทความหลัก|รายชื่อตัวละครในโดราเอมอน}}

ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอนเป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คนและมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลัก ดังนี้

[[โดราเอมอน (ตัวละคร)|โดราเอมอน]]

โดราเอมอนหรือโดเรมอน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมากเพราะเคยโดนหนูกัดหูจนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิเนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะ โดเรมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดเรมอนจึงชอบเป็นพิเศษและเขาจะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานุกิ"

[[โนบิ โนบิตะ]]

เด็กชายไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียนและกีฬา มีนิสัยขี้เกียจและชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้งแต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย เป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานานและมักถูกไจแอนท์กับซูเนโอะแกล้งเป็นประจำแต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดเรมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว เขาจะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับชิซุกะเพราะคิดว่าชิซุกะแอบชอบเดคิสุงิแต่ถึงอย่างไรก็ตามในอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดี

[[มินาโมโตะ ชิซุกะ]]

เด็กสาวน้ำใจดี เธอเป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นไวโอลิน (เล่นได้ห่วยแตกมาก) แต่มีความสามารถด้านเปียโน เธอเป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบและชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ ในอนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ

[[โฮเนะคาว่า ซึเนโอะ]]

เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดีและเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ ขี้ประจบและชอบเอาของมาอวดให้เพื่อนๆ อิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆ ได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ

[[โกดะ ทาเคชิ]] (ไจแอนท์)

เด็กอ้วนหัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำแต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหนแต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้และเขาเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมาก

[[โดเรมี]]

หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เธอเป็นน้องสาวของโดเรมอน สวยน่ารักแต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดเรมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น เธอจะปรากฏตัวเมื่อโดเรมอนเรียกขอความช่วยเหลือหรือสถานการณ์ที่โดเรมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดเรมอนไม่อยู่

== สื่อโดราเอมอน ==
{{บทความหลัก|รายชื่อสื่อโดราเอมอน}}
=== ฉบับมังงะ ===
{{บทความหลัก|รายชื่อตอนในโดราเอมอน (มังงะ)}}

=== ฉบับการ์ตูนทีวี (อะนิเมะ) ===
[[ไฟล์:DRMN 01.jpg|thumb|250px|โดราเอมอนและเพื่อนๆ]]
[[ไฟล์:Doraemonlogo.jpg|thumb|250px|สัญลักษณ์ของโดราเอมอน]]
{{บทความหลัก|โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี}}

โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อะนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี [[พ.ศ. 2516]] โดยนิปปอนเทเลวิชั่น <ref>[http://web.archive.org/web/20100701163912/http://kskpro.hp.infoseek.co.jp/secret.htm 旧ドラえもんのページ]</ref><ref>[http://web.archive.org/web/20060708234112/http://www.ntv.co.jp/info/history/table70.html 日本テレビ社史]</ref> และต่อมาปี [[พ.ศ. 2522]] [[ทีวีอาซาฮี]] นำมาออกอากาศต่อ <ref>[http://www.tv-asahi.co.jp/doraemon/contents/topics/backnumber/0171/top.html TVアニメ30周年を記念して、ドラえもんの豪華DVDが発売されるよ!(8月7日更新)], tv-asahi.co.jp</ref> สำหรับใน[[ประเทศไทย]] เริ่มออกอากาศครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2525 ]] ทาง [[สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี|ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.]] จากนั้นก็ได้มีการนำมาออกอากาศเป็นระยะๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

=== ฉบับภาพยนตร์ และโดราเอมอนตอนพิเศษ ===
{{บทความหลัก|โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์}}

โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็น[[อะนิเมะ]] ตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็น[[ภาพยนตร์การ์ตูน|ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว]] และ[[หนังสือการ์ตูน]] โดยเมื่อ [[เดือนเมษายน]] [[พ.ศ. 2523]] เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภาพยนตร์ชื่อตอนว่า "ตะลุยแดนไดโนเสาร์" <ref>[http://dora-movie.com/film_history/history_1.html DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History_1st], dora-movie.com</ref> และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี<ref>[http://dora-movie.com/film_history/ DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History], dora-movie.com</ref> ทั้งนี้ในปี [[พ.ศ. 2548]] เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย โดยมีวีซีดีออกมาครบแล้ว 30 แผ่น 30 ตอน และมีการนำตอนเก่ามาสร้างใหม่ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2549]] เป็นต้นมา และยังมีตอนที่ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูน เรียงตามการออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น

{| class="wikitable"
! ลำดับ !! ชื่อเรื่องภาษาไทย !! ปีที่ออกฉาย !! ฉากสำคัญของเรื่อง / หมายเหตุ
|-
! colspan="4" style="background-color:#c5f3c6;" | ''ออริจินอลซีรีส์''
|-
| 1 || [[โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ|ผจญภัยไดโนเสาร์]] || [[ค.ศ. 1980]] || [[ไดโนเสาร์]]ใน[[ยุคครีเทเชียส]]
|-
| 2 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ|โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ]] || [[ค.ศ. 1981]] ||ใต้เสื่อของห้องโนบิตะเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างมิติ
|-
| 3 || [[โดราเอมอน ตอน ตะลุยแดนมหัศจรรย์|ตะลุยแดนมหัศจรรย์]] || [[ค.ศ. 1982]] || อาณาจักรสุนัขในดินแดนลึกลับ[[แอฟริกากลาง]]
|-
| 4 || [[โดราเอมอน ตอน ผจญภัยใต้สมุทร|ผจญภัยใต้สมุทร]] || [[ค.ศ. 1983]] || ผจญภัยใต้[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] บริเวณ[[สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า]]
|-
| 5 || [[โดราเอมอน ตอน ท่องแดนเวทมนตร์|ท่องแดนเวทมนตร์]] || [[ค.ศ. 1984]] || โลก[[เวทมนตร์]]ที่เกิดจากของวิเศษ
|-
| 6 || [[โดราเอมอน ตอน สงครามอวกาศ|สงครามอวกาศ]] || [[ค.ศ. 1985]] || การผจญภัยใน[[อวกาศ]]เพื่อช่วย[[ประธานาธิบดี]]วัยเยาว์
|-
| 7 || [[โดราเอมอน ตอน สงครามหุ่นเหล็ก|สงครามหุ่นเหล็ก]] || [[ค.ศ. 1986]] || การผจญภัยกับ[[หุ่นยนต์]]ยักษ์ในโลกกระจก
|-
| 8 || [[โดราเอมอน ตอน เผชิญอัศวินไดโนเสาร์|เผชิญอัศวินไดโนเสาร์]] || [[ค.ศ. 1987]] || โลกใต้พิภพที่ไดโนเสาร์ที่พัฒนาแล้วอาศัยอยู่
|-
| 9 || [[โดราเอมอน ตอน ตำนานเทพนิยายไซอิ๋ว|ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋ว]] || [[ค.ศ. 1988]] || ภาพยนตร์ชุดนี้ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน ใช้โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางไว้
|-
| 10 || [[โดราเอมอน ตอน ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ|ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ]] || [[ค.ศ. 1989]] || ประเทศญี่ปุ่นที่มนุษย์โบราณชาวจีนอาศัยอยู่เมื่อ 7 หมื่นปีก่อน<ref name="ไขความลับ">{{อ้างหนังสือ || ผู้แต่ง=Shogakukan Doraemon - room || ชื่อหนังสือ=ไขความลับของโดเรมอน || URL= || จังหวัด=กรุงเทพฯ || พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ || ปี=2553 || ISBN=978-616-04-0375-2 || จำนวนหน้า=184}}</ref>
|-
| 11 || [[โดราเอมอน ตอน ตะลุยดาวต่างมิติ|ตะลุยดาวต่างมิติ]] || [[ค.ศ. 1990]] || ดาวสัตว์ที่เชื่อมต่อกับโลกด้วยหมอกสีชมพู
|-
| 12 || [[โดราเอมอน ตอน ตะลุยแดนอาหรับราตรี|ตะลุยแดนอาหรับราตรี]] || [[ค.ศ. 1991]] || การผจญภัยในดินแดนอาหรับราตรี
|-
| 13 || [[โดราเอมอน ตอน บุกอาณาจักรเมฆ|บุกอาณาจักรเมฆ]] || [[ค.ศ. 1992]] || โลกของมนุษย์และสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วบนก้อน[[เมฆ]]
|-
| 14 || [[โดราเอมอน ตอน ฝ่าแดนเขาวงกต|ฝ่าแดนเขาวงกต]] || [[ค.ศ. 1993]] || โลกที่หุ่นยนต์ควบคุม[[มนุษย์]]
|-
| 15 || [[โดราเอมอน ตอน สามอัศวินในจินตนาการ|สามอัศวินในจินตนาการ]] || [[ค.ศ. 1994]] || การผจญภัยในโลกของความ[[ฝัน]]
|-
| 16 || [[โดราเอมอน ตอน บันทึกการสร้างโลก|บันทึกการสร้างโลก]] || [[ค.ศ. 1995]] || มนุษย์แมลงที่กำเนิดขึ้นในโลกของโนบิตะที่สร้างจากชุดสร้าง[[โลก]]
|-
| 17 || [[โดราเอมอน ตอน ผจญภัยสายกาแล็คซี่|ผจญภัยสายกาแล็คซี่]] || [[ค.ศ. 1996]] || การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ในอวกาศด้วยรถไฟอวกาศปริศนา
|-
| 18 || [[โดราเอมอน ตอน ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลาน|ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลาน]] || [[ค.ศ. 1997]] || เมืองของเล่นมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์น้อย
|-
| 19 || [[โดราเอมอน ตอน ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ|ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ]] || [[ค.ศ. 1998]] || ผจญภัยหาสมบัติในหมู่เกาะทะเลใต้ยุค[[ศตวรรษที่ 17]]<ref name="ไขความลับ"/>
|-
| 20 || [[โดราเอมอน ตอน ตะลุยอวกาศ |ตะลุยอวกาศ]] || [[ค.ศ. 1999]] || การตะลุยอวกาศเพื่อตามหาไจแอนท์และซูเนโอะกลับโลก<ref name="ไขความลับ"/>
|-
| 21 || [[โดราเอมอน ตอน ตำนานสุริยกษัตริย์|ตำนานสุริยกษัตริย์]] || [[ค.ศ. 2000]] || ดินแดนยุค[[อารยธรรมมายา]]
|-
| 22 || [[โดราเอมอน ตอน อัศวินแดนวิหค|อัศวินแดนวิหค]] || [[ค.ศ. 2001]] || การผจญภัยในดินแดนวิหค เบิร์ดโธเปีย
|-
| 23 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะ ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์|โนบิตะ ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์]] || [[ค.ศ. 2002]] || การช่วยเหลือหุ่นยนต์จากต่างดาว
|-
| 24 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะ มหัศจรรย์ดินแดนแห่งสายลม|โนบิตะ มหัศจรรย์ดินแดนแห่งสายลม]] || [[ค.ศ. 2003]] || [[ไข่]]ลูกพายุไต้ฝุ่นและดินแดนแห่ง[[สายลม]]
|-
| 25 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะ ท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียว|โนบิตะ ท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียว]] || [[ค.ศ. 2004]] || ดินแดนแห่ง[[หมา]]และ[[แมว]]ที่โนบิตะได้พัฒนาพวกเขาขึ้นมา
|-
! colspan="4" style="background-color:#c5cdf3;" | ''นิวเจเนอเรชัน''
|-
| 26 || [[โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ เดอะมูฟวี่|ไดโนเสาร์ของโนบิตะ]] || [[ค.ศ. 2006]] || นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ''[[โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ|ผจญภัยไดโนเสาร์]]''
|-
| 27 || [[โดราเอมอน ตอน ตะลุยแดนปีศาจ 7 ผู้วิเศษ|โนบิตะ ตะลุยแดนปีศาจกับ 7 ผู้วิเศษ]] || [[ค.ศ. 2007]] || นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ''[[โดราเอมอน ตอน ท่องแดนเวทมนตร์|ท่องแดนเวทมนตร์]]''
|-
| 28 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา|โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา]] || [[ค.ศ. 2008]] || โลกแห่ง[[ต้นไม้]]และป่าไม้
|-
| 29 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ 2009|โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ]] || [[ค.ศ. 2009]] || นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ''[[โดราเอมอน ตอน โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ|โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ]]''
|-
| 30 || [[โดราเอมอน ตอน สงครามเงือกใต้สมุทร|สงครามเงือกใต้สมุทร]] || [[ค.ศ. 2010]] || การผจญภัยในโลกใต้[[ทะเล]]
|-
| 31 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก|โนบิตะผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก]] || [[ค.ศ. 2011]] || นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ''[[โดราเอมอน ตอน สงครามหุ่นเหล็ก |สงครามหุ่นเหล็ก]]''
|-
| 32 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ - แอนิมอลแอดเวนเจอร์|โนบิตะผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์]] || [[ค.ศ. 2012]] || เกาะที่มีสัตว์หายากและสัตว์สูญพันธุ์อาศัยบนเกาะ
|-
| 33 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ - มิวเซี่ยมแอดเวนเจอร์|โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ]] || [[ค.ศ. 2013]] || พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคต
|-
| 34 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะบุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจ |โนบิตะบุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจ]] || rowspan="2"| [[ค.ศ. 2014]] || นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ''[[โดราเอมอน ตอน ตะลุยแดนมหัศจรรย์ |ตะลุยแดนมหัศจรรย์]]''
|-
| SPECIAL || [[สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป]] || ภาพยนตร์[[แอนิเมชันคอมพิวเตอร์]]ในรูปแบบ[[สามมิติ]]ครั้งแรกของโดราเอมอน
|-
| 35 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะผู้กล้าแห่งอวกาศ|โนบิตะผู้กล้าแห่งอวกาศ]] || [[ค.ศ. 2015]] || หลงเข้าไปในอวกาศของจริงจากการเล่นเป็นฮีโร่อวกาศ
|-
| 36 || [[โดราเอมอน ตอน โนบิตะกำเนิดประเทศญี่ปุ่น|โนบิตะกำเนิดประเทศญี่ปุ่น]] || [[ค.ศ. 2016]] || นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ''[[โดราเอมอน ตอน ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ|ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ]]
|-
| 37 ||[[โดราเอมอน ตอน คาชิ-โคชิ การผจญภัยขั้วโลกใต้ของโนบิตะ|คาชิ-โคชิ การผจญภัยขั้วโลกใต้ของโนบิตะ]]|| [[ค.ศ. 2017]] || หลบหนีความร้อนไปเที่ยวยังดินแดนภูเขาน้ำแข็ง
|-
| 38 || [[โดราเอมอน ตอน เกาะมหาสมบัติของโนบิตะ|เกาะมหาสมบัติของโนบิตะ]] || [[ค.ศ. 2018]] || พบกับเกาะสมบัติจากแผนที่โดยบังเอิญ และ ดัดแปลงจากนวนิยายของ[[โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน]] เรื่อง ''เกาะมหาสมบัติ''
|}

นอกจากโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ที่มีการฉายทุกปีแล้ว ยังมีภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษดังนี้ รวมโดราเอมอน ตอนพิเศษ ของ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ทั้ง 8 ชุด
{{บน}}
* ตอน "คุณยายของผม"
* ตอน "คืนก่อนแต่งงานของโนบิตะ"
* ตอน "โจรลึกลับโดราแปงกับสารท้าประลอง"
* ตอน "โดเรมี่ อาราระกับเหล่าเยาวชนในอดีต"
* ตอน "ปีศาจเจ้าปัญหา"
* ตอน "ย้อนอดีตหาโมโมทาโร่"
* ตอน "เหรียญทองในความฝันของโนบิตะ"
* ตอน "7 โดราเอมอนกับแมลงหุ่นยนต์"
* ตอน "ความลับของโดเรมี่"
* ตอน "ฉลองครบรอบ 25 ปีโดราเอมอน"
* ตอน "กำเนิดโดราเอมอน"
* ตอน "ผจญภัยใต้ทะเลลึก"
* ตอน "สงครามตะลุยอวกาศ"
* ตอน "เรื่องประหลาดกำเนิดโดราเอมอน"
* ตอน "ช้างน้อยฮานะจัง"
* ตอน "ช้างกับคุณลุง"
* ตอน "หลุมทิ้งขยะต่างมิติ"
* ตอน "ลูกตุ้มแห่งโชคลาภ"
* ตอน "ผีดุที่วัดหลังเขา"
* ตอน "ไขปริศนาตำนานอุราชิม่าทาโร่"
{{กลาง}}
* ตอน "ผจญภัยยุคหิน"
* ตอน "จงยืนด้วยขาของตัวเองนะ โนบิตะเอ๋ย"
* ตอน "แผนส่งหมาป่ากลับบ้าน"
* ตอน "ท่านเจ้าเมืองท่องอนาคต"
* ตอน "สมมุติการจากไปของโนบิตะ"
* ตอน "ปราสาทมิวฮาวเซ่นยินดีต้อนรับ"
* ตอน "อุปกรณ์คนติดเกาะ"
* ตอน "โนบิตะยอดมือปืน"
* ตอน "เครื่องตกของจำลองบ่อปลา"
* ตอน "สู้เค้า โนบิตะแมน"
* ตอน "สายการบินโนบิตะ"
* ตอน "แคปซูลกาลเวลา"
* ตอน "โนบิตะติดเกาะ"
* ตอน "บอลลูนรอบโลก"
* ตอน "แฮงไกรเดอร์สำหรับเด็ก"
* ตอน "อพาร์ทเมนท์รากไม้"
* ตอน "โนบิตะ ยอดนักดาบ"
* ตอน "เครื่องสร้างประเทศตามใจชอบ"
* ตอน "ลาก่อนนะ!โดราเอมอน"
* ฯลฯ
{{ล่าง}}

=== เพลงประกอบ ===
'''ฉบับปี พ.ศ. 2516'''

1. โดราเอมอน (ドラえもん) ขับร้องโดย ฮารุมิ ไนโต และ คณะ NLT

'''ฉบับปี พ.ศ. 2522'''

1. โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย คุมิโกะ โอสุงิ ''(2 เมษายน 2522 - 2 ตุลาคม 2535)''

2. โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย ซาโตโกะ ยามาโนะ ''(9 ตุลาคม 2535 - 20 กันยายน 2545)''

3. โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย โตเกียวพูริน ''(4 ตุลาคม 2545 - 11 เมษายน 2546)''

4. โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย มิซาโตะ วาตานาเบะ ''(18 เมษายน 2546 - 23 เมษายน 2547)''

5. โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย AJI (อะจิ) ''(30 เมษายน 2547 - 18 มีนาคม 2548)''

'''ฉบับปี พ.ศ. 2548'''

1. โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) แบบดนตรีบรรเลง บรรเลงโดย ทเวลฟ์ เกิลส์ แบนด์ ''(15 เมษายน - 21 ตุลาคม 2548)''

2. ฮาคุชิจาโอ้ (はぐShichao) ขับร้องโดย อากิ โยโกะ ''(ใช้มาตั้งแต่ปี 2548-2550)''

3. ยูเมโวะ กะนะเอเท โดราเอมอน (夢をかなえてドラえもん) ขับร้องโดย mao ''(11 พฤษภาคม 2550 - ปัจจุบัน)''

== โดราเอมอนกับประเทศไทย ==

[[ไฟล์:Doraemon special no7.jpg|thumb|160px|หนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ที่มีการตีพิมพ์ในไทย ชุดพิเศษ เล่ม 7]]
[[ไฟล์:Doraemon dinosaur thai back.gif|thumb|160px|ด้านหลังแฮนด์บิลภาพยนตร์โดเรม่อน ตอนผจญไดโนเสาร์]]

การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปี [[พ.ศ. 2524]] โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมา [[สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ]] ก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกันแต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อ [[ลิขสิทธิ์]] ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่ายจากเดือนละเล่มในช่วงต้นก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่มจนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของ [[ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ]] ที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี

หลังจากนั้น [[หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ]] ได้เห็นความนิยมของโดราเอมอนจึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2525]] ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ

สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือ [[สยามอินเตอร์คอมิกส์]] ในปัจจุบันและใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่ [[แดนเนรมิต]] ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจาก [[ประเทศฮ่องกง]] มาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์ [[เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์]] ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ<ref>สมประสงค์ เจียมบุญสม, นิตยสาร a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 18, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 62-76.</ref>

ในปี [[พ.ศ. 2525]] ทาง [[ไชโยภาพยนตร์]] ได้มีการฉาย [[โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์]] ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกันคือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะและโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทาง [[ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.|ช่อง 9]] ก็ได้มีการออกอากาศ [[โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี]] ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ [[5 กันยายน]] ในปีเดียวกัน ([[พ.ศ. 2525]])<ref>รายการ [[กบนอกกะลา]] ตอน "เปิดตำนานโดราเอมอน", [[ทีวีบูรพา]], 2554, สารคดี.</ref> ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปี [[พ.ศ. 2544]] เป็นต้นมา<ref>[http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9480000148912 เปิดใจ WPM เจ้าของลิขสิทธิ์โดราเอมอน ได้มาเพราะ กล้า รัก และตั้งใจ], [[ผู้จัดการออนไลน์]], 29 ต.ค. 2548, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552</ref> ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะและฉายตอนใหม่อยู่เรื่อยๆ ทาง [[สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี]]

นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศนี้แล้ว จนถึงกับมีการทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย ทางบริษัท ไร้ท์ บิยอนด์ ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบหนังสือการ์ตูน [[ขายหัวเราะ]] และ [[มหาสนุก]] และชอบอ่านนิทานสนุกสนาน ซึ่งออกจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD

== ของวิเศษ ==
{{บทความหลัก|รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน}}
'''ของวิเศษของโดราเอมอน''' เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่[[โดราเอมอน (ตัวละคร)|โดราเอมอน]] หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ใน[[นิยายวิทยาศาสตร์]] ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทาง[[ศาสนา]]ของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง</br>
ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon Fanclub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น

== ความนิยมและส่วนเกี่ยวข้อง ==
โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากใน[[ประเทศญี่ปุ่น]] และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ <ref>[http://www.marumura.com/top_japan/?id=2860 10 อันดับคาแรคเตอร์ยอดนิยมของเด็กญี่ปุ่น]</ref>

เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทาง[[จิตวิทยา]]ว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละคร[[โนบิ โนบิตะ]] มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือ ยิงปืนแม่น และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆ ให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือ โดราเอมอนนั่นเอง <ref name="นิยม">[http://www.kartoon-discovery.com/focus/doraemon/focus1_page4.php โดราเอมอน (Doraemon) เหตุที่ได้รับความนิยม] Cartoon Focus.</ref>

โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อนเสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่น การอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี<ref name="นิยม"/>

นอกจากนี้ โดราเอมอนยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม ดังนี้

[[ไฟล์:Doraemon train.jpg|thumb|รถไฟที่ตกแต่งด้วยตัวละครโดราเอมอน]]
* หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม<ref>[http://search.discas.net/netdvd/searchDvd.do;jsessionid=3AB050CD9858F96792A27DF0C63C253B?sk=2&pT=0&u=0&t=2&a=0000079633&dm=2&pn=1&srt=1 藤子・F・不二雄], TSUTAYA DISCAS 宅配DVD/CDレンタル</ref>
* ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือ[[ฮ่องกง]] ใน พ.ศ. 2524<ref>[http://www.mlexp.com/fujiko/wiki/index.php?1981 1981 - Fujiko F Wiki]</ref>
* หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น [[ประเทศเกาหลีใต้]] [[สเปน]] [[จีน]] [[เวียดนาม]]
* [[ประเทศเวียดนาม]] นิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา
* พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ "อาทิตย์ยิ้ม" ของ[[ดำรง พุฒตาล]] ทาง[[ช่อง 9]]
* พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบอลลูนขนาดยักษ์ชื่อ "โดราบารุคุง" โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบอลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า "โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ" <ref>[http://family.shogakukan.co.jp/special/dora/balloon/index.html ドラ熱気球2号機大空に発進!!], 小学館ファミリーネット</ref>
* พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถ[[พลังงานแสงอาทิตย์]] โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิต[[รถพลังแสงอาทิตย์]]ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า "โซราเอมอน" <ref>[http://www.spacelan.ne.jp/~y-susumu/page010.html Solar Car Race SUZUKA '92], spacelan.ne.jp, 31 ก.ค. 2535, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552</ref>
* พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม [[ซีเอ็นเอ็น|สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น]] รายงานข่าวการวางจำหน่าย[[แสตมป์]]โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า <ref>[http://www.cnn.com/WORLD/9705/02/cartoon.stamp/ Japanese can't get enough of Doraemon], [[ซีเอ็นเอ็น|CNN.com]], 2 พ.ค. 2540, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552</ref>
* ในประเทศญี่ปุ่น มี[[รถไฟ]]โดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจาก[[จังหวัดอะโอะโมะริ|อาโอโมริ]]ไป[[ฮาโกดาเตะ]] ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ<ref>[http://www.whako.com/kanko/index224.html JR函館駅 ドラえもん列車 吉岡海底駅], whako.com</ref>

== โดจินชิ ==
โดราเอมอนถูก[[นักวาดการ์ตูน]]คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า [[โดจินชิ]] ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ <ref name="โดจิน">[http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2006/03/A4205068/A4205068.html การ์ตูนโดราเอมอน ตอนจบ "โนบิตะนายทำการบ้านรึยัง!!" (ฉบับแปลไทย)], [[พันทิป.คอม]], 18 มี.ค. 2549, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552</ref> ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลายๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน <ref name="โดจิน"/><ref name="โดจิน2">[http://www.j-cast.com/2007/02/02005312.html 「ドラえもん」パロディー本 「大ヒット」で困った事態] (ข่าวจาก J-CAST) </ref> งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงาน[[คอมิเก็ต|คอมมิกมาร์เก็ต]] ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน<ref name="โดจิน"/> ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บน[[อินเทอร์เน็ต]]อย่างกว้างขวาง

แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก เพราะโดจินชิเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานอย่างเป็นทางการของ [[ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ]] อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอน ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย<ref name="โดจิน2"/><ref>[http://web.archive.org/web/20081206065946/http://www.cartoon.co.th/news/read_news.asp?id=1569&cid=2 โชงะกุกังฟ้อง โดราเอมอนตอนจบละเมิดลิขสิทธิ์]</ref> ซึ่ง ยาสุเอะ ทาจิมะ ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษและแก้ต่างว่าเธอเพียงแค่เขียนโดจินชิเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอะนิเมะฉบับจอเงิน (ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006) เท่านั้น ทำให้คดีความทั้งหมดยุติลง

== ข่าวลือกับตอนจบของโดราเอมอน ==

การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน เป็นการ์ตูนที่ไม่สมบูรณ์คือไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน <ref>[http://www.geranun.com/archives/245 โดราเอมอนกับตอนจบที่แท้จริง ในมุมมองของแฟนพันธุ์แท้] </ref> แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีแค่ [[โนบิ โนบิตะ]] เพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ใน [[โรงพยาบาล]] และเพื่อนๆ ยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลายๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด <ref name="ตอนจบ">[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=82491 โดราเอมอนมีตอนจบ!? คำถามที่ยังคาใจ (คอลัมน์บันเทิง นสพ.คม-ชัด-ลึก)]</ref>

ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิด [[แบตเตอรี่]] หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดเรมีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ [[ไทม์แมชชีน]] นั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วโนบิตะจึงตัดสินใจตั้งใจเรียนจนเป็น [[นักวิทยาศาสตร์]] ระดับโลก โดยเอาเรื่องโดราเอมอนที่แบตหมดมาเป็นแรงผลักดันขยันทุนเทหารักษาให้โดราเอมอนกลับมา โดยเอาตัวโดราเอมอนไปซ่อนไม่ให้มีใครรู้เรื่องนอกจากตนเพียงคนเดียวเท่านั้น แล้วก็แต่งงานกับชิซุกะและสามารถซ่อมโดราเอมอนกับสร้างหูกับทำให้ร่างของโดราเอมอนเป็นตัวสีเหลืองก่อนถูกซื้อ กับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิซุกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชายชื่อโนบิสุเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข <ref name="ตอนจบ"/>

สำหรับความเป็นไปได้ของตอนจบรูปแบบนี้ได้ปรากฏขึ้นใน "โดเรมีกับการผจญภัยของโนบิสุเกะ" ซึ่งเรื่องราวกล่าวถึงช่วงโดราเอมอนที่ได้รับการซ่อมแซมจากโนบิตะ ผ่านทางการทักทายของซิซูกะและโดรามี หลังจากที่ทั้งสองไม่ได้เจอหน้ากันมาร่วม 10 ปี โดยบทสนทนานั้นได้มีการพูดถึงโดราเอมอนที่ซ่อมแซมโดยโนบิตะและกลับไปยังยุคของเซวาชิ และในฉากที่โนบิตะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องติดตามตัวลงในตัวมินิโดราสีแดงซึ่งเป็นผลจากการซ่อมแซมโดราเอมอน ทำให้โนบิตะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตตนเองในที่สุด

อย่างไรก็ดี โดราเอมอนตอนจบทุกแบบก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตอนจบที่แท้จริง และอันที่จริงแล้วโดราเอมอนนั้นเคยจบไปแล้วครั้งหนึ่งในตอนสุดท้ายของรวมเล่มฉบับที่ 6 ชื่อตอนว่า "ลาก่อนโดราเอมอน" แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการจากทั้งแฟนๆ และทางสำนักพิมพ์ ในที่สุด ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ จึงได้กลับมาเขียนโดราเอมอนต่ออีกครั้ง <ref name="ไขความลับ"/>

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{วิกิคำคม}}
* [http://dora-world.com/ เว็บไซต์ของโดราเอมอนอย่างเป็นทางการ] {{ja}}
* [http://www.tv-asahi.co.jp/doraemon/ เว็บทางการโดราเอมอนฉบับทีวีของทีวีอาซาฮี] {{ja}}
* [http://www.japankiku.com/anime/doreamon/doreamon.html โดราเอมอนในดวงใจ]
* [http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031103&tag950=03you20070441&show=1 คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดราเอมอน] โดยน้าชาติ ประชาชื่น น.ส.พ.ข่าวสด
* [http://www.thaidora.com/ ไทยโดรา] ข้อมูลโดราเอมอน รายชื่อของวิเศษ รวมชื่อตอนฉบับการ์ตูน รวมชื่อตอนแอนิเมชัน
* [http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=3180 โดราเอมอน] - นิตยสารผู้จัดการ
* http://modernine.mcot.net/cartoon/content_view.php?id=26&t=3
* [https://www.youtube.com/user/DoraemonThailandFC Youtube] - Love Doraemon

{{โดราเอมอน}}
{{ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ}}


[[หมวดหมู่:โดราเอมอน| ]]
[[หมวดหมู่:โดราเอมอน| ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:25, 2 สิงหาคม 2561

โดราเอมอน
ตัวละครหลักของเรื่องโดราเอมอน
ชื่อภาษาอังกฤษDoraemon
แนวตลก-ดราม่า, ไซไฟ
มังงะ
เขียนโดยฟูจิโกะ ฟูจิโอะ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น โชงะกุกัง
ไทย เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
อนิเมะโทรทัศน์
โดราเอมอน (1973)
กำกับโดยMisuo Kamiri
สตูดิโอนิปปอนเทเลวิชัน โดงะ
เครือข่ายญี่ปุ่น นิปปอนเทเลวิชัน
อนิเมะโทรทัศน์
โดราเอมอน (1979)
กำกับโดยMotohira Ryo > Shibayama Tsutomu
สตูดิโอชินเอย์แอนิเมชั่น
เครือข่ายญี่ปุ่น ทีวีอาซาฮี
ไทย โมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) (2525[1] - 2552)
อนิเมะโทรทัศน์
โดราเอมอน (2005)
กำกับโดยKoso Tsukuba > Soichiro Sen
สตูดิโอAsatsu-DK, ชินเอย์แอนิเมชั่น
เครือข่ายญี่ปุ่น ทีวีอาซาฮี
ไทย โมเดิร์นไนน์ทีวี (พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน)
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thai_first_air
  2. "Doraemon". animated-divots.com. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Doraemon". TV Asahi. สืบค้นเมื่อ July 31, 2009.