ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ควาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Guyds46675 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
คุณข้าว
{{Taxobox
| name =ควาย
| status = DOM
| image = Wasserbüffel (25787818312).jpg
| image_caption =
| image_width = 250px
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Chordate|Chordata]]
| classis = [[Mammal]]ia
| ordo = [[even-toed ungulate|Artiodactyla]]
| familia = [[Bovidae]]
| subfamilia = [[Bovinae]]
| genus = ''[[Bubalus]]''
| species = '''''B. bubalis'''''
| binomial = ''Bubalus bubalis''
| binomial_authority = ([[ลินเนียส|Linnaeus]], [[ค.ศ. 1758|1758]])
}}

'''ควาย''' หรือภาษาทางการว่า '''กระบือ''' จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ชั้น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] เป็น[[สัตว์เลี้ยง]]ที่ใกล้ชิดกับงาน[[เกษตรกรรม]]ของประเทศแถบเอเชียมากที่สุด{{อ้างอิง}} เพราะ[[ชาวนา]]นิยมเลี้ยงควายเป็นแรงงานเพื่อไว้[[ไถนา]] บ้างก็ใช้ควายเป็น[[พาหนะ]]เข้าไปทำไร่ทำนา บ้างก็ฆ่าควายกินเนื้อเป็นอาหาร ควายจึงมีประโยชน์หลายประการ ปัจจุบันมีการใช้งานควายน้อยลง

ควายเป็นสัตว์มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัวโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บางตัวมีสีชมพู เรียกว่า ควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว แต่ถ้าเป็นควายตัวผู้ที่มีลักษณะดีก็จะมีคนซื้อไปเป็นพ่อพันธุ์

ควายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 6-9 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี


== สายพันธุ์ ==
== สายพันธุ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:58, 25 กรกฎาคม 2561

คุณข้าว

สายพันธุ์

แยกได้เป็นสองกลุ่มคือควายป่า และควายบ้าน และควายบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ควายปลัก (Swamp buffalo) ควายแม่น้ำ (River buffalo) ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์ และ สกุล เดียวกันคือ Bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่า ควายปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนควายแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้ [1]

ควายปลัก

เลี้ยงกันในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัดเจน

ควายแม่น้ำ

พบในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก ให้นมมากและเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ นิลิ ราวี เมซานี เซอติ และเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่

อ้างอิง

  1. พันธุ์กระบือ กรมปศุสัตว์

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น