ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8: บรรทัด 8:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
หลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลภายใต้การนำของ [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร]] ได้ดำเนินยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึง “แหล่งทุน” ได้ง่ายขึ้น เป็นผลให้มีการขยายตัวของการบริโภค และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในระดับหนึ่ง แต่การจะคงให้ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในยุคที่ทุกประเทศทั่วโลกสามารถไล่ตามเทคโนโลยีได้เท่าทันกันหมดนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งพัฒนาให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง “ความรู้” (Knowledge-software) เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่กระบวนการสร้างนักคิด นักออกแบบ ตลอดจนสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่นำ “ทุน” มาบวกกับ “ความคิดสร้างสรรค์” เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ
หลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ดำเนินยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึง “แหล่งทุน” ได้ง่ายขึ้น เป็นผลให้มีการขยายตัวของการบริโภค และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในระดับหนึ่ง แต่การจะคงให้ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในยุคที่ทุกประเทศทั่วโลกสามารถไล่ตามเทคโนโลยีได้เท่าทันกันหมดนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งพัฒนาให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง “ความรู้” (Knowledge-software) เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่กระบวนการสร้างนักคิด นักออกแบบ ตลอดจนสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่นำ “ทุน” มาบวกกับ “ความคิดสร้างสรรค์” เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ


ปัจจุบันพัฒนาการของ TCDC กำลังก้าวสู่ขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นการนำเอาดีไซน์ไปพบกับผู้ประกอบการ ด้วยหวังว่างานออกแบบสามารถสร้างผลประโยชน์ในธุรกิจได้อย่างแท้จริง (หลังจากผ่านพ้นขั้นตอนแรกคือหาที่ตั้งซึ่งทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ขั้นตอนที่สองคือการมุ่งเน้นงานบริการ โดยมีการสำรวจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า) ทีซีดีซีออกแบบการให้บริการเป็น 3 บริการหลัก คือ
ปัจจุบันพัฒนาการของ TCDC กำลังก้าวสู่ขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นการนำเอาดีไซน์ไปพบกับผู้ประกอบการ ด้วยหวังว่างานออกแบบสามารถสร้างผลประโยชน์ในธุรกิจได้อย่างแท้จริง (หลังจากผ่านพ้นขั้นตอนแรกคือหาที่ตั้งซึ่งทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ขั้นตอนที่สองคือการมุ่งเน้นงานบริการ โดยมีการสำรวจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า) ทีซีดีซีออกแบบการให้บริการเป็น 3 บริการหลัก คือ
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


สำหรับแผนการดำเนินงานในอนาคต ทีซีดีซีมุ่งขยายองค์ความรู้และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ Creative Thailand เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยโครงการนี้จะผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือใช้ดีไซเนอร์ช่วยในการออกแบบผนวกไปในการผลิตสินค้าและบริการ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้า ซึ่งจะเป็นอีกกลไกที่ช่วยผลักดันระบบเศรษฐกิจไทยให้ขับเคลื่อนไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy<ref>[http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic&content=84044 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ข่าวเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 มี.ค. 2551] </ref>
สำหรับแผนการดำเนินงานในอนาคต ทีซีดีซีมุ่งขยายองค์ความรู้และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ Creative Thailand เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยโครงการนี้จะผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือใช้ดีไซเนอร์ช่วยในการออกแบบผนวกไปในการผลิตสินค้าและบริการ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้า ซึ่งจะเป็นอีกกลไกที่ช่วยผลักดันระบบเศรษฐกิจไทยให้ขับเคลื่อนไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy<ref>[http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic&content=84044 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ข่าวเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 มี.ค. 2551] </ref>

=== การดำเนินการของรัฐบาล===
เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2550 คุณหญิง[[ทิพาวดี เมฆสวรรค์]] [[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]] ได้ชี้แจงถึงกรณีเข้าร่วมประชุมกับนาย[[อภินันท์ โปษยานนท์]] ประธานคณะกรรมการ[[สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้]] (สบร.) และมีมติให้ ยุบ '''ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ''' (TCDC) ไปควบรวมกับ [[สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ]] (NDMI) ว่า เป็นนโยบายของตนที่ต้องการปรับการบริหารจัดการหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ สบร.ที่มี 7 หน่วยงาน ให้มีประสิทธิภาพและใช้งบประมาณคุ้มค่ามากขึ้นจึงให้นโยบายว่าต้องควบรวมให้เหลือ 4 หน่วยงาน ซึ่งในครั้งนี้ก็ได้มีการควบรวม สถาบันวิทยาการเรียนรู้ (NBL) กับศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ (NGT) และต่อไปจะให้ศูนย์คุณธรรมไปสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อีกด้วย <ref>[http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic&content=65226 ข่าวไทยรัฐ ปีที่ 58 ฉบับที่ 18173 วันพุธ ที่ 24 ตุลาคม 2550]</ref>

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ชุดใหม่ ที่มี นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธาน ได้มีมติให้คงสถานที่ตั้งของทีซีดีซี ให้อยู่ที่ชั้น 6 ของห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม ไว้เช่นเดิม โดยจะไม่มีการย้ายไปที่อื่น ในระยะจากนี้ไปเป็นเวลา 3 ปี <ref>[http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic&content=84044 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ข่าวเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 มี.ค. 2551]</ref>

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 [[ดวงฤทธิ์ บุนนาค]] สถาปนิกและนักออกแบบ ได้โพสต์ข้อความลงใน[[เฟซบุ๊ก]] ระบุว่า[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61|รัฐบาล]]มีแผนยุบ[[สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)]] และทีซีดีซี โดย[[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ]] (ก.พ.ร.) จะนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 พฤศจิกายน<ref>[http://www.thairath.co.th/content/538254 ลือว่อน! คสช.จ่อยุบ TCDC - ชาวเน็ตแห่เรียกร้องผ่าน #SAVETCDC ให้ทบทวนใหม่]</ref> อย่างไรก็ตามเมื่อถึงวันประชุมจริง กลับไม่มีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมแต่อย่างใด<ref>[http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=772619 ครม.พรุ่งนี้ ไร้วาระยุบ “TCDC-สบร.”]</ref> โดย[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา|พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา]] นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช.ได้ให้สัมภาษณ์หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนั้นว่าไม่ได้สั่งการในเรื่องดังกล่าว แต่ให้ ก.พ.ร. ประเมินผลงานและบุคลากรขององค์การมหาชน ภายใน 3 เดือน ว่าใช้งบประมาณตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหรือไม่ หากไม่ตรงก็ต้องยุบทิ้ง ทั้งนี้ขอให้บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าเพิ่งเป็นกังวล โดยส่วนตัวเห็นว่ากองทุนทุกกองทุนมีประโยชน์ทั้งหมด และไม่อยากทำร้ายใคร ขอให้ร่วมกันสร้างผลงานให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต<ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447144921 "นายกฯ" แจงยังไม่ยุบ TCDC-TK Park-มิวเซียมสยาม แค่สั่งประเมิน บุคลากรอย่ากังวล]</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:14, 23 สิงหาคม 2560

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (อังกฤษ: Thailand Creative & Design Center) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ทีซีดีซี (TCDC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ พ.ศ. 2547

ทีซีดีซี มีวัตถุประสงค์หลัก ในการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึง "ความรู้" เพื่อที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสและสนุกกับการตักตวงประสบการณ์ จากผลงานและความสำเร็จของนักคิดนักออกแบบจากทั่วโลก

ทั้งนี้ทีซีดีซีร่วมมือโดยตรงกับภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและนักออกแบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของการนำการออกแบบมาใช้ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานออกแบบของนักออกแบบไทย ให้เป็นที่รู้จักทั้งภายในและต่างประเทศ

ทีซีดีซี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก ถนนเจริญกรุง และมีสำนักงานย่อยตั้งอยู่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ดิเอ็มโพเรียม (ร่วมกับเอไอเอส ในชื่อ เอไอเอส ดี.ซี.) ไอดีโอคิว จุฬาฯ-สามย่าน (ร่วมกับอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ในชื่อ ทีซีดีซี คอมมอนส์) และเชียงใหม่

ประวัติ

หลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ดำเนินยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึง “แหล่งทุน” ได้ง่ายขึ้น เป็นผลให้มีการขยายตัวของการบริโภค และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในระดับหนึ่ง แต่การจะคงให้ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในยุคที่ทุกประเทศทั่วโลกสามารถไล่ตามเทคโนโลยีได้เท่าทันกันหมดนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งพัฒนาให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง “ความรู้” (Knowledge-software) เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่กระบวนการสร้างนักคิด นักออกแบบ ตลอดจนสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่นำ “ทุน” มาบวกกับ “ความคิดสร้างสรรค์” เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ

ปัจจุบันพัฒนาการของ TCDC กำลังก้าวสู่ขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นการนำเอาดีไซน์ไปพบกับผู้ประกอบการ ด้วยหวังว่างานออกแบบสามารถสร้างผลประโยชน์ในธุรกิจได้อย่างแท้จริง (หลังจากผ่านพ้นขั้นตอนแรกคือหาที่ตั้งซึ่งทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ขั้นตอนที่สองคือการมุ่งเน้นงานบริการ โดยมีการสำรวจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า) ทีซีดีซีออกแบบการให้บริการเป็น 3 บริการหลัก คือ

  1. นิทรรศการ
  2. ห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือและข้อมูลข่าวสารด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย
  3. การจัดความรู้ให้ลูกค้าในรูปแบบของสัมมนา อบรม เวิร์คชอป ตลอดจนจัดอีเวนท์เปิดโอกาสในการพบปะให้นักออกแบบและผู้ประกอบการ[1]

สำหรับแผนการดำเนินงานในอนาคต ทีซีดีซีมุ่งขยายองค์ความรู้และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ Creative Thailand เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยโครงการนี้จะผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือใช้ดีไซเนอร์ช่วยในการออกแบบผนวกไปในการผลิตสินค้าและบริการ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้า ซึ่งจะเป็นอีกกลไกที่ช่วยผลักดันระบบเศรษฐกิจไทยให้ขับเคลื่อนไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy[2]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น