ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมงคลสิทธิการ (พูล อตฺตรกฺโข)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| วัด = [[วัดไผ่ล้อม]]
| วัด = [[วัดไผ่ล้อม]]
| จังหวัด = [[นครปฐม]]
| จังหวัด = [[นครปฐม]]
| สังกัด =
| สังกัด =[[มหานิกาย|มหานิกาย]]
| วุฒิ =
| วุฒิ =
| ตำแหน่ง = อดีตเจ้าอาวาส[[วัดไผ่ล้อม]]
| ตำแหน่ง = อดีตเจ้าอาวาส[[วัดไผ่ล้อม]]
บรรทัด 26: บรรทัด 26:


== มรณภาพ ==
== มรณภาพ ==
หลวงพ่อพูลมรณภาพในวันที่ [[22 พฤษภาคม|22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2548|พ.ศ. 2548]] สิริอายุได้ 92 ปี นับพรรษาได้ 67 พรรษา คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้อัญเชิญศพหลวงพ่อพูล กลับมาตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาปุริมานุสรณ์ (พูล อตฺตรกฺโข) วัดไผ่ล้อม ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2548 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และหีบทองทึบตั้งหน้าศพพระมงคลสิทธิการหรือหลวงพ่อพูล ก่อนนำร่างของท่านบรรจุใส่โลงทำด้วยไม้สักทองคำ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชา 
หลวงพ่อพูลมรณภาพในวันที่ [[22 พฤษภาคม|22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2548|พ.ศ. 2548]] สิริอายุได้ 92 ปี นับพรรษาได้ 67 พรรษา

ขณะที่ศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจากสื่อมวลชนทุกแขนง ที่ได้นำเสนอข่าวอย่างพร้อมเพรียงกัน มหาชนนับหมื่นต่างหลั่งไหลเดินทางกันมาที่วัดไผ่ล้อมด้วยอาการเศร้าสลด มองไปมุมไหนก็มีแต่คนร้องไห้ตาแดงก่ำ บางคนถึงกับสะอึกสะอื้นปิ่มว่าจะขาดใจ.....สิ่งนี้คงเป็นภาพที่สื่อให้เห็นถึงความรักที่สาธุชนมีต่อองค์หลวงพ่อพูลได้อย่างแจ่มชัด 
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
*หนังสือ 108 ศาลศักดิ์สิทธิ์
*หนังสือ 108 ศาลศักดิ์สิทธิ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:56, 9 สิงหาคม 2560

พระมงคลสิทธิการ

(พูล อตฺตรกฺโข)
ชื่ออื่นหลวงพ่อพูล
ส่วนบุคคล
เกิด5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 (92 ปี)
มรณภาพ22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดไผ่ล้อม นครปฐม
อุปสมบทพฤษภาคม พ.ศ. 2480
พรรษา67
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม

ประวัติ

หลวงพ่อพูล อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมเกิดในนามสกุล "ปิ่นทอง" เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรคนที่ 6 ใน นายจู และนางนำเนียง ปิ่นทอง ท่านจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ นครปฐม เมื่อปี พ.ศ. 2471 จากนั้นได้ฝึกอ่านเขียนอักษรขอมและแพทย์แผนโบราณจาก "ปู่แย้ม ปิ่นทอง" ผู้ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆของท่าน และได้รับการถ่ายทอดวิชา คาถาอาคมจาก หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่กลั่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมในวัยหนุ่มหลวงพ่อพูลชอบฝึกและศึกษาวิชามวยไทยจนเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง จนมีอายุครบเกณฑ์ทหาร หลวงพ่อพูลได้ถูกเกณฑ์ไปสังกัดทหารม้า เป็นทหารรักษาพระองค์ที่สะพานมัฆวาน โดยต่อมาท่านได้รับยศเป็นนายสิบตรี

อุปสมบท

หลังจากท่านปลดประจำการ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2480โดยมี พระครูอุตตการบดี (หลวงปู่สุข ปทฺวณฺโณ)เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังท่านบวช ได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนจนสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อ พ.ศ. 2482ในระหว่างนี้เองท่านได้ให้ความสนใจศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิตฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ตามคำสอนควบคู่กับการศึกษาวิชาอาคม ซึ่งได้รับมอบหมายจาก "ปู่แย้ม ปิ่นทอง" ที่วัดพระงามนี้ท่านจึงได้มีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อพร้อม วัดพระงาม พระเกจิที่ท่านเคราพมากที่สุดคือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ได้รับคำแนะนำในการเจริญสมาธิภาวนา การเขียนอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล วิชาอาคมต่างๆหลวงพ่อเงินเมตตาเป็นคนถ่ายทอดอย่างไม่ปิดบัง

เป็นเจ้าอาวาส

ต่อมาท่านได้ย้ายมาธุดงธ์ที่ป่าเขาลำเนาไพรฝึกฝนสมาธิจิต และในปี พ.ศ. 2490 วัดไผ่ล้อมขาดเจ้าอาวาสในการปกครองเนื่องจากเจ้าอาวาสแต่ละรูปอยู่ปกครองวัดได้ไม่นานต้องลาสิกขาบทออกไป หลวงพ่อพูลจึงได้ย้ายมาจำพรรษาประจำอยู่ที่วัดไผ่ล้อม พร้อมกับทำการก่อสร้าง พัฒนาวัดเรื่อยตลอดเวลา

มรณภาพ

หลวงพ่อพูลมรณภาพในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สิริอายุได้ 92 ปี นับพรรษาได้ 67 พรรษา คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้อัญเชิญศพหลวงพ่อพูล กลับมาตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาปุริมานุสรณ์ (พูล อตฺตรกฺโข) วัดไผ่ล้อม ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2548 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และหีบทองทึบตั้งหน้าศพพระมงคลสิทธิการหรือหลวงพ่อพูล ก่อนนำร่างของท่านบรรจุใส่โลงทำด้วยไม้สักทองคำ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชา 

ขณะที่ศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจากสื่อมวลชนทุกแขนง ที่ได้นำเสนอข่าวอย่างพร้อมเพรียงกัน มหาชนนับหมื่นต่างหลั่งไหลเดินทางกันมาที่วัดไผ่ล้อมด้วยอาการเศร้าสลด มองไปมุมไหนก็มีแต่คนร้องไห้ตาแดงก่ำ บางคนถึงกับสะอึกสะอื้นปิ่มว่าจะขาดใจ.....สิ่งนี้คงเป็นภาพที่สื่อให้เห็นถึงความรักที่สาธุชนมีต่อองค์หลวงพ่อพูลได้อย่างแจ่มชัด 

อ้างอิง

แม่แบบ:พระสังฆาธิการเจ้าอาวาส