ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RATPONG (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
RATPONG (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14: บรรทัด 14:


==ยุคสมัยของความคิดทางการเมือง==
==ยุคสมัยของความคิดทางการเมือง==
สมัยโบราณ (ANTIQUITY) เป็นยุคสมัยที่เริ่มนับตั้งแต่ยุคกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มแรกของการเกิดประวัติศาสตร์ในหลายด้านรวมไปถึงความคิดทางการเมืองเช่นกัน ยุคสมัยนี้นับตั้งแต่เริ่มแรกของประวัติศาสตร์กรีกโรมันจนกระทั่งราวๆคริสต์ศตวรรษที่ 6 หรือราวๆปี ค.ศ.500
===สมัยโบราณ (ANTIQUITY)=== เป็นยุคสมัยที่เริ่มนับตั้งแต่ยุคกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มแรกของการเกิดประวัติศาสตร์ในหลายด้านรวมไปถึงความคิดทางการเมืองเช่นกัน ยุคสมัยนี้นับตั้งแต่เริ่มแรกของประวัติศาสตร์กรีกโรมันจนกระทั่งราวๆคริสต์ศตวรรษที่ 6 หรือราวๆปี ค.ศ.500
สมัยกลาง (MIDDLE AGES or MEDIEVAL) ยุคสมัยนี้เริ่มต้นช่วงราวปี ค.ศ.500 ถึง ค.ศ.1500
===สมัยกลาง (MIDDLE AGES or MEDIEVAL)=== ยุคสมัยนี้เริ่มต้นช่วงราวปี ค.ศ.500 ถึง ค.ศ.1500
สมัยใหม่ (MODERN AGES AND CONTEMPORARY) ยุคสมัยนี้เริ่มต้นราวปี ค.ศ. 1500 จนถึงปัจจุบัน
===สมัยใหม่ (MODERN AGES AND CONTEMPORARY)=== ยุคสมัยนี้เริ่มต้นราวปี ค.ศ. 1500 จนถึงปัจจุบัน


==สมัยโบราณ (ANTIQUITY)==
==สมัยโบราณ (ANTIQUITY)==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:20, 26 เมษายน 2560

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์ และปรัชญาการเมือง

กำเนิดของสาขาวิชาการเมือง

จารีตในการศึกษาการเมืองด้วยการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นมาแต่โบราณ หรือการศึกษาการเมืองผ่านประวัติศาสตร์นั้นเกิดมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ อาทิ งานเขียนเรื่อง "เรียบเรียงเรื่องราว" (The Histories) ของเฮโรโดตุส "ประวัติศาสตร์สงครามแห่งคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส" (History of the Peloponnesian War) ของธูซิดิเดส (Thucydides) การบันทึกเรื่องราวของโซกครตีสในรูปแบบบทสนทนาของเพลโต การศึกษาการเมืองด้วยการศึกษาปรัชญาร่วมกับประวัติศาสตร์เป็นจารีตในทางการศึกษาการเมืองของโลกตะวันตก แต่เมื่อการศึกษาการเมืองเริ่มเข้าสู่ยุคของความเป็นวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มมีการแยกสาขาวิชาเป็นวิชาปรัชญาการเมือง และวิชาประวัติศาสตร์การเมือง[1]

ในส่วนของวิชาปรัชญาการเมืองนั้น ได้มีนักรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งนำเอาวิธีวิทยาประวัติศาสตร์เข้ามาศึกษาในวิชาปรัชญาการเมือง นักรัฐศาสตร์เหล่านี้จะไม่นิยามตัวเองว่านักรัฐศาสตร์ แต่จะนิยามตนเองว่านักปรัชญาการเมือง หรือไม่ก็นักประวัติศาสตร์ทางความคิด จึงได้มีการเรียกการศึกษาปรัชญาการเมืองด้วยระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ว่า "ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง" ซึ่งสตีฟ แทนซีย์ (Stephen D. Tansey) อธิบายไว้ในหนังสือหนังสือความเข้าใจมโนทัศน์ "การเมือง" เบื้องต้น (Politics: The Basic) ว่า ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองจะเป็นการศึกษาพัฒนาการของความคิดทางการเมืองของนักปรัชญา นักคิด คนต่างๆในแต่ละยุคสมัยโดยคำนึงถึงบริบททางกาลเทศะว่ามีผลต่อทฤษฎี หรือหลักปรัชญาของนักปรัชญา นักคิด คนนั้นๆอย่างไรบ้าง รวมถึงได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากใคร อะไร อย่างไร ในขณะที่การศึกษาปรัชญาการเมืองจะเป็นการศึกษางานเขียนของนักปรัชญา นักคิดคนต่างๆอย่างลุ่มลึกโดยไม่คำนึงถึงบริบททางกาลเทศะ ที่สำคัญคือการศึกษาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง เป็นส่วนสำคัญที่จะใช้สร้าง ทฤษฎีการเมือง[2] การศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองที่มีอิทธิพลอย่างสูงในการศึกษารัฐศาสตร์ในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะอิทธิพลจากงานเขียนของอีริค โวเกอลิน (Eric Vogelin) และจอห์น ดันน์ (John Dunn)[3]

กล่าวอย่างกระชับก็คือวิชาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองเป็นการศึกษาความคิดทางการเมืองเพื่อศึกษาพัฒนาการของความคิดในทางการเมืองที่เปลี่ยนแปรไปตามแต่กาลเทศะนั่นเอง

กำเนิด/จุดเริ่มต้นความคิดทางการเมือง

มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ถือกำเนิดมาอย่างมีความคิด รู้จักเปลี่ยนแปลงและปรับสภาพตามธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบเพื่อให้การดำรงชีวิตของตนเองอยู่อย่างมีความสุขและสะดวกสบาย จุดเริ่มต้นของทฤษฎี หลักปรัชญา แนวคิดและหลักการต่างๆในการศึกษาเกี่ยวกับวิชากฎหมาย มาจากการตั้งคำถามของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติว่า "ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร" จากคำถามนี้ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า โดยแท้จริงแล้วธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวเพื่อความอยู่รอดของตนเองหรือมีธรรมชาติในการอยู่รอดแบบร่วมมือกันเป็นหมู่คณะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคที่แท้จริง มนุษย์ล้วนแล้วแต่ต้องการสิ่งเหล่านี้จริงหรือไม่ จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของมนุษย์คืออะไร

มนุษย์ทุกคนต่างมีความคิดเป็นของตัวเองและมีคำถามมากมายในความคิดเหล่านั้น นักปรัชญาจึงไม่ได้ต้องการความหมายของสิ่งเหล่านั้นที่กล่าวมา แต่พวกเขาต้องการเข้าใจแนวคิดรวบยอด(Concept)ที่สามารถทำให้มนุษย์เข้าใจในธรรมชาติของตนเอง ธรรมชาติของมนุษย์เหล่านั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการศึกษาเพื่อเข้าใจและเกิดเป็นความคิดและตรรกะทางการเมืองขึ้นมา

ยุคสมัยของความคิดทางการเมือง

===สมัยโบราณ (ANTIQUITY)=== เป็นยุคสมัยที่เริ่มนับตั้งแต่ยุคกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มแรกของการเกิดประวัติศาสตร์ในหลายด้านรวมไปถึงความคิดทางการเมืองเช่นกัน ยุคสมัยนี้นับตั้งแต่เริ่มแรกของประวัติศาสตร์กรีกโรมันจนกระทั่งราวๆคริสต์ศตวรรษที่ 6 หรือราวๆปี ค.ศ.500 ===สมัยกลาง (MIDDLE AGES or MEDIEVAL)=== ยุคสมัยนี้เริ่มต้นช่วงราวปี ค.ศ.500 ถึง ค.ศ.1500 ===สมัยใหม่ (MODERN AGES AND CONTEMPORARY)=== ยุคสมัยนี้เริ่มต้นราวปี ค.ศ. 1500 จนถึงปัจจุบัน

สมัยโบราณ (ANTIQUITY)

อ้างอิง

  1. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
  2. Stephen D. Tansey. Politics : the basic. (3rd Edition). London : Routledge, 2004, pp.10-11.
  3. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

ดูเพิ่ม