ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมาใน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
{{wikispecies-inline|Cuon alpinus}}
{{wikispecies-inline|Cuon alpinus}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Cuon alpinus|''Cuon alpinus''}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Cuon alpinus|''Cuon alpinus''}}
http://rukmha.com/

[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]
[[หมวดหมู่:วงศ์สุนัข]]
[[หมวดหมู่:วงศ์สุนัข]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:15, 22 มกราคม 2559

หมาใน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: เพลสโตซีน-ปัจจุบัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
วงศ์ย่อย: Caninae
สกุล: Cuon
Hodgson, 1838
สปีชีส์: C.  alpinus
ชื่อทวินาม
Cuon alpinus
(Pallas, 1811)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของหมาใน (สีแดง: ที่อยู่ในปัจจุบัน, สีเหลือง: มีความเป็นไปได้ที่จะมีอยู่, สีส้ม: สถานที่ ๆ เคยมีอยู่)
ชื่อพ้อง
  • Canis alpinus Pallas, 1811

หมาใน หรือ หมาแดง[2] (อังกฤษ: Dhole, Asian wild dog, Asian red dog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon alpinus ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาป่าที่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก จมูกสั้น ใบหูกลมมีขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นมีสีน้ำตาลแดง สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางยาวเป็นพวง ปลายหางมีสีเทาเข้มหรือดำ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยูในสกุล Cuon

มีความยาวลำตัวและหัว 80-90 เซนติเมตร ความยาวหาง 30.5-34.5 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10-21 กิโลกรัม เพศเมีย 10-13 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง ทำให้มีสายพันธุ์ย่อย ถึง 11 ชนิด พบตั้งแต่ภาคใต้ของไซบีเรีย เรื่อยมาจนถึงคาบสมุทรเกาหลี, เนปาล, อินเดีย, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเกาะชวาในอินโดนีเซีย

มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยฝูงหนึ่ง ๆ มีสมาชิกตั้งแต่ 6-12 ตัว โดยสมาชิกแต่ละตัวจะมีหน้าที่ช่วยกันล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระทิง หรือกวางป่า มีความเชื่อว่า ก่อนล่าเหยื่อจะปัสสาวะรดพื้นหรือใบไม้เมื่อเหยื่อดมถูกจะเกิดความหวาดกลัวจนยืนแข็งทำอะไรไม่ถูก จึงเชื่อว่า สามารถทำให้เหยื่อตาบอดได้ด้วยวิธีนี้

ฝูงหมาในมีความใกล้ชิดกันทางสายเลือด ภายในกลุ่มมีสมาชิกตั้งแต่ 2-3 ครอบครัว ออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน แต่ในบางครั้งอาจล่าในเวลากลางคืนหรือพลบค่ำหรือเช้าตรู่ได้ อาหารโดยปกติ ได้แก่ สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า, เก้ง และกระต่ายป่า แต่ในบางสถานการณ์ที่อาหารขาดแคลน อาจกินลูกตัวเองเป็นอาหารได้ หมาในระบบประสาทหู ตา และการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 9 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 8-10 ตัว ตามโพรงดินหรือในถ้ำที่ปลอดภัย แม่หมาในมีเต้านม 8 คู่ ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีขนสีน้ำตาลเทา มีอายุในที่เลี้ยงประมาณ 16 ปี ในธรรมชาติราว 10 ปี

ฝูงหมาในล่ากวางป่า ที่อุทยานแห่งชาติบันดิเปอร์ ประเทศเนปาล

สถานภาพในประเทศไทย เป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดที่สามารถพบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิด คือ หมาจิ้งจอก) จากเดิมที่เคยพบในป่าทั่วประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่านั้น และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 [3]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Durbin, L.S., Hedges, S., Duckworth, J.W., Tyson, M., Lyenga, A. & Venkataraman, A. (IUCN SSC Canid Specialist Group - Dhole Working Group) (2008). Cuon alpinus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 22 March 2009. Database entry includes justification for why this species is endangered
  2. หมาใน, แฟ้มสัตว์โลก, โลกสีเขียว
  3. กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. ISBN 974-87081-5-2

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cuon alpinus ที่วิกิสปีชีส์

http://rukmha.com/