ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอแซก นิวตัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 10473418 สร้างโดย 110.78.168.107 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
}}
}}
{{ใช้ปีคศ}}
{{ใช้ปีคศ}}

เซอร์ '''ไอแซก นิวตัน''' ({{lang-en|Isaac Newton}}; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตาม[[ปฏิทินจูเลียน]]){{fn|1}} [[นักฟิสิกส์]] นัก[[คณิตศาสตร์]] นัก[[ดาราศาสตร์]] นักปรัชญาธรรมชาติ นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาว[[อังกฤษ]]

ศาสตร์นิพนธ์ของนิวตันในปี ค.ศ. 1687 เรื่อง ''[[Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica|หลักการทางคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ]]'' (Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica) (เรียกกันโดยทั่วไปว่า ''Principia'') ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชา[[กลศาสตร์ดั้งเดิม]] ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง [[กฎแรงโน้มถ่วงสากล]] และ [[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน]] ซึ่งเป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ บนโลกและ[[กลศาสตร์ท้องฟ้า|วัตถุท้องฟ้า]]ล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่าง[[กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์|กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์]]กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยัน[[แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล]] และช่วยให้[[การปฏิวัติวิทยาศาสตร์]]ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

นิวตันสร้าง[[กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง]]ที่สามารถใช้งานจริงได้เป็นเครื่องแรก<ref>{{cite web|url=http://etoile.berkeley.edu/~jrg/TelescopeHistory/Early_Period.html|title=The Early Period (1608–1672)|accessdate=2009-02-03|publisher=James R. Graham's Home Page}}{{ลิงก์เสีย|date=สิงหาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref> และพัฒนาทฤษฎี[[สี]]โดยอ้างอิงจากผลสังเกตการณ์ว่า [[ปริซึม]]สามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกมาเป็นหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของ[[สเปกตรัมแสงที่มองเห็น]] เขายังคิดค้น[[กฎการเย็นตัวของนิวตัน]] และศึกษา[[ความเร็วของเสียง]]

ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับ[[ก็อตฟรีด ไลบ์นิซ]] ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎี[[แคลคูลัสกณิกนันต์|แคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์]] เขายังสาธิต[[ทฤษฎีบททวินาม]] และพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่า[[รากที่ n|รากของฟังก์ชัน]] รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษา[[อนุกรมกำลัง]]

นิวตันไม่เชื่อเรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากกว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสียอีก เขาต่อต้านแนวคิด[[ตรีเอกภาพ]]อย่างลับๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนื่องจากปฏิเสธการถือบวช

ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

== ประวัติ ==

=== วัยเด็ก ===
ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1642 <small>(หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 ตามปฏิทินจูเลียน)</small>{{fn|1}} ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งใน[[ลินคอล์นเชียร์]] ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับ[[ปฏิทินเกรกอเรียน]] ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 บิดาของนิวตัน ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: "ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ"<ref>Cohen, I.B. (1970). Dictionary of Scientific Biography, Vol. 11, p.43. New York: Charles Scribner's Sons</ref> นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน<ref name="nomarry">{{cite web|url=http://www.newton.ac.uk/newtlife.html|title=Isaac Newton's Life|year=1998|publisher=Isaac Newton Institute for Mathematical Sciences|accessdate=2010-03-28|archive-date=2014-05-28|archive-url=https://web.archive.org/web/20140528154858/http://www.newton.ac.uk/newtlife.html|url-status=dead}}</ref><ref name="bellevue">{{cite web|url=http://scidiv.bellevuecollege.edu/MATH/Newton.html|title=Isaac Newton|publisher=Bellevue College|accessdate=2010-03-28}}</ref><ref name="newtonbook">{{Cite book|last=Newton|first=Isaac|coauthors=Derek Thomas Whiteside|title=The Mathematical Papers of Isaac Newton: 1664-1666 |publisher=Cambridge University Press|location=Cambridge|year=1967|page=8|isbn=9780521058179|url=http://books.google.com/?id=1ZcYsNBptfYC&pg=PA8&lpg=PA8&dq=isaac+newton+miss+storey&q=miss%20storey|accessdate=2010-03-28}}</ref>

นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่[[คิงส์สกูล แกรนแธม]] ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1659 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา<ref>Westfall 1994, pp 16-19</ref> ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด<ref>White 1997, p. 22</ref>

เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1661 นิวตันได้เข้าเรียนที่[[วิทยาลัยทรินิตี้ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] ในฐานะซิซาร์ (sizar; คือทุนชนิดหนึ่งซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพื่อแลกกับที่พัก อาหาร และค่าธรรมเนียม)<ref>Michael White, ''Isaac Newton'' (1999) [http://books.google.com/books?id=l2C3NV38tM0C&pg=PA24&dq=storer+intitle:isaac+intitle:newton&lr=&num=30&as_brr=0&as_pt=ALLTYPES#PPA46,M1 page 46] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20160427130013/https://books.google.com/books?id=l2C3NV38tM0C&pg=PA24&dq=storer+intitle:isaac+intitle:newton&lr=&num=30&as_brr=0&as_pt=ALLTYPES#PPA46,M1 |date=2016-04-27 }}</ref> ในยุคนั้นการเรียนการสอนในวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของ[[อริสโตเติล]] แต่นิวตันชอบศึกษาแนวคิดของนักปรัชญายุคใหม่คนอื่นๆ ที่ทันสมัยกว่า เช่น [[เรอเน เดส์การ์ตส์|เดส์การ์ตส์]] และ[[นักดาราศาสตร์]] เช่น [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส|โคเปอร์นิคัส]], [[กาลิเลโอ]] และ[[โจฮันเนส เคปเลอร์|เคปเลอร์]] เป็นต้น ปี ค.ศ. 1665 เขาค้นพบ[[ทฤษฎีบททวินาม]]และเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็น [[แคลคูลัสกณิกนันต์]] (infinitesimal calculus) นิวตันได้รับปริญญาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นาน มหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจาก[[โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน|เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่]] แม้เมื่อศึกษาในเคมบริดจ์เขาจะไม่มีอะไรโดดเด่น<ref>ed. Michael Hoskins (1997). Cambridge Illustrated History of Astronomy, p.&nbsp;159. [[Cambridge University Press]]</ref> แต่การศึกษาด้วยตนเองที่บ้านในวูลส์ธอร์พตลอดช่วง 2 ปีต่อมาได้สร้างพัฒนาการแก่ทฤษฎีเกี่ยวกับแคลคูลัส ธรรมชาติของ[[แสงสว่าง]] และ[[กฎแรงโน้มถ่วง]]ของเขาอย่างมาก นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้ว[[ปริซึม]]และสรุปว่า[[รังสี]]ต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้[[เลนส์]]แก้วไม่ชัดเจน ก็เนื่องมาจากมุมในการหักเหของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์แตกต่างกัน ทำให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้กลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนา[[กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง|กล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสง]]ที่สมบูรณ์โดย[[วิลเลียม เฮอร์เชล]] และ [[เอิร์ลแห่งโรส]] ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่อง[[การโคจร]]ของ[[ดาวเคราะห์]]

ในปี ค.ศ. 1667 เขากลับไปเคมบริดจ์อีกครั้งหนึ่งในฐานะภาคีสมาชิกของทรินิตี้<ref>{{Venn|id=RY644J|name=Newton, Isaac}}</ref> ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ว่าผู้เป็นภาคีสมาชิกต้องอุทิศตนถือบวช อันเป็นสิ่งที่ นิวตันพยายามหลีกเลี่ยงเนื่องจากมุมมองของเขาที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนา โชคดีที่ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าภาคีสมาชิกต้องบวชเมื่อไร จึงอาจเลื่อนไปตลอดกาลก็ได้ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อนิวตันได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง[[เมธีลูเคเชียน]]อันทรงเกียรติ ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงการบวชไปได้อีก ถึงกระนั้นนิวตันก็ยังหาทางหลบหลีกได้โดยอาศัยพระบรมราชานุญาตจาก[[สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2]]

=== ชีวิตการงาน ===
[[ไฟล์:Newton-Principia-Mathematica 1-500x700.jpg|thumbnail|145px|left|''Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica'' งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของไอแซก นิวตัน]]

การหล่นของ[[แอปเปิล]]ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและ[[โรเบิร์ต ฮุก]] ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการ[[กลศาสตร์]]เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น [[เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์]]ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (''Philosophiae naturalist principia mathematica'' หรือ ''The Mathematical Principles of Natural Philosophy'') ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่อง[[ความโน้มถ่วงสากล]] และเป็นการวางรากฐานของ[[กลศาสตร์ดั้งเดิม]] (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่าน[[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน|กฎการเคลื่อนที่]] ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ [[กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ]] ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนา[[แคลคูลัส]]เชิง[[อนุพันธ์]]อีกด้วย

งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ[[เทห์วัตถุ]]ที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของ[[กาลิเลโอ]]เป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา

ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจาก[[สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเจมส์ที่ 2]] ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี พ.ศ. 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิต[[กษาปณ์|เหรียญกษาปณ์]]เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ ''Optics'' ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว

=== ชีวิตครอบครัว ===
นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเขาเคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ใด{{citation needed|date=September 2011}} แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเขาถึงแก่กรรมไปโดยที่ยังบริสุทธิ์ ดังที่บุคคลสำคัญหลายคนกล่าวถึง เช่นนักคณิตศาสตร์ [[ชาลส์ ฮัตตัน]]<ref>{{cite book |title=A Philosophical and Mathematical Dictionary Containing... Memoirs of the Lives and Writings of the Most Eminent Authors, Volume 2 |last=Hutton |first=Charles |authorlink=Charles Hutton |year=1815 |page=100 |url=http://books.google.ca/books?id=_xk2AAAAQAAJ&pg=PA100&lpg=PA100&dq=Charles+Hutton+Isaac+Newton+constitutional+indifference&source=bl&ots=gxI1T-5UzL&sig=NJHnmCqkPwNalnOSrUXZZgkfODs&hl=en#v=onepage&q=Charles%20Hutton%20Isaac%20Newton%20constitutional%20indifference&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref> นักเศรษฐศาสตร์ [[จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์]]<ref>{{cite web |url=http://www-history.mcs.st-and.ac.uk/Extras/Keynes_Newton.html |title=Newton: the Man |author=John Maynard Keynes |publisher=[[University of St Andrews]] School of Mathematics and Statistics |accessdate=September 11, 2012}}</ref> และนักฟิสิกส์ [[คาร์ล เซแกน]]<ref>{{cite book |title=Cosmos |last=Carl |first=Sagan |authorlink=Carl Sagan |year=1980 |publisher=Random House |location=New York |isbn=0394502949 |page= |url=http://books.google.ca/books?id=_-XhL6_xsVkC&pg=PA55&lpg=PA55&dq=Isaac+Newton+virgin&source=bl&ots=pfxDt6lG8I&sig=u4GtOW8G0jCFdrppKL2o0j9ZAKU&hl=en&sa=X&ei=jrJJULeTIYnDigLs14Fo&ved=0CEMQ6AEwAzge#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref>

[[วอลแตร์]] นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักในลอนดอนในช่วงเวลาที่ฝังศพของนิวตัน อ้างว่าเขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ เขาเขียนไว้ว่า "ผมได้รับการยืนยันจากหมอและศัลยแพทย์ที่อยู่กับเขาตอนที่เขาตาย"<ref>''Letters on England'', 14, pp. 68-70, as referenced in the footnote for the quote in p. 6 of James Gleick's biography, ''Isaac Newton''</ref> (เรื่องที่อ้างกล่าวว่า ขณะที่เขานอนบนเตียงและกำลังจะตาย ก็สารภาพออกมาว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่<ref>{{cite book |title=Isaac Newton |last=Stokes |first=Mitch |year=2010 |publisher=Thomas Nelson |isbn=1595553037 |page=154 |url=http://books.google.ca/books?id=zpsoSXCeg5gC&pg=PA154&lpg=PA154&dq=Isaac+Newton+virgin+confess&source=bl&ots=jL4JIVcIJe&sig=JYyHgrFXKVc_fQrc_Xr3FXjJYkw&hl=en#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin%20confess&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref><ref>{{cite journal |last=Foster |first=Jacob |year=2005 |title=Everybody Loves Einstein |journal=[[The Oxonian Review]] |volume=5 |issue=1 |url=http://www.oxonianreview.org/issues/5-1/5-1foster.html |doi= |access-date=2012-09-17 |archive-date=2012-05-15 |archive-url=https://web.archive.org/web/20120515221800/http://www.oxonianreview.org/issues/5-1/5-1foster.html |url-status=dead }}</ref>) ในปี 1733 วอลแตร์ระบุโดยเปิดเผยว่านิวตัน "ไม่มีทั้งความหลงใหลหรือความอ่อนแอ เขาไม่เคยเข้าใกล้หญิงใดเลย"<ref>{{cite book |title=The Newton Handbook |last=Gjertsen |first=Derek |year=1986 |publisher=Taylor & Francis |isbn=0710202792 |page=105 |url=http://books.google.ca/books?id=cqIOAAAAQAAJ&pg=PA105&lpg=PA105&dq=Isaac+Newton+virgin&source=bl&ots=Sf2QL1yV2J&sig=0m7VW3Ca0_jKFl-k-P8FNAATuaY&hl=en#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref><ref>{{cite book |title=Newton: The Making of Genius |last=Fara |first=Patricia |authorlink=Patricia Fara |year=2011 |publisher=Pan Macmillan |isbn=1447204530 |page= |url= |accessdate=September 11, 2012}}</ref>

นิวตันมีมิตรภาพอันสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส [[Nicolas Fatio de Duillier]] ซึ่งเขาพบในลอนดอนราวปี 1690<ref>{{cite web |url=http://web.clas.ufl.edu/users/ufhatch/pages/13-NDFE/newton/05-newton-timeline-m.htm |title=Newton Timeline |author=Professor Robert A. Hatch, University of Florida |accessdate=August 13}}</ref> แต่มิตรภาพนี้กลับสิ้นสุดลงเสียเฉยๆ ในปี 1693 จดหมายติดต่อระหว่างคนทั้งคู่บางส่วนยังคงเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน

[[ไฟล์:Sir Isaac Newton by Sir Godfrey Kneller, Bt.jpg|thumb|upright|ภาพวาดนิวตันในปี [[ค.ศ. 1702]] โดย [[Godfrey Kneller|ก็อดฟรีย์ เนลเลอร์]]]]

=== บั้นปลายของชีวิต ===
ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, [[กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ|ไลบ์นิซ]] และ[[จอห์น เฟลมสตีด|เฟลมสตีด]] ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]ที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”

เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่า[[กษัตริย์อังกฤษ|กษัตริย์]] ศพของเขาฝังอยู่ที่[[แอบบีเวสต์มินสเตอร์|มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]] เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ

'''เซอร์ไอแซก นิวตัน'''มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] และ[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]] หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]

== ผลงาน ==
{{โครงส่วน}}
=== ด้านคณิตศาสตร์ ===
กล่าวกันว่า ผลงานของนิวตันเป็น "ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในทุกสาขาของคณิตศาสตร์ในยุคนั้น<ref>{{cite book|author=W W Rouse Ball|title=A short account of the history of mathematics|year=1908|page=319}}</ref> ผลงานที่เขาเรียกว่า Fluxion หรือแคลคูลัส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนชุดหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1666 ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์อยู่รวมกับงานด้านคณิตศาสตร์อื่นๆ ของนิวตัน<ref>D T Whiteside (ed.), ''The Mathematical Papers of Isaac Newton'' (Volume 1), (Cambridge University Press, 1967), part 7 "The October 1666 Tract on Fluxions", [http://books.google.com/books?id=1ZcYsNBptfYC&pg=PA400 at page 400, in 2008 reprint].</ref> ในจดหมายที่[[ไอแซก แบร์โรว์]] ส่งไปให้[[จอห์น คอลลินส์]]เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1669 กล่าวถึงผู้เขียนต้นฉบับ ''[[De analysi per aequationes numero terminorum infinitas]]'' ที่เขาส่งไปให้คอลลินส์เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นว่า<ref>D Gjertsen (1986), "The Newton handbook", (London (Routledge & Kegan Paul) 1986), at page 149.</ref>

{{quote|Mr Newton, a fellow of our College, and very young&nbsp;... but of an extraordinary genius and proficiency in these things. }}

ต่อมานิวตันมีข้อขัดแย้งกับ[[ไลบ์นิซ]]ในเรื่องที่ว่า ใครเป็นผู้คิดพัฒนา[[แคลคูลัส]]ก่อนกัน นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เชื่อว่าทั้งนิวตันและไลบ์นิซต่างคนต่างก็พัฒนา[[แคลคูลัสกณิกนันต์]]กันโดยอิสระ แม้ว่าจะมีบันทึกที่แตกต่างกันมากมาย ดูเหมือนว่า นิวตันจะไม่เคยตีพิมพ์อะไรเกี่ยวกับแคลคูลัสเลยก่อนปี พ.ศ. 2236 และไม่ได้เขียนบทความฉบับสมบูรณ์ในเรื่องนี้ตราบจนปี พ.ศ. 2247 ขณะที่ไลบ์นิซเริ่มตีพิมพ์บทความฉบับเต็มเกี่ยวกับกระบวนวิธีคิดของเขาในปี พ.ศ. 2227 (บันทึกของไลบ์นิซและ "กระบวนวิธีดิฟเฟอเรนเชียล" เป็นที่ยอมรับนำไปใช้โดยนักคณิตศาสตร์ในภาคพื้นยุโรป และต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษจึงค่อยรับไปใช้ในปี พ.ศ. 2363) แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ไม่ได้ให้ข้อสังเกตในเนื้อหาของแคลคูลัส ซึ่งนักวิจารณ์ทั้งในยุคของนิวตันและยุคสมัยใหม่ต่างระบุว่า มีอยู่ในเล่มที่ 1 ของหนังสือชุด ''Principia'' ของนิวตัน (ตีพิมพ์ปี 2230) และในต้นฉบับลายมือเขียนที่มีมาก่อนหน้านี้ เช่น ''De motu corporum in gyrum'' ("การเคลื่อนที่ของวัตถุในวงโคจร") เมื่อปี 1684 ''Principia'' ไม่ได้เขียนในภาษาแคลคูลัสแบบที่เรารู้จัก แต่มีการใช้แคลคูลัสกณิกนันต์ในรูปแบบเรขาคณิต ว่าด้วยจำนวนที่ถูกจำกัดด้วยสัดส่วนของจำนวนที่เล็กลงไปเรื่อยๆ นิวตันสาธิตวิธีการนี้เอาไว้ใน ''Principia'' โดยเรียกชื่อมันว่า กระบวนวิธีสัดส่วนแรกและสัดส่วนสุดท้าย (method of first and last ratios)<ref>Newton, 'Principia', 1729 English translation, [http://books.google.com/books?id=Tm0FAAAAQAAJ&pg=PA41 at page 41].</ref> และอธิบายไว้ว่าเหตุใดเขาจึงแสดงความหมายของมันในรูปแบบเช่นนี้<ref>Newton, 'Principia', 1729 English translation, [http://books.google.com/books?id=Tm0FAAAAQAAJ&pg=PA54 at page 54].</ref> โดยกล่าวด้วยว่า "นี้คือการแสดงวิธีแบบเดียวกันกับกระบวนการของการแบ่งแยกไม่ได้อีกต่อไป"

ด้วยเหตุนี้ในยุคปัจจุบัน ''Principia'' จึงถูกเรียกว่าเป็น "หนังสือที่อัดแน่นด้วยทฤษฏีและการประยุกต์ใช้แคลคูลัสกณิกนันต์"<ref>Clifford Truesdell, ''Essays in the History of Mechanics'' (Berlin, 1968), at p.99.</ref> และ "lequel est presque tout de ce calcul" ("แทบทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับแคลคูลัส") ในยุคของนิวตัน<ref>อยู่ในบทนำของหนังสือของ Marquis de L'Hospital's ''Analyse des Infiniment Petits'' (Paris, 1696).</ref> การใช้กระบวนวิธีเช่นนี้ของเขาที่เกี่ยวข้องกับ "จำนวนกณิกนันต์หนึ่งอันดับหรือมากกว่านั้น" ได้แสดงไว้ในงานเขียน ''De motu corporum in gyrum'' ของเขาเมื่อปี 1684<ref>เริ่มต้นด้วย [[De motu corporum in gyrum#Contents|De motu corporum in gyrum]], ดูเพิ่มที่ [http://books.google.com/books?id=uvMGAAAAcAAJ&pg=RA1-PA2 (Latin) Theorem 1].</ref> และในงานเขียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ที่เขียนขึ้น "ระหว่าง 2 ทศวรรษก่อนปี 1684"<ref>D T Whiteside (1970), "The Mathematical principles underlying Newton's Principia Mathematica" in ''Journal for the History of Astronomy'', vol.1, pages 116–138, especially at pages 119–120.</ref>

นิวตันลังเลในการเผยแพร่แคลคูลัสของเขาก็เพราะเขากลัวข้อโต้แย้งและคำวิพากษ์วิจารณ์<ref>Stewart 2009, p.107</ref> เขาเคยสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส [[Nicolas Fatio de Duillier]] ครั้นปี 2234 ดุยลิเยร์เริ่มต้นเขียน ''Principia'' ของนิวตันขึ้นในรูปแบบใหม่ และติดต่อกับไลบ์นิซ<ref>Westfall 1980, pp 538–539</ref> มิตรภาพระหว่างดุยลิเยร์กับนิวตันเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ปี 2236 และหนังสือนั้นก็เลยเขียนไม่เสร็จ

สมาชิก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]หลายคน (สมาคมซึ่งนิวตันเป็นสมาชิกอยู่ด้วย) เริ่มกล่าวหาไลบ์นิซว่า[[โจรกรรมทางวรรณกรรม|ลอกเลียนผลงาน]]ของนิวตันในปี พ.ศ. 2242 ข้อโต้แย้งรุนแรงขึ้นถึงขั้นแตกหักในปี 2254 เมื่อทางราชสมาคมฯ ประกาศในงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า นิวตันคือผู้ค้นพบแคลคูลัสที่แท้จริง และตราหน้าไลบ์นิซว่าเป็นจอมหลอกลวง งานศึกษาชิ้นนั้นกลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยเมื่อพบในภายหลังว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็นคนเขียนบทสรุปของงานโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไลบ์นิซ ข้อขัดแย้งในเรื่องนี้กลายเป็นรอยด่างพร้อยในชีวิตของทั้งนิวตันและไลบ์นิซตราบจนกระทั่งไลบ์นิซเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2259<ref>Ball 1908, p. 356ff</ref>

นิวตันได้รับยกย่องโดยทั่วไปเนื่องจาก[[ทฤษฎีบททวินาม]]ที่ใช้ได้สำหรับเลขยกกำลังใดๆ เขาเป็นผู้ค้นพบ [[Newton's identities]], [[Newton's method]], [[เส้นโค้งกำลังสามบนระนาบ]] ([[พหุนาม]]กำลังสามในตัวแปรสองตัว) เขามีส่วนอย่างสำคัญต่อทฤษฎี [[finite differences]], และเป็นคนแรกที่ใช้เลขชี้กำลังที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม และนำ[[เรขาคณิต]]เชิงพิกัดมาใช้หาคำตอบจาก[[สมการไดโอแฟนทีน]] เขาหาค่าผลบวกย่อยโดยประมาณของ[[อนุกรมฮาร์โมนิก]]ได้โดยใช้[[ลอการิทึม]] (ก่อนจะมีสมการผลรวมของออยเลอร์) และเป็นคนแรกที่ใช้[[อนุกรมกำลัง]]และพิจารณาอนุกรมแปลงกลับของอนุกรมกำลัง (reverse power series) งานของนิวตันเกี่ยวกับอนุกรมอนันต์ได้รับแรงบันดาลใจจากเลขทศนิยมของไซมอน สเตวิน (Simon Stevin)<ref>{{citation
| last1 = Błaszczyk | first1 = Piotr
| author1-link =
| last2 = Katz | first2 = Mikhail
| author2-link = Mikhail Katz
| last3 = Sherry | first3 = David
| author3-link =
| arxiv = 1202.4153
| doi = 10.1007/s10699-012-9285-8
| issue =
|journal = [[Foundations of Science]]
| pages =
| title = Ten misconceptions from the history of analysis and their debunking
| volume =
| year = 2012}}</ref>

นิวตันได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ลูเคเชียนด้านคณิตศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2212 โดยการเสนอชื่อของแบร์โรว์ ซึ่งในวันรับตำแหน่งนั้น ผู้รับตำแหน่งที่เป็นภาคีสมาชิกของเคมบริดจ์หรือออกซฟอร์ดจะต้องบวชเข้าเป็นพระในนิกายแองกลิกัน อย่างไรก็ดี ตำแหน่งศาสตราจารย์ลูเคเชียนนี้ไม่ได้บังคับว่าผู้รับตำแหน่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (คาดว่าคงเพราะต้องการให้มีเวลาเพื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า) นิวตันจึงยกเป็นข้ออ้างว่าตนไม่จำเป็นต้องบวช และได้รับพระราชานุญาตจาก[[พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ]][[ไฟล์:NewtonsTelescopeReplica.jpg|thumb|แบบจำลองจาก[[กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง]]ตัวที่สองของนิวตัน ซึ่งเขานำเสนอต่อ[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]ในปี 1672<ref>{{cite book|url=http://books.google.com/?id=KAWwzHlDVksC&dq=history+of+the+telescope&printsec=frontcover |title='&#39;The History of the Telescope'&#39; By Henry C. King, Page 74 |publisher=Google Books |accessdate=16 January 2010|isbn=978-0-486-43265-6|author1=King, Henry C|year=2003}}</ref>]]

ช่วงปี 2213-2215 นิวตันสอนวิชาทัศนศาสตร์<ref>{{cite web|last=Newton|first=Isaac|title=Hydrostatics, Optics, Sound and Heat|url=http://cudl.lib.cam.ac.uk/view/MS-ADD-03970/|publisher=Cambridge University Digital Library|accessdate=10 January 2012}}</ref> ในระหว่างช่วงเวลานี้ เขาศึกษาเรื่อง[[การหักเห]]ของแสง โดยแสดงให้เห็นว่า [[ปริซึม]]สามารถแตกแสงขาวให้กลายเป็นสเปกตรัมของแสงได้ และถ้ามี[[เลนส์]]กับปริซึมอีกแท่งหนึ่งจะสามารถรวมแสงสเปกตรัมหลายสีกลับมาเป็นแสงขาวได้<ref>Ball 1908, p. 324</ref> นักวิชาการยุคใหม่เปิดเผยว่างานวิเคราะห์แสงขาวของนิวตันนี้เป็นผลมาจากวิชาเล่นแร่แปรธาตุเชิง[[ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์|คอร์พัสคิวลาร์]]<ref>[[William R. Newman]], "Newton's Early Optical Theory and its Debt to Chymistry," in Danielle Jacquart and Michel Hochmann, eds., ''Lumière et vision dans les sciences et dans les arts'' (Geneva: Droz, 2010), pp. 283-307. A free access online version of this article can be found at [http://webapp1.dlib.indiana.edu/newton/html/Newton_optics-alchemy_Jacquart_paper.pdf the ''Chymistry of Isaac Newton'' project]</ref>

เขายังแสดงให้เห็นว่า แสงที่มีสีจะไม่เปลี่ยนคุณสมบัติไปไม่ว่าจะถูกกระจายลำแสงออกส่องไปยังพื้นผิววัตถุใดๆ ก็ตาม นิวตันให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าแสงนั้นจะสะท้อน กระจาย หรือเคลื่อนผ่านอะไร มันก็ยังคงเป็นสีเดิมอยู่นั่นเอง นอกจากนี้เขาสังเกตว่า สีนั้นคือผลลัพธ์จากการที่วัตถุมีปฏิกิริยากับแสงที่มีสีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าวัตถุนั้นสร้างสีของมันออกมาเอง แนวคิดนี้รู้จักในชื่อ ทฤษฎีสีของนิวตัน (Newton's theory of colour)<ref>Ball 1908, p. 325</ref>

== เกียรติคุณและอนุสรณ์ ==
[[ไฟล์:Isaac Newton grave in Westminster Abbey.jpg|thumb|200px|ที่ฝังศพนิวตันในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]]
[[ไฟล์:Isaac Newton statue.jpg|thumb|200px|อนุสาวรีย์นิวตันที่ [[พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด]]]]

นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส [[โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์]] มักพูดบ่อยๆ ว่านิวตันเป็นอัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา มีอยู่ครั้งหนึ่งเขากล่าวว่า นิวตันนั้น "โชคดีที่สุด เพราะเราไม่อาจค้นพบระบบของโลกได้มากกว่า 1 ครั้ง"<ref>Fred L. Wilson, ''History of Science: Newton'' citing: Delambre, M. "Notice sur la vie et les ouvrages de M. le comte J. L. Lagrange," ''Oeuvres de Lagrange'' I. Paris, 1867, p. xx.</ref> กวีชาวอังกฤษ [[อเล็กซานเดอร์ โพพ]] ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของนิวตัน และเขียนบทกวีที่โด่งดังมาก ดังนี้:

{{คำพูด|
ธรรมชาติและกฎแห่งธรรมชาติซ่อนตัวอยู่ในรัตติกาล<br />
พระเจ้าตรัสว่า "ให้นิวตันกำเนิด" แสงสว่างจึงได้มีขึ้น<br />
Nature and nature's laws lay hid in night;<br />
God said "Let Newton be" and there was light.}}

แม้โดยทางบุคลิกภาพแล้ว นิวตันจะไม่ใช่คนถ่อมตัวนัก แต่นิวตันก็มีมารยาทพอที่จะถ่อมตัวกับความสำเร็จของตัวเอง ครั้งหนึ่งเขาเขียนจดหมายถึง[[โรเบิร์ต ฮุก]] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2219 ว่า:

{{คำพูด
|ถ้าฉันสามารถมองได้ไกลกว่าผู้อื่น นั่นก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์</br>If I have seen further it is by standing on the shoulders of giants.<ref>จดหมายจากไอแซก นิวตัน ถึงโรเบิร์ต ฮุก, 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1676, บันทึกไว้ในผลงานของ ชอง-ปีแยร์ เมอรี (1992) ''Newton: Understanding the Cosmos'', New Horizons</ref><ref>Wikipedia ''[[Standing on the shoulders of giants]]'',</ref>}}

อย่างไรก็ดี นักเขียนบางคนเชื่อว่า ถ้อยคำข้างต้นซึ่งเขียนขึ้นในช่วงเวลาที่นิวตันกับฮุกกำลังมีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับการค้นพบเรื่องแสง น่าจะเป็นการตอบโต้ฮุก (โดยว่าเป็นถ้อยคำที่ทั้งสั้นและห้วน) มากกว่าจะเป็นการถ่อมตน<ref>John Gribbin (2002) ''Science: A History 1543-2001'', p 164.</ref><ref>White 1997, p187.</ref> วลี "ยืนบนบ่าของยักษ์" อันโด่งดังตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยกวีชื่อ [[จอร์จ เฮอร์เบิร์ต]] (อดีตโฆษกมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และภาคีสมาชิกของวิทยาลัยทรินิตี้) ในงานเขียนเรื่อง ''Jacula Prudentum'' (1651) มีความหมายหลักคือ "คนแคระที่ยืนบนบ่าของยักษ์ จะมองเห็นได้ไกลกว่าที่แต่ละคนมอง" ผลกระทบในที่นี้จึงน่าจะเป็นการเปรียบเปรยว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็น "คนแคระ" ไม่ใช่ฮุก

มีบันทึกในช่วงหลัง นิวตันเขียนว่า:

{{คำพูด
|ฉันไม่รู้หรอกว่าโลกเห็นฉันเป็นอย่างไร แต่กับตัวเองแล้ว ฉันเหมือนจะเป็นเด็กที่เล่นอยู่ริมชายฝั่ง เพลิดเพลินกับการเสาะหาก้อนกรวดเรียบๆ หรือเปลือกหอยที่สวยเป็นพิเศษ ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันยิ่งใหญ่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าโดยยังไม่ถูกค้นพบ<ref>Memoirs of the Life, Writings, and Discoveries of Sir Isaac Newton (1855) โดย เซอร์เดวิด บรูสเตอร์ (Volume II. Ch. 27)</ref>}}

นิวตันยังคงมีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์มาตลอด เห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นสมาชิก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]] (ซึ่งนิวตันเคยเป็นประธาน) เมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยถามว่า ใครเป็นผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ต่อประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์มากกว่ากันระหว่างนิวตันกับ[[ไอน์สไตน์]] นักวิทยาศาสตร์แห่งราชสมาคมฯ ให้ความเห็นโดยส่วนใหญ่แก่นิวตันมากกว่า<ref name="royalsoc.ac.uk">{{cite web|title=Newton beats Einstein in polls of Royal Society scientists and the public |work=The Royal Society |url=http://royalsociety.org/News.aspx?id=1324&terms=Newton+beats+Einstein+in+polls+of+scientists+and+the+public}}</ref> ปี พ.ศ. 2542 มีการสำรวจความคิดเห็นจากนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกปัจจุบัน 100 คน ลงคะแนนให้ไอน์สไตน์เป็น "นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล" โดยมีนิวตันตามมาเป็นอันดับสอง ในเวลาใกล้เคียงกันมีการสำรวจโดยเว็บไซต์ PhysicsWeb ให้คะแนนนิวตันมาเป็นอันดับหนึ่ง<ref>Opinion poll. Einstein voted "greatest physicist ever" by leading physicists; Newton runner-up: BBC news, Monday, 29 November 1999, [http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/541840.stm News.bbc.co.uk]</ref>

=== อนุสรณ์ ===
อนุสาวรีย์นิวตัน (2274) ตั้งอยู่ใน[[มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]] ด้านทิศเหนือของทางเดินสู่เวทีนักร้องของโบสถ์ ใกล้กับที่ฝังศพของเขา ศิลปินผู้แกะสลักคือ ไมเคิล ไรส์แบร็ค (2237-2313) ทำด้วยหินอ่อนสีขาวและเทา ออกแบบโดยสถาปนิก วิลเลียม เคนท์ เป็นรูปปั้นนิวตันกำลังนอนเอนอยู่เหนือหีบศพ ศอกขวาตั้งอยู่บนหนังสือสำคัญหลายเล่มของเขา มือซ้ายชี้ไปยังม้วนหนังสือที่ออกแบบในเชิงคณิตศาสตร์ เหนือร่างเขาเป็นพีระมิดกับโดมท้องฟ้า แสดงสัญลักษณ์จักรราศีและเส้นทางเดินของดาวหางใหญ่แห่งปี 2223 ด้านข้างมี[[ยุวเทพ]]กำลังใช้เครื่องมือหลายอย่างเช่นกล้องโทรทรรศน์และปริซึม<ref name="wmabbey">{{cite web|url=http://www.westminster-abbey.org/our-history/people/sir-isaac-newton|title=Famous People & the Abbey: Sir Isaac Newton|publisher=Westminster Abbey|accessdate=2009-11-13}}</ref>

== เชิงอรรถ ==
{{fnb|1}}ในช่วงชีวิตของนิวตัน มีการใช้งานปฏิทินอยู่ 2 ชนิดในยุโรป คือ [[ปฏิทินจูเลียน]] หรือ'ปฏิทินแบบเก่า' กับ [[ปฏิทินเกรกอเรียน]] หรือ 'ปฏิทินแบบใหม่' ซึ่งใช้กันในประเทศยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิก และที่อื่นๆ ตอนที่นิวตันเกิด วันที่ในปฏิทินเกรกอเรียนจะนำหน้าปฏิทินจูเลียนอยู่ 10 วัน ดังนั้น นิวตันจึงเกิดในวันคริสต์มาส หรือ 25 ธันวาคม 2185 ตามปฏิทินจูเลียน แต่เกิดวันที่ 4 มกราคม 2186 ตามปฏิทินเกรกอเรียน เมื่อถึงวันที่เสียชีวิต ปฏิทินทั้งสองมีความแตกต่างกันเพิ่มเป็น 11 วัน นอกจากนี้ ก่อนที่อังกฤษจะรับเอาปฏิทินเกรกอเรียนเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2295 วันขึ้นปีใหม่ของอังกฤษเริ่มในวันที่ 25 มีนาคม (หรือ 'วันสุภาพสตรี' (Lady Day) ทั้งตามกฎหมายและตามประเพณีท้องถิ่น) มิใช่วันที่ 1 มกราคม หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น วันที่ทั้งหลายที่ปรากฏในบทความนี้จะเป็นวันที่ตามปฏิทินจูเลียน

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

== บรรณานุกรม ==
{{refbegin|30em}}
* {{cite book|last=Ball|first=W.W. Rouse|title=A Short Account of the History of Mathematics|location=New York|publisher=Dover|year=1908|isbn=0-486-20630-0}}
* {{cite book|last=Christianson|first=Gale|title=In the Presence of the Creator: Isaac Newton & His Times|location=New York|publisher=Free Press|year=1984|isbn=0-02-905190-8}} This well documented work provides, in particular, valuable information regarding Newton's knowledge of [[Patristics]]
* {{cite journal|last=Craig |first=John |title=Isaac Newton&nbsp;– Crime Investigator |journal=Nature |year=1958 |volume=182|issue=4629 |pages=149–152 |doi=10.1038/182149a0 |bibcode = 1958Natur.182..149C }}
* {{cite journal|last=Craig |first=John |title=Isaac Newton and the Counterfeiters |journal=Notes and Records of the Royal Society of London |volume=18|issue=2 |year=1963 |pages=136–145 |doi=10.1098/rsnr.1963.0017 }}
* {{cite book|last=Levenson|first=Thomas|title= Newton and the Counterfeiter: The Unknown Detective Career of the World's Greatest Scientist|publisher=Mariner Books|year=2010|isbn=978-0-547-33604-6 }}
* {{cite book|last=Stewart|first=James|title= Calculus: Concepts and Contexts|publisher=Cengage Learning|year=2009|isbn=978-0-495-55742-5}}
* {{cite book|authorlink=Richard S. Westfall |last=Westfall |first=Richard S. |title=Never at Rest |publisher=Cambridge University Press |year=1980, 1998 |isbn=0-521-27435-4 }}
*{{cite book|last=Westfall|first=Richard S.|title=Isaac Newton|publisher=Cambridge University Press|year=2007|isbn=978-0-19-921355-9}}
*{{cite book|last=Westfall|first=Richard S.|title=The Life of Isaac Newton|publisher=Cambridge University Press|year=1994|isbn=0-521-47737-9}}
*{{cite book|authorlink=Michael White (author) |title=Isaac Newton: The Last Sorcerer |first=Michael |last=White |publisher=Fourth Estate Limited |year=1997 |isbn=1-85702-416-8}}
{{refend}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{วิกิคำคม}}
{{คอมมอนส์|Isaac Newton}}
* [http://www.newtonproject.ic.ac.uk/ The Newton Project] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20040604020936/http://www.newtonproject.ic.ac.uk/ |date=2004-06-04 }} - รวบรวมประวัติและผลงานของนิวตันในทุกสาขา
* [http://scienceworld.wolfram.com/biography/Newton.html ScienceWorld biography] โดย Eric Weisstein
* [http://www.chlt.org/sandbox/lhl/dsb/page.50.a.php Dictionary of Scientific Biography]
* [http://www.newtonproject.sussex.ac.uk/prism.php?id=1 The Newton Project]
* [http://www.isaacnewton.ca/ The Newton Project - Canada]
* [https://web.archive.org/web/20080629021908/http://www.skepticreport.com/predictions/newton.htm Rebuttal of Newton's astrology] (via [[archive.org]])
* [http://www.galilean-library.org/snobelen.html Newton's Religious Views Reconsidered] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070927014559/http://www.galilean-library.org/snobelen.html |date=2007-09-27 }}
* [http://www.pierre-marteau.com/editions/1701-25-mint-reports.html Newton's Royal Mint Reports]
* [http://www.pbs.org/wgbh/nova/newton/ Newton's Dark Secrets] [[Nova (TV series)|NOVA]] TV programme
* จากสารานุกรมปรัชญาของสแตนฟอร์ด:
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton/ Isaac Newton], โดย จอร์จ สมิธ
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton-principia/ Newton's Philosophiae Naturalis Principia Mathematica], โดย จอร์จ สมิธ
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton-philosophy/ Newton's Philosophy], โดย แอนดรูว์ จาเนียค
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton-stm/ Newton's views on space, time, and motion], โดย Robert Rynasiewicz
* [http://www.tqnyc.org/NYC051308/index.htm Newton's Castle] Educational material
* [http://www.dlib.indiana.edu/collections/newton The Chymistry of Isaac Newton] งานวิจัยเกี่ยวกับงานเขียนของนิวตันเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุ
* [http://www.fmalive.com/ FMA Live! Program for teaching Newton's laws to kids] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20160402142826/http://www.fmalive.com/ |date=2016-04-02 }}
* [http://www.adherents.com/people/pn/Isaac_Newton.html Newton's religious position] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090822033018/http://www.adherents.com/people/pn/Isaac_Newton.html |date=2009-08-22 }}
* [http://hss.fullerton.edu/philosophy/GeneralScholium.htm The "General Scholium" to Newton's Principia] {{Webarchive|url=https://archive.is/20030513080422/http://hss.fullerton.edu/philosophy/GeneralScholium.htm |date=2003-05-13 }}
* Kandaswamy, Anand M. [http://www.math.rutgers.edu/courses/436/Honors02/newton.html ''The Newton/Leibniz Conflict in Context'']
* [http://www.phaser.com/modules/historic/newton/index.html Newton's First ODE] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070705191603/http://www.phaser.com/modules/historic/newton/index.html |date=2007-07-05 }}&nbsp;– การศึกษาว่าด้วยวิธีที่นิวตันประมาณการผลลัพธ์ของการแก้สมการอันดับที่หนึ่งโดยใช้อนุกรมอนันต์
* [http://www.ltrc.mcmaster.ca/newton/ The Mind of Isaac Newton] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20061213222519/http://www.ltrc.mcmaster.ca/newton/ |date=2006-12-13 }} สื่อภาพ เสียง แอนิเมชั่น และสื่ออินเตอร์แอคทีฟอื่นๆ
* [http://www.enlighteningscience.sussex.ac.uk/home Enlightening Science] วิดีโอเกี่ยวกับชีวประวัติของนิวตัน ทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ และมุมมองของเขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และศาสนา
* [http://www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/Mathematicians/Newton.html ชีวประวัติของนิวตัน (มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ส)]

{{lifetime|1642|1727}}
[[หมวดหมู่:ไอแซก นิวตัน| ]]
[[หมวดหมู่:ไอแซก นิวตัน| ]]
[[หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ]]
[[หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:56, 13 ธันวาคม 2565

เซอร์

ไอแซก นิวตัน
ภาพเขียนของไอแซกนิวตันขณะอายุ 46 ปี
เกิด4 มกราคม ค.ศ. 1642
(ปฏิทินเกรกอเรียน)
25 ธันวาคม ค.ศ. 1642
(ปฏิทินจูเลียน)1
วูลสธอร์ป
ลิงคอนเชียร์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 1727
(ปฏิทินเกรกอเรียน)
21 มีนาคม ค.ศ. 1727
(ปฏิทินจูเลียน)1
เคนซิงตัน มิดเดิลเซกซ์ ประเทศอังกฤษ
ศิษย์เก่าวิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มีชื่อเสียงจากกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
ความโน้มถ่วงสากล
แคลคูลัส
ทัศนศาสตร์
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
สมาชิกรัฐสภา
จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ดำรงตำแหน่ง
1689–1690
ก่อนหน้าโรเบิร์ต เบรดี
ถัดไปเอ็ดเวิร์ด ฟินช์
ดำรงตำแหน่ง
1701–1702
ก่อนหน้าแอนโทนี แฮมมอนด์
ถัดไปอาร์เธอร์ แอนสลีย์ เอิร์ลที่ 5 แห่งแองเกิลซีย์
ประธานราชสมาคม คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
1703–1727
ก่อนหน้าจอห์น ซอมเมอร์ส
ถัดไปฮันส์ สโลน
ศาสตราจารย์ลูคาเซียนแห่งคณิตศาสตร์ คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
1669–1702
ก่อนหน้าไอแซก แบร์โรว
ถัดไปวิลเลียม วิสตัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
พรรคการเมืองพรรควิก
ลายมือชื่อ

ตราอาร์ม