พิพิธภัณฑ์อินเดีย

พิกัด: 22°33′29″N 88°21′03″E / 22.55806°N 88.35083°E / 22.55806; 88.35083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์อินเดีย
ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ก่อตั้ง2 February 1814; 210 ปีก่อน (2 February 1814)
ที่ตั้ง27 ถนนชวาหัรลาล เนหรู ถนนปาร์ก โกลกาตา 700016
พิกัดภูมิศาสตร์22°33′29″N 88°21′03″E / 22.55806°N 88.35083°E / 22.55806; 88.35083
ประเภทพิพิธภัณฑ์
ขนาดผลงาน1,002,646 (ข้อมูลเมื่อ 2004)[1]
ผู้อำนวยการศรี อารีชิต ทุตตา เจาธรี (Shri Arijit Dutta Choudhury)
ขนส่งมวลชนโกลกาตาเมโตร: ปาร์กสตรีต
เว็บไซต์indianmuseumkolkata.org

พิพิธภัณฑ์อินเดีย (อังกฤษ: Indian Museum) หรือ พิพิธภัณฑ์ภารตีย เป็นพิพิธภัณฑ์ในโกลกาตา รัฐเบงกอลตะวันตก ชื่อเดิมในสมัยอาณานิคมคือ พิพิธภัณฑ์อิมปีเรียลแอตกัลกัตตา (อังกฤษ: Imperial Museum at Calcutta)[2][3] ในปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของอินเดีย[4][5][6][7][8][9][10] ของสะสมของพิพิธภัณฑ์มีทั้งโบราณวัตถุ, เครื่องประดับ, ชุดเกราะ, ซากฟอสซิล, โครงกระดูกมนุษย์, มัมมี่มนุษย์ และจิตรกรรมโมกุล พิพิธภัณฑ์ตั้งขึ้นโดยสมาคมเอเชียติกแห่งเบงกอลในปี 1814 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก นาตาเนียล วอลลิช

องค์การเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมของรัฐบาลอินเดีย ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์คนปัจจุบันคือศรี อารีชิต ทุตตา เจาธรี (Shri Arijit Dutta Choudhury) ซึ่งยังเป็นผู้บังคับการสภาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหอสมุดแห่งชาติอินเดีย[11]

ประวัติศาสตร์[แก้]

พิพิธภัณฑ์อินเดียเริ่มต้นมาจากสมาคมเอเชียติกแห่งเบงกอล ตั้งขึ้นโดยวิลเลียม โจนส์ ในปี 1784 แนวคิดในการตั้งพิพิธภัณฑ์เริ่มมีในปี 1796 โดยสมาชิกของสมาคมเอเชียติก เพื่อที่จะเก็บรักษา ดูแล และจัดแสดงวัตถุโบราณและวัตถุจากธรรมชาติ โครงการเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในปี 1808 หลังรัฐบาลอินเดียเสนอพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการก่อสร้างตรงบริเวณ จาวริงหี-ถนนปาร์ก (Chowringhee-Park Street)[12]

ในปี 1814 นาตาเนียล วอลลิช นักพฤกษศาสตร์ชาวเดน เขียนจดหมายไปยังสมาคมเอเชียติกเพื่อขอการตั้งพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงของสะสมส่วนตัวของเขา และของสมาคมเอเชียติกแห่งกัลกัตตา รวมถึงอาสาเป็นภัณฑากรประจำพิพิธภัณฑ์ เขาเสนอให้แบ่งพิพิธภัณฑ์เป็นห้าส่วนงาน ได้แก่ส่วนโบราณคดี ชาติพันธุ์วรรณา เทคนิก ธรณีวิทยา และ สัตววิทยา[13] สมาคมตอบกลับและพิพิธภัณฑ์ได้สร้างขึ้น

ส่วนงานสัตววิทยาและชาติพันธุ์วรรณาของพิพิธภัณฑ์นำไปสู่กรมสำรวจสัตววิทยาอินเดียในปี 1916 และกรมสำรวจโบราณคดีอินเดียในปี 1945[14]

ของสะสม[แก้]

หนึ่งในของจัดแสดงและของสะสมของพิพิธภัณฑ์คือมัมมีอียิปต์[15][16][17] นอกจากนี้ยังมีของสะสมจากอินเดียยุคกลางและโบราณจำนวนมาก เช่น ซุ้มทางเข้าสถูปพุทธจากภารหุต, งานจำลองหัวเสาอโศกจากเสาอโศก (มาจากพิพิธภัณฑ์สารนาถ) ไปจนถึงซากฟอสซิลของสัตว์จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ และซากอุกกาบาต

พิพิธภัณฑ์มีสี่แกลเลอรีที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ได้แก่ ส่วนพฤกษศาสตรฺ ส่วนแมลง ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และส่วนสัตว์ปีก นอกจากนี้ยังมีของสะสมชิ้นสำคัญอย่างโครงกระดูกไดโนเสาร์ด้วย[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. Comptroller & Auditor General of India report No. 4 of 2005 (Civil) of CHAPTER III : MINISTRY OF CULTURE, p: 31
  2. Indian Museum information and experience, Kolkata เก็บถาวร 3 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ministry of Culture, Government of India
  3. "Home | Indian Museum Kolkata". indianmuseumkolkata.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
  4. "Indian Museum, Kolkata: Information, History, Timings, Entry Fee, Facts". FabHotels Travel Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-06-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  5. "indian museum address - ixigo trip planner!". www.ixigo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  6. "Indian Museum, Kolkata: A History of Indian Sculpture". The Heritage Lab (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-12-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  7. "National Portal and Digital Repository". museumsofindia.gov.in (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  8. "History Of The Museum | Indian Museum Kolkata". indianmuseumkolkata.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  9. "Indian Museum | Kolkata (Calcutta), India Attractions". Lonely Planet (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  10. "Indian Museum Kolkata | Timings, Entry Fee, History". www.holidify.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  11. "Indian Participants - National Council of Science Museums." Ncsm.gov.in/TenderDoc/Announcement%20Brochure%20India.pdf. N.p., n.d. Web.
  12. "History of Indian Museum". Website of the Indian Museum. Ministry of Culture, Government of India. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2012. สืบค้นเมื่อ 20 January 2013.
  13. "History of Indian Museum (second page)". Website of the Indian Museum. Ministry of Culture, Government of India. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 January 2013.
  14. "Appendix K: The Anthropological Survey of India (The Andamanese by George Weber)". 10 กันยายน 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006.
  15. Britannica encyclopedia. Tata Mcgraw Hill. March 2002.
  16. Mitter, Sohini. "4,000-year-old Egyptian mummy to get a face-lift". Mashable (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-10-21.
  17. Sengupta, Anuradha (10 March 2017). "Wrapped for another day... or millennium". The Hindu Business Line (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.
  18. "Indian Museum offers feast to fans of natural history". The Hindu (ภาษาIndian English). Special Correspondent. 2018-05-09. ISSN 0971-751X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2018-10-28.{{cite news}}: CS1 maint: others (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]