พิพิธภัณฑ์วัยเด็กในสงคราม

พิกัด: 43°51′43″N 18°25′43″E / 43.861991°N 18.428524°E / 43.861991; 18.428524
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์วัยเด็กท่ามกลางสงคราม
แผนที่
ก่อตั้ง2017
ที่ตั้งLogavina 32 ซาราเยโว
พิกัดภูมิศาสตร์43°51′43″N 18°25′43″E / 43.861991°N 18.428524°E / 43.861991; 18.428524
ประเภทพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
ผู้ก่อตั้งJasminko Halilovic
เว็บไซต์museum.warchildhood.com

พิพิธภัณฑ์วัยเด็กในสงคราม (บอสเนีย: Muzej ratnog djetinjstva; War Childhood Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เปิดให้บริการครั้งแรกในเดือนมกราคม 2017 ภายในนำเสนอประสบการณ์ของผู้ที่ในวัยเด็กมีชีวิตผ่านสงครามในบอสเนียโดยบอกเล่าผ่านทางวัตถุ วิดีโอคำบอกเล่า และบางส่วนจากประวัติศาสตร์มุขปาฐะ ในปี 2018 พิพิธภัณฑ์ได้รับรางวัลสภาพิพิธภัณฑ์ยุโรปในสาขารางวัลพิพิธภัณฑ์ยุโรปแห่งปี[1][2]

โครงการนี้เริ่มต้นในปี 2010 โดยยัสมินโค ฮาลีโลวิช (Jasminko Halilovic) นักธุรกิจชาวซาราเยโว นักเคลื่อนไหว และ "เด็กยุคสงคราม" ("war child") ใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมการรื้อฟื้นความทรงจำของผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีวันเด็กผ่านสงครามบอสเนีย มีผู้ส่งความทรงจำของตนเข้าร่วมมากกว่า 1,000 ชิ้น ฮาลีโลวิชรวบรวมเนื้อหาเหล่านี้ตีพิมพ์เป็นหนังสือในปี 2013 หนังสือดังกล่าวได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมันและญี่ปุ่น[3] ในระหว่างการติดต่อประสานงานกับบรรดา "เด็กยุคสงคราม" เขาได้พบว่าบรรดา "เด็กยุคสงคราม" เหล่านี้ยังมีวัตถุเฉพาะพิเศษบางอย่างที่ผูกพันกับความทรงจำเหล่านี้[4] เขาเริ่มต้นทำงานกับคณะทำงานคนอื่น ๆ เพื่อพัฒนาของสะสมของพิพิธภัณฑ์ขึ้น และเก็บรวบรวมวัตถุกว่า 3,000 ชิ้น และคำบอกเล่ามากกว่า 60 เรื่อง จากปากบุคคลจริง[5]

ในเดือนพฤษภาคม 2016 พิพิธภัณฑ์วัยเด็กในสงครามได้จัดนิทรรศการชั่วคราวแรกขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ[6] ตามด้วยมีการจัดนิทรรศการอีกในเมืองเซนีซา และ วีโซโค[7] ในปี 2017 พิพิธภัณฑ์ได้เปิดตัวนิทรรศการถาวรขึ้น ตั้งอยู่บนถนนโลกาวีนาในซาราเยโว

วัตถุของสะสมของพิพิธภัณฑ์มีทั้งบันทึก ของเล่น ภาพถ่าย เสื้อผ้า และวัตถุอื่น ๆ อีกหลากหลายที่ได้รับบริจาคโดยผู้รอดชีวิตจากช่วงสงคราม[8] วัตถุทั้งหมดนี้นำเสนอควบคู่กับคำบอกเล่าเรื่องราวในรูปบุคคลที่หนึ่ง จากบุคคลที่เป็นคนบริจาควัตถุนี้ให้ นอกจากวัตถุแล้ว ผู้เข้าชมยังสามารถรับฟังคำบอกเล่าจากปากของผู้รอดชีวิตและบทสัมภาษณ์เช่นกัน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Council of Europe Museum Prize 2018". European Museum Forum. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  2. "War Childhood Museum, Sarajevo, wins 2018 Museum Prize". European Museum Forum. January 2018. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  3. Sheehan, Dan (December 2015). "Jasminko Halilovic: Children of War". Guernica Magazine. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  4. Toe, Rodolfo (May 11, 2016). "Sarajevo Museum to Preserve Wartime Childhood Memories". Balkan Transitional Justice. Balkan Insight.
  5. Rose, Eleanor (January 1, 2017). "Bosnia's War Childhood Museum Finally Opens". Balkan Transitional Justice. Balkan Insight. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  6. Toe, Rodolfo. "Sarajevo Museum to Preserve Wartime Childhood Memories". Balkan Transitional Justice. Balkan Insight. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  7. Ruvic, Dado (July 8, 2016). "Bosnian museum of wartime childhood helps heal trauma". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-05. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  8. "War Childhood Museum". 2015–2020. สืบค้นเมื่อ 11 September 2020.
  9. Rose, Eleanor (January 30, 2017). "Bosnia's War Childhood Museum Finally Opens". Balkan Transitional Justice. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.