พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาเมงูโระ

พิกัด: 35°37′54″N 139°42′24″E / 35.631667°N 139.706667°E / 35.631667; 139.706667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาเมงูโระ
目黒寄生虫館
Glass jars with parasite specimens suspended in fluid
ตัวอย่างปรสิตที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2496
ที่ตั้งเขตเมงูโระ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์35°37′54″N 139°42′24″E / 35.631667°N 139.706667°E / 35.631667; 139.706667
ประเภทพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ขนาดผลงาน60,000 ตัวอย่าง, จัดแสดง 300 ตัวอย่าง
จำนวนผู้เยี่ยมชม57300[1]
ผู้ก่อตั้งศาสตราจารย์ซาโตรุ คาเมไง
ผู้อำนวยการศาสตราจารย์โทชิอากิ คูราโมจิ
ขนส่งมวลชนสถานีเมงูโระ
เว็บไซต์www.kiseichu.org/e-top แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาเมงูโระ (ญี่ปุ่น: 目黒寄生虫館โรมาจิMeguro kiseichūkan) เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ขนาดเล็กในเขตเมงูโระ ใจกลางกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์สร้างเพื่ออุทิศให้กับปรสิตและวิทยาศาสตร์สาขาปรสิตวิทยา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2496 โดยศาสตราจารย์ซาโตรุ คาเมไง[2]

ประวัติ[แก้]

พิพิธภัณฑ์สร้างขึ้นใหม่ในตำแหน่งปัจจุบันในปี พ.ศ. 2536 ศาสตราจารย์คาเมไงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2545 ศาสตราจารย์อากิฮิโตะ อูจิดะจึงเข้ามาบริหารพิพิธภัณฑ์โดยเพิ่มร้านขายของที่ระลึกเพื่อช่วยดำเนินกองทุน[3]

พิพิธภัณฑ์[แก้]

พยาธิตืดปลาญี่ปุ่นความยาว 8.8 เมตร

พื้นที่นิทรรศการสองชั้นแสดงภาพรวมของการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของปรสิตในธรรมชาติและวงชีพของปรสิตเหล่านั้น พื้นที่นิทรรศการชั้นสองเน้นเรื่องปรสิตในมนุษย์และผลกระทบจากปรสิต (ได้แก่ หนอนตัวกลม, หนอนตัวแบน และพยาธิตัวตืด) จัดแสดงตัวอย่างปรสิตที่เก็บรักษาไว้ 300 ตัวอย่าง รวมถึงพยาธิตืดปลาญี่ปุ่น (Diphyllobothrium nihonkaiense) ความยาว 8.8 เมตร (29 ฟุต)[4] ห้องสมุดวิจัยมีตัวอย่างปรสิต 60,000 ตัวอย่าง เอกสาร 50,000 แผ่น และหนังสือเกี่ยวกับปรสิตวิทยา 5,000 เล่ม[5]

พิพิธภัณฑ์มีร้านขายของที่ระลึกที่ชั้นสองซึ่งผู้เยี่ยมชมสามารถซื้อหนังสือนำเที่ยวพิพิธภัณฑ์, ไปรษณียบัตร, เสื้อยืด หรือที่ห้อยมือถือที่มีปรสิตตัวจริงฝังอยู่ในอะคริลิก (Nybelinia surmenicola หรือ Oncomelania nosophora)[6] พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรีและต้องอาศัยการบริจาคเนื่องจากเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่ไม่ได้รับทุนจากรัฐบาล[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 公益財団法人 目 黒 寄 生 虫 館 (2017). "平 成 29 年 度 事 業 報 告 書" (PDF). kiseichu.org/disclosure (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  2. Uranaka, Taiga (11 March 2001). "Strange world of parasites on display" (ภาษาอังกฤษ). The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  3. Belson, Ken (1 September 2002). "For Youth in Japan, Love Is a Many Segmented Thing". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  4. Phro, Preston (1 March 2014). "From protozoa to tapeworms: Visiting the Meguro Parasitological Museum". SoraNews24 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  5. "Meguro Parasitological Museum". japanvisitor.com (ภาษาอังกฤษ). 2018. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  6. Irving, India (26 September 2018). "Tokyo's Museum of Parasites Will Make Your Skin Crawl". Culture Trip (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  7. Tomo (5 October 2015). "The only one in the world! Meguro Parasitological Museum is slowly taking over..." Japanize (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]