พอลตายแล้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The cover of a 1969 magazine titled 'Paul McCartney Dead; The Great Hoax'
นิตยสารนำเสนอข่าวลือ[1]

"พอลตายแล้ว" (อังกฤษ: Paul is dead) เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวหาว่า พอล แม็กคาร์ตนีย์ สมาชิกวงร็อกอังกฤษ เดอะบีเทิลส์ ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1966 และวงได้เปลี่ยนสมาชิกโดยผู้ที่หน้าตาละม้ายคล้ายเขาแทน โดยในเดือนกันยายน ค.ศ. 1969 นักศึกษาอเมริกาได้ตีพิมพ์บทความที่อ้างถึงร่องรอยว่าแม็กคาร์ตนีย์เสียชีวิตแล้ว สามารถพบได้จากเนื้อเพลงและภาพบนแผ่นเสียงของเดอะบีตเทิลส์ ซึ่งการล่าหาหลักฐานนี้ได้แพร่กระจายและภายในไม่กี่สัปดาห์ก็ได้เป็นปรากฏการณ์ในระดับนานาชาติ แต่ต่อมาแม็กคาร์ตนีย์ได้ออกมาสัมภาษณ์และปฏิเสธข่าวลือ ตีพิมพ์ในนิตยสารไลฟ์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1969[2] ในวัฒนธรรมสมัยนิยมยังคงมีการอ้างถึงเรื่องเล่านี้ในบางครั้ง

จุดเริ่มต้น[แก้]

จุดเริ่มต้นของข่าวลือมีที่มาไม่ชัดเจน ขณะที่สาธารณชนได้กังวลเกี่ยวกับสุขภาพของแม็กคาร์ตนีย์หลัง ค.ศ. 1967[2] หลังจากที่เขาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็เป็นไปได้ว่าข่าวลือในปี ค.ศ. 1969 นี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง[3] เหมือนกับจากข่าวลือในลักษณะเดียวกับบ็อบ ดีแลนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์[1] ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1969 วงเดอะบีตเทิลส์กำลังอยู่ในช่วงกำลังแตกวง งานของแม็กคาร์ตนีย์กับสาธารณชนที่น้อยและเขาอยู่ในระหว่างการถอนตัวเพื่อทำผลงานอัลบั้มเดี่ยวที่กำลังจะมีขึ้น[4][5]

วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1969 บทความหัวข้อ "พอล แม็กคาร์ตนีย์ จากเดอะบีตเทิลส์ ตายแล้วหรือ" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นักเรียน ของมหาวิทยาลัยเดรก ในไอโอวา โดยบทความอธิบายถึงข่าวลือที่แพร่สะพัดในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการตายของพอล ในข่าวลือนั้นยังรวมถึงร่องรอยในอัลบั้มล่าสุดของเดอะบีตเทิลส์ เมื่อเล่นเพลง "Revolution 9" ในอัลบั้ม White Album กลับหลังจะมีข้อความว่า "turn me on, dead man" (หันมาที่ฉัน คนตายแล้ว)[6] ในรายงานข่าวทางวิทยุในวันที่ 11 ตุลาคม โดยเจ้าหน้าที่สื่อของบีตเทิลส์ เดเรก เทย์เลอร์ ได้โต้ตอบข่าวลือว่า "ล่าสุดเราได้คำถามอย่างมากมายเกี่ยวกับข่าวลือว่าพอลตายแล้ว เราได้ข่าวลือนี้มาหลายปี แน่นอนว่า หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้รับข้อสงสัยจากที่สำนักงานและที่บ้าน ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ หรือแม้แต่ได้รับสายโทรศัพท์จากดีเจและที่อื่นในสหรัฐอเมริกา"[7]

แพร่สะพัด[แก้]

ในวันที่ 12 ตุลาคม สายเข้าในสถานีวิทยุดีทรอยต์ คลื่น WKNR ได้เล่าให้ดีเจ รัส กิบ เกี่ยวกับข่าวลือและร่องรอย และผู้ที่โทรเข้ามาสายอื่นก็ได้อภิปรายเกี่ยวกับข่าวลือนี้ในชั่วโมงถัดมา หลังจากนั้น 2 วัน หนังสือพิมพ์ เดอะมิชิแกนเดลี ตีพิมพ์เกี่ยวกับการเปรียบเปรยของอัลบั้ม Abbey Road ของนักเรียนมหาวิทยาลัยมิชิแกน ชื่อ เฟรด ลาบัวร์ ในหัวข้อเรื่อง "แม็กคาร์ตนีย์ตายแล้ว หลักฐานสู่ความกระจ่าง"[8] โดยบรรยายถึงร่องรอยต่าง ๆ ถึงการตายของแม็กคาร์ตนีย์บนปกอัลบั้ม รวมถึงหลักฐานใหม่ของอัลบั้มที่เพิ่งออกชุด Abbey Road โดยลาบัวร์ได้ตั้งข้อสังเกต โดยเขารู้สึกตกใจเมื่อเรื่องราวที่เขาเขียนได้ถูกหนังสือพิมพ์เอาไปเขียนทั่วสหรัฐอเมริกา[9] คลื่น WKNR ได้เติมไฟให้ข่าวลือโดยการทำรายการความยาว 2 ชั่วโมงเต็มในหัวข้อนี้ โดยออกอากาศวันที่ 19 ตุลาคม

ในเช้าวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1969 โรบี ยอนจ์ ดีเจสถานีวิทยุในนิวยอร์กคลื่น WABC ได้อภิปรายข่าวลือออกอากาศมากกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งประสบความสำเร็จในเวลาอันสั้น ในช่วงคืนนั้นคลื่นของสถานีได้ครอบคลุมคนฟังไป 38 รัฐ รวมถึงไปถึงประเทศอื่น[10] ต่อมาเจ้าหน้าที่สื่อของเดอะบีตเทิงส์ ได้ออกแถลงข่าวปฏิเสธเกี่ยวกับข่าวลือที่แพร่สะพัดในระดับนานาชาติและสื่อนานาชาติ

ร่องรอย[แก้]

The Abbey Road album cover
ปกอัลบั้ม Abbey Road

เรื่องทึกทักว่าจริงในการตายของแม็กคาร์ตนีย์ที่รายงานออกมาจากทั้งแฟนและเรื่องราว เช่นข้อความเมื่อฟังเพลงย้อนกลับหลัง หรือตีความสัญลักษณ์จากทั้งเนื้อเพลงและปกอัลบั้ม[11] อีกหนึ่งตัวอย่างที่ถูกอ้างถึงบ่อยคือข้อสังเกตของคำพูดจากเพื่อนร่วมวง อย่างจอห์น เลนนอน ในส่วนสุดท้ายของเพลง "Strawberry Fields Forever" ที่กล่าวว่า "I buried Paul" (ฉันได้ฝังศพพอล) ซึ่งต่อมาแม็กคาร์ตนีย์ได้อธิบายคำนี้ว่าคือ "น้ำซอสแครนเบอร์รี"[12] อีกหนึ่งการตีความเกี่ยวกับปกอัลบั้ม Abbey Road ที่แสดงถึงการเดินขบวนในงานศพ ฮาร์บิดจ์ได้อธิบายไว้ว่า "จอห์นแต่งตัวขาวบริสุทธิ์ หมายถึง พระหรือความเหนือมนุษย์ ริงโกแต่งตัวชุดดำเต็มชุด หมายถึง ผู้ไว้อาลัย จอร์จในชุดยีนส์เก่าและใส่เสื้อเชิร์ตหมายถึง สัปเหร่อ ส่วนพอลแต่งตัวชุดสูงล้าหลังเก่า ๆ กับเท้าเปล่า หมายถึง ศพ"[11]

เรื่องราว[แก้]

ร่องรอยที่มีได้นำไปสู่เรื่องราว คือ 3 ปีก่อนหน้านี้ (วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966) แม็กคาร์นีย์ที่ทะเลาะในระหว่างการบันทึกเสียงกับเดอะบีตเทิลส์ แล่นรถออกไปด้วยความโกรธ เขาประสบอุบัติเหตุรถชนจนเสียชีวิต เพื่อขจัดปัญหา ทางวงได้แทนที่เขาด้วย วิลเลียม แคมป์เบล ผู้ชนะจากการประกวดคนหน้าเหมือนแม็กคาร์ตนีย์[11]

ข้อโต้แย้ง[แก้]

The cover of an edition of Life magazine showing Paul McCartney and family in Scotland'
นิตยสารไลฟ์ออกมาโต้แย้งเกี่ยวกับข่าวลือ

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1969 เจ้าหน้าที่สื่อของวงเดอะบีตเทิลส์ได้ออกมาปฏิเสธข่าวลือ "เป็นเรื่องไร้สาระเก่า ๆ"[13] และกล่าวว่า "เรื่องราวนี้ได้แพร่สะพัดมานานราว 2 ปี เราได้รับจดหมายประเภทนี้จากทุกแหล่ง แต่พอลก็ยังอยู่กับเรา"[14] จนข่าวลือก็ลดลงไปเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 เมื่อนิตยสารไลฟ์ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ล่าสุดของแม็กคาร์ตนีย์ โดยเขาพูดว่า

บางทีข่าวลืออาจเริ่มต้นเพราะว่า ผมไม่ค่อยออกสื่อในช่วงที่ผ่านมา ผมได้ออกสื่อมาพอแล้วตลอดชีวิตของผม ผมไม่ต้องการพูดอะไรในวันนี้ ผมมีความสุขที่อยู่กับครอบครัวของผมและผมจะทำงานอีกครั้ง ผมทำงานมาแล้ว 10 ปีแล้วและผมไม่เคยเลิกทำงาน ผมสามารถเลิกทำงานเมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ แต่ผมก็อยากจะให้ชื่อเสียงของผมน้อยลงกว่านี้[5]

สิ่งที่ตามมา[แก้]

The cover of a 1970 Batman comic book parodying the legend
ในวัฒนธรรมสมัยนิยมเรื่อง Batman

ก่อนสิ้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1969 มีเพลงออกมา 2 เพลงที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้อง คือเพลง "The Ballad of Paul" ของมีสทรีทัวร์ และเพลง "So Long Paul" ของเวิร์บลีย์ ฟินสเตอร์ เขียนโดยโคเซ เฟลีซีอาโน

รายการโทรทัศน์ ที่มีพิธีกรคือทนายผู้มีชื่อเสียงชื่อ เอฟ. ลี ไบลีย์ ออกอากาศทาง WOR ในนิวยอร์กเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ได้พิจารณาตรวจสอบข่าวลือจากลาบัวร์และพยานคนอื่น แต่เขาก็ได้ให้ผู้ชมได้สรุปตัดสินเอาเอง โดยก่อนการบันทึก ลาบัวร์บอกไบลีย์ว่าบทความที่เขาเขียนนั้นเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นเรื่องขำขัน ไบลีย์ถอนหายใจและบอกว่า "เรามีเวลา 1 ชั่วโมง คุณต้องดำเนินไปพร้อมกับมัน"[9]

แม็กคาร์ตนีย์ได้ออกผลงานที่เกี่ยวข้องกับข่าวลือนี้ โดยตั้งชื่ออัลบั้มในการแสดงสดปี ค.ศ. 1993 ที่ชื่อ Paul Is Live และปกอัลบั้มยังล้อเลียนปกอัลบั้ม Abbey Road[15]

นอกจากนี้ยังมีพูดถึงในหนังสือหลายเล่ม[16][17] ภาพยนตร์หลายเรื่อง[18][19][20] รวมถึงบทวิเคราะห์ต่าง ๆ[3][21] ยังมีการอ้างถึงในวัฒนธรรมสมัยนิยม ตัวอย่างเช่นเรื่องล้อเลียนในหนังสือการ์ตูนแบทแมน ในปี ค.ศ. 1970[22] ได้นำมาล้อเลียนในรายการโทรทัศน์เช่นใน The Simpsons (1990)[23] และ Battlestar Galactica (2006)[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 " "That Was a Hoax, Right?: The 'Paul Is Dead' Rumor", Turn Me On, Dead Man - blog, accessed 19 Sep 2010
  2. 2.0 2.1 "Paul Is Dead Myth", The Beatles Bible website, Retrieved: 16 October 2008
  3. 3.0 3.1 Moriarty, Brian (1999) Who Buried Paul? เก็บถาวร 2011-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, lecture
  4. Miles, Barry (2001). The Beatles Diary Volume 1: The Beatles Years — Chapter 11 (1969). Omnibus Press. ISBN 0-7119-8308-9.
  5. 5.0 5.1 Neary, John (November 7, 1969). "The Magical McCartney Mystery". Life: 103–106.
  6. Bart Schmidt, "It was 40 Years Ago, Yesterday…" เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Drake University: Cowles Library blog, 18 Sep 2009, retrieved 19 Sep 2010
  7. (UPI) "Beatle Paul McCartney Is Really Alive" Lodi News-Sentinel October 11, 1969: 5
  8. LaBour, Fred. "McCartney Dead; New Evidence Brought to Light" The Michigan Daily October 14, 1969: 2
  9. 9.0 9.1 Glenn, Allen (11 November 2009). "Paul is dead (said Fred)". Michigan Today. University of Michigan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2010-12-28.
  10. Musicradio 77 WABC, musicradio77.com - Retrieved: 5 August 2007
  11. 11.0 11.1 11.2 Officially Pronounced Dead? เก็บถาวร 2010-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Michael Harbidge Website. Retrieved 25 August 2010.
  12. Gambaccini, Paul. "The Rolling Stone Interview with Paul McCartney" Rolling Stone January, 31, 1974
  13. "Beatles Spokesman Calls Rumor of McCartney's Death 'Rubbish'" New York Times October 22, 1969: 8
  14. Phillips, B.J. "McCartney 'Death' Rumors" Washington Post October 22, 1969: B1
  15. "Paul Is Live", Photos of unique Beatles rarities: Website, Retrieved 19 Sep 2010
  16. Reeve, Andru J. (1994, 2004). Turn Me On, Dead Man: The Beatles and the "Paul is Dead" Hoax. AuthorHouse Publishing. ISBN 1-4184-8294-3.
  17. Patterson, R. Gary (1998). The Walrus Was Paul: the Great Beatle Death Clues. Prentice Hall. ISBN 978-0684850627.
  18. Handloegten, Hendrik (2000) Paul Is Dead ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ, German drama
  19. Van Opdorp, Wouter (2005) Who Buried Paul McCartney? ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ, Dutch documentary
  20. Gilbert, Joel (2010) Paul McCartney Really Is Dead: The Last Testament of George Harrison ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ, American documentary
  21. Lev, Dr. Details, Secrets, & Theories of the Beatle's Paul-Is-Dead Mystery – Retrieved November 2010
  22. Shaw, Scott (2002) "Batman #222"[ลิงก์เสีย], Oddball Comics
  23. Topping, Keith et al. (2005) The Beatles References and Appearances เก็บถาวร 2012-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Simpsons Archive – Retrieved: 5 August 2007
  24. R and D TV (Season 3)