ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ที่ 1 แห่งโบฮีเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ที่ 1 แห่งโบฮีเมีย
ภาพนูนสลักของพระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ที่ 1 ที่หน้าบันของเซนต์จอจส์คอนแวนต์ ปราก
ดยุก/กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย
ครองราชย์ค.ศ. 1192–1193
1200[1]–1230[2]
ราชาภิเษกค.ศ. 1203, ปราก
ถัดไปพระเจ้าวาตส์ลัฟที่ 1
ประสูติป. ค.ศ. 1155
โบฮีเมีย
สวรรคต15 ธันวาคม ค.ศ. 1230 (75 พรรษา)
ปราก
ฝังพระศพอาสนวิหารนักบุญวิตุส
ชายาอาเดิลไฮท์แห่งไมเซิน
โกนช์ต็อนซิยอแห่งฮังการี
พระราชบุตร
อื่น ๆ...
วาตส์ลัฟที่ 1 กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย
ดักมาร์ ราชินีแห่งเดนมาร์ก
อันเนอ ดัชเชสแห่งไซลีเชีย
วลาดิสเลาส์ที่ 2 แห่งมอเรเวีย
นักบุญอักเนส
ราชวงศ์Přemyslid
พระราชบิดาพระเจ้าวลายิสลัฟที่ 2 แห่งมอเรเวีย
พระราชมารดาจูดิธแห่งทูรินเจีย

พระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ที่ 1 แห่งโบฮีเมีย (เช็ก: Přemysl Otakar I.; ราว ค.ศ. 1155 – 15 ธันวาคม ค.ศ. 1230) เป็นดยุกแห่งโบฮีเมียในช่วง ค.ศ. 1192 จากนั้นจึงได้รับตำแหน่งพระมหากษัตริย์โบฮีเมียครั้งแรกใน ค.ศ. 1198 จากฟิลิปแห่งสเวเบีย ภายหลังใน ค.ศ. 1203 จากอ็อทโทที่ 4 แห่งเบราน์ชไวค์ และใน ค.ศ. 1212 (ในฐานะตำแหน่งสืบทอด) จากฟรีดริชที่ 2 พระองค์เป็นสมาชิกในราชวงศ์ปแชมิเซิล

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์รองของพระเจ้าวลายิสลัฟที่ 2 ดยุกและกษัตริย์โบฮีเมีย กับจูดิธแห่งทูรินเจีย[3] ในช่วงแรกของการครองราชย์เป็นสมัยของอนาธิปไตยที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในราชอาณาจักร หลักจากการต่อสู้อยู่พักหนึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโบฮีเมียโดยจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1192[4] แต่ปีต่อมาพระองค์ก็ถูกกลุ่มเจ้าเยอรมันโค่นราชบัลลังก์ ใน ค.ศ. 1197 พระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ ทรงบังคับให้วลาดิสเลาส ยินดริค พระเชษฐา สละโบฮีเมียให้แก่พระองค์ไปครองเพียงแต่มอเรเวีย[5]

พระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ ทรงฉวยโอกาสที่ชาวเยอรมันอยู่ในระหว่างสงครามกลางเมืองแย่งราชบัลลังก์ระหว่างฟิลลิพแห่งสเวเบียแห่งโฮเอินชเตาเฟิน กับอ็อทโทแห่งตระกูลเวล์ฟ ในการประกาศพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโบฮีเมีย โดยได้รับการสนับสนุนจากฟิลลิพแห่งสเวเบีย ผู้ต้องการการสนับสนุนทางทหารในการต่อสู้กับฝ่ายอ็อทโทใน ค.ศ. 1198[6] โดยสวมมงกุฏที่ไมนทซ์[7]

ใน ค.ศ. 1199 พระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ ทรงหย่ากับอาเดิลไฮท์แห่งไมเซินแห่งราชวงศ์เว็ททีน[7] พระมเหสีองค์แรก เพื่อไปเสกสมรสกับโกนช์ต็อนซิยอแห่งฮังการี พระราชธิดาองค์เล็กของพระเจ้าเบ-ลอที่ 3 แห่งฮังการี[8]

ใน ค.ศ. 1200 เมื่ออ็อทโทขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าปแชมิเซิล โอตาการ์ ก็ทรงเลิกสัญญาที่มีต่อฟิลลิพแห่งสเวเบีย และประกาศเข้าข้างฝ่ายเวล์ฟ[9] ทั้งจักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3[10] ต่อมาก็ทรงรับรองว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สืบราชวงศ์แห่งราชอาณาจักรโบฮีเมีย[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ข้อมูล[แก้]

  • Berend, Nora; Urbańczyk, Przemysław; Wiszewski, Przemysław (2013). Central Europe in the High Middle Ages: Bohemia, Hungary and Poland, c.900–c.1300. Cambridge University Press.
  • Bradbury, Jim (2004). The Routledge Companion to Medieval Warfare. Routledge.
  • France, John (2006). The Crusades and the Expansion of Catholic Christendom, 1000–1714. Routledge. ISBN 978-1134196180.
  • Klaniczay, Gábor (2000). Holy Rulers and Blessed Princesses: Dynastic Cults in Medieval Central Europe. แปลโดย Palmai, Eva. Cambridge University Press.
  • Loud, Graham A.; Schenk, Jochen, บ.ก. (2017). The Origins of the German Principalities, 1100-1350: Essays by German Historians. Taylor & Francis.
  • Lyon, Jonathan R. (2013). Princely Brothers and Sisters: The Sibling Bond in German Politics, 1100-1250. Cornell University Press.
  • Merinsky, Zdenek; Meznik, Jaroslav (1998). "The making of the Czech state: Bohemia and Moravia from the tenth to the fourteenth centuries". ใน Teich, Mikulas (บ.ก.). Bohemia in History. Cambridge University Press.
  • Sommer, Petr; Třeštík, Dušan; Žemlička, Josef (2009). Přemyslovci Budování českého státu (ภาษาCzech). Praha: Nakladatelství Lidové noviny. ISBN 978-80-7106-352-0.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Toch, Michael (1999). "Germany and Flanders: Welfs, Hohenstaufen and Habsburgs". ใน Abulafia, David (บ.ก.). The New Cambridge Medieval History. Vol. 5, C.1198–c.1300. Cambridge University Press. pp. 375–404.
  • Wihoda, Martin (2015). Vladislaus Henry: The Formation of Moravian Identity. BRILL. ISBN 978-9004303836.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]