พระยาอุปราชหมูล่า
พระยาอุปราชหมูล่า | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าหมูหล้า | |||||
![]() | |||||
พระยาอุปราชนครลำปาง | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ทิพย์จักร | ||||
พระบิดา | เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว | ||||
พระมารดา | แม่เจ้าจันทาราชเทวี | ||||
ประสูติ | พ.ศ. 2297 | ||||
พิราลัย | พ.ศ. 2358 (61 พรรษา) |
พระยาอุปราชหมูล่า (บางตำราสะกดว่า หมูหล้า) (พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2358) เป็นพระยาอุปราชแห่งนครลำปาง[1] ดำรงอิสริยยศเป็น "พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง" เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตนแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร แต่เป็นเพียงพระองค์เดียวที่มิได้ครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองนครใด ๆ
พระประวัติ[แก้]
พระยาอุปราชหมูล่า สมภพเมื่อปี พ.ศ. 2297 เป็นพระราชโอรสในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว มีพระอนุชาและพระขนิษฐารวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้[2]
- พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 และเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 3 ในทิพย์จักราธิวงศ์
- พระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4
- พระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
- พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5
- เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
- เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
- พระยาอุปราชหมูล่า
- พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
- เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
- พระเจ้าลำพูนไชย (บุญมา) พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2
พระราชกิจ[แก้]
เจ้าหมูล่า ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราชวงศ์ ในปี พ.ศ. 2317[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2337 เมื่อพระยาคำโสมถึงแก่พิราลัย จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งเจ้าหมูหล้าเป็นพระยาอุปราช กระทั่งในปี พ.ศ. 2358 พระยาอุปราชหมูหล้า ได้ร่วมขบวนนำช้างพลายเผือกลงไปถวายเป็นบรรณาการที่กรุงเทพฯ แต่พระยาอุปราชหมูหล้า ได้ถึงแก่พิราลัยที่กรุงเก่าเสียก่อน[4] สิริอายุได้ 61 ปี
ราชโอรส-ธิดา[แก้]
เจ้าอุปราชหมูหล้า มีพระโอรสเท่าที่สืบข้อมูลได้คือ
- เจ้าน้อยคำ เจ้าเมืองแก้ว (บุรีรัตน์) นครลำปาง
- เจ้าน้อยขัติยะ เจ้าราชบุตรเมืองพะเยา
- พระยาประเทศอุดรทิศ (เจ้าอาริยะ) เจ้าเมืองพะเยา
ราชตระกูล[แก้]
พงศาวลีของพระยาอุปราชหมูล่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ หนานอินแปง. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2546
- ↑ คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
- ↑ วรชาติ มีชูบท (2556) เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค หน้า 4
- ↑ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 3 พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |