พระยาสาครคณาภิรักษ์ (หลำ หุตะสิงห์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำมาตย์เอก

พระยาสาครคณาภิรักษ์
(หลำ หุตะสิงห์)
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2421
เสียชีวิต23 มีนาคม พ.ศ. 2476 (54 ปี)
สาเหตุเสียชีวิตไตพิการ
ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร
บิดามารดา
  • ฮวด หุตะสิงห์ (บิดา)
  • แพ้ว หุตะสิงห์ (มารดา)

อำมาตย์เอก พระยาสาครคณาภิรักษ์ (หลำ หุตะสิงห์) (7 มิถุนายน พ.ศ. 2421 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2476)[1] เป็นขุนนางชาวไทย อดีตผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร มีศักดิ์เป็นพี่ชายของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรีสยามคนแรก

รับราชการ[แก้]

พระยาสาครคณาภิรักษ์เริ่มต้นรับราชการในตำแหน่งล่ามในกรมสรรพากรใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แล้วโอนมาเป็นล่ามในกรมกองตระเวน กระทรวงนครบาล เมื่อปี 2443 ก่อนจะโอนกลับมารับราชการในกรมสรรพากรนอกในตำแหน่งนายเวร เมื่อปี 2444 ในปีถัดมา โอนมารับราชการในกระทรวงมหาดไทยในตำแหน่งนายเวร และได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พันพุฒอนุราช ถือศักดินา 300 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2445[2] ต่อมาในปี 2446 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นว่าที่ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลนครชัยศรี จากนั้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2446 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงมหาดไทยมณฑลนครชัยศรี ลำดับยศชั้นที่ 2 ตรี[3] โดยได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์[4] และในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาไปรับราชการตามหน้าที่[5]

ต่อมาในวันที่ 24 พฤษภาคม 2447 ท่านได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงนิกรจำนง ถือศักดินา 600[6] จากนั้นในปี 2453 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมารักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร แทนพระยาสาครสงคราม ที่ถึงแก่อนิจกรรม กระทั่งวันที่ 13 กรกฎาคม 2454 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาครอย่างเป็นทางการ[7] ในวันที่ 20 สิงหาคม 2454 ท่านได้รับพระราชทานยศเป็น อำมาตย์โท หลวงนิกรจำนง[8] ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2454 มีพระบรมราชโองการเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้ท่านเป็น อำมาตย์โท พระสาครสงคราม[9] โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทานเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2456[10] ในวันที่ 23 มีนาคม 2459 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ของท่านเป็น อำมาตย์โท พระยาสาครคณาภิรักษ์ ถือศักดินา 3000[11] และได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยส่งสัญญาบัตรไปพระราชทานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2460[12]

ในวันที่ 1 มกราคม 2466 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้เป็น อำมาตย์เอก พระยาสาครคณาภิรักษ์[13] ต่อมาท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2470 เนื่องจากป่วยเป็นโรคนิ่วในไต รับพระราชทานเบี้ยบำนาญเลี้ยงชีพ โดยมี รองอำมาตย์เอก หลวงศรีวิเศษ (โจ้ กนิษฐรัต) นายอำเภอมีน จังหวัดมีนบุรี มารักษาราชการแทน[14]

ยศและตำแหน่ง[แก้]

ยศเสือป่า[แก้]

  • – นายหมู่ตรี
  • 19 กุมภาพันธ์ 2455 – นายหมู่โท[15]
  • 21 กุมภาพันธ์ 2456 – นายหมู่เอก[16]
  • 26 ตุลาคม 2458 – นายหมวดโท[17]
  • 8 ธันวาคม 2460 – นายหมวดเอก[18]
  • 8 ตุลาคม 2463 – นายกองตรี[19]

ตำแหน่ง[แก้]

  • 1 ตุลาคม 2463 – ผู้บังคับกองพันราชนาวีเสือป่าสมุทรสาคร[20]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยาสาครคณาภิรักษ์ (หลำ หุตะสิงห์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  อิตาลี :
    • พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 3[26]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข่าวตาย (หน้า 281–82)
  2. พระราชทานสัญญาบัตร์ขุนนาง
  3. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  4. พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  5. ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
  6. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  7. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  8. พระราชทานยศ กระทรวงมหาดไทย (หน้า 978)
  9. ตั้งแลเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า 1958)
  10. ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน
  11. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  12. ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน
  13. พระราชทานยศ (หน้า 3184)
  14. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
  15. ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  16. ตั้งตำแหน่งยศเสือป่า
  17. พระราชทานยศเสือป่า
  18. พระราชทานยศเสือป่า
  19. พระราชทานยศนายเสือป่า
  20. ประกาศกรมบัญชาการคณะเสือป่า
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๐๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๖๔, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๐๗, ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖, ๒ เมษายน ๒๔๕๙
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๗๘, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๙