พระยามหามหิทธิวงศา (มหาวงศ์ ณ เชียงใหม่)
อำมาตย์เอก พระยามหามหิทธิวงษา (เจ้ามหาวงศ์ บุญทาวงศ์ษา) หรือนามเดิม เจ้าน้อยมหาวงศ์ บุญทาวงศ์ษา เป็นเจ้าเมืองฝางองค์สุดท้าย เป็นต้นสกุล บุญทาวงศ์ษา[1]
ประวัติ
[แก้]เจ้าน้อยมหาวงศ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2369 เป็นพระราชบุตรของพระเจ้ามโหตรประเทศ (ราชบุตรองค์โตในพระยาธรรมลังกา กับแม่เจ้าฟองสมุทรราชเทวี)กับพระนางพิมพาราชเทวี
เจ้าน้อยมหาวงศ์ สมรสกับเจ้าอุบลวรรณา มีราชบุตร ราชธิดา ดังนี้
- เจ้าราชบุตร คำแดง
- เจ้าราชบุตรสุขเกษม
- ราชธิดารสสุคนธ์
สมรสกับเจ้าแก้วกัลยา มี ราชธิดา 1 องค์ ไม่ปรากฎนาม
เจ้าเมืองฝาง
[แก้]เจ้ามหาวงศ์ได้สถาปนาตนเองเป็นเจ้าหลวงเมืองฝาง มีพระนามว่าเจ้าหลวงมหามหิทธิวงษาไชยราชาธิบดี มีเมืองต่างๆอยู่ใต้การปกครองเช่นเมืองปั่น เมืองสวาท เมืองต่วน เมืองสาท แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน เชียงดาว และเมืองฝาง ในปัจจุบัน รวมทั้งเมืองสิบสองปันนา เมืองฝาง(ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน)ในขณะนั้นอาณาเขตแบ่งออกเป็นแคว้น โดยมีพ่อแคว้นเป็นหัวหน้า หรือเรียกว่า "พ่อแคว่น" ทั้งหมดแบ่งเป็น 7 แคว้นด้วยกัน คือ แคว้นในเวียง แคว้นม่อนปิ่น แคว้นแม่สาว แคว้นแม่นาวาง แคว้นแม่สูน แคว้นแม่งอน และแคว้นแม่ทะลบ[2]
เจ้ามหาวงศ์ เป็นเจ้าเมืองฝาง โดยในรัชสมัยได้มีการสร้างศาลเจ้าหลักเมืองฝางขึ้น[3][4]
เจ้ามหาวงศ์ ครองเมืองฝางจนถึงปี พ.ศ. 2459[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2441 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) (เดิมชื่อ วิจิตราภรณ์)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประวัติความเกี่ยวข้องเจ้าหลวงเมืองฝางคนแรกกับถ้ำตับเตาและวัดพระบาทอุดม
- ↑ ศาลเจ้าหลักเมืองฝาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองฝาง
- ↑ ศาลหลักเมืองฝาง
- ↑ ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๙
- ↑ พระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ